วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

RS3PE syndrome: Differential Diagnsosis (2)

RS3PE เป็นคำย่อของ Remitting Seronegative Symmetrical synovitis with Pitting edema

RS3PE เป็นกลุ่มอาการของโรคข้ออักเสบ ของแขนขาส่วนปลายหลายๆ ข้อ (polyarthritis) แบบสมมาตร (symmetrical) มีเยื่อบุข้ออักเสบ (synovitis) บวมกดบุ๋ม (pitting edema) ของ หลังมือ และหลังเท้า ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่สนับสนุนโรคอะไรเลย (seronegative for Rheumatoid factor &Latex fixation test)

ประเด็นที่พวกเราอยากทราบ...
เราจะแยกจากโรคอื่นๆ ได้อย่างไร ?

คำ Synovitis ที่นำมาใช้ในกลุ่มอาการ RS3PE เพราะเยื้อบุข้อของข้อต่างๆ ของมือ และนิ้วมือ รวมไปถึงเยื้อหุ้มเอ็นที่อยู่หลังมือและเท้าด้วย เกิดการอักเสบขึ้น เป็นเหตุให้เกิดมีอาการบวมชนิดกด บุ๋มขึ้น

การที่คนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดตามข้อ พร้อมอาการบวมทีมือ และเท้า เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ธรรมดา (unusual) สามารถทำให้แพทย์ที่เห็น ต้องนำมาแยกจากโรคที่เคยพบเห็น และเนื่องจาก คนไข้มีอาการปวดที่บริเวณข้อไหล่ด้วย เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว แพทย์ต้องนำรายชื่อโรคอื่นๆ เข้า ร่วมพิจารณา เช่น โรค polymyalgia rheumatica

การที่คนไข้มีอาการบวมที่เท้า ควรแยกโรคที่น่ากลัวออกไป เช่น โรคหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure), nephrotic syndrome และ hypothyroidism

จากการศึกษาของหลายสำนัก โดยกลุ่มของนาย Oliver ได้เสนอแนะข้อบ่งชี้ (criteria) เพื่อช่วย วินิจฉัยคนไข้ว่าเป็น RS3PE syndrome....

1. คนไข้คนนั้นจะต้อง อายุมากกว่า 50 ปี

2. มีอาการบวมกดบุ๋มที่บริเวณหลังมือ

3. มีการอักเสบหลายข้อ (polyarthritis) และต้องเป็นแบบเฉียบพลัน (sudden onset

4. ตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ไม่พบ Rheumatoid factor และ

5. โรคไม่ทำลายข้อ (Lack of radiographic evidence of joint destruction)

เมื่อเรานำเอาโรคสองโรคมาเปรียบเทียบกัน ระหว่าง โรค “รูมาตอยด์” กับ “RS3PE”
โรค RS3PE จะแตกต่างจาก RA ตรงที่ RS3PE มันไม่คงสภาพเหมือนโรค RA และ ผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการณ์ โรค RS3PE ไม่พบ RF ในกระแสเลือด และผลจากการตรวจเอกซเรย์ ปรากฏว่า ใน RS3PE โรคไม่ทำลายข้อ เหมือนโรค RA


ในคนสูงอายุ เป็นสิ่งจำเป็นต้องแยก RS4PE ออกจากโรค polymyalgia rheumatica ใน ประเด็นที่ต้องรักษาโรคด้วย corticosteroids ในระยะยาว ซึ่งต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของ corticosteroids...
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว คนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีภาวะ หรือโรคอื่นๆ เกิดร่วมเสมอ เช่น กระดูกพรุน (osteoporosis), โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, และโรคหัวใจวายอยู่แล้ว...ต้องระวัง

คนไข้ที่มาด้วย RS3PE syndrome อาจมีโรคที่น่ากลัวต่อไปนี้ซ่อนตัวอยู่ เช่น เนื้องอกของ กระเพาะอาหาร(gastric) ,ตับอ่อน (pancreatic) และ มะเร็งของเม็ดเลือด (hematological malignancies) อย่างเช่น non-hodgkin’s lymphoma

คนไข้ที่เป็น RS3PE จะตอบสนองต่อการรักษา ด้วยยา Low dosage of corticosteroid ได้ดี มาก
สำหรับรายที่เป็น RS3PE ร่วมกับโรคมะเร็ง หรือคนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยกลุ่มอาการ RS3PE นั้น จะไม่ค่อยตอบสนองต่อ corticosteroid therapy


มีโรคอย่างอื่นๆ ที่เราควรแยกออกให้ได้ นอกเหนือจากโรค “รูมาตอยด์” แล้ว เราควรแยกโรค ต่อไปนี้ด้วย เช่น Late onset spondyloarthritis , Mixed connective tissue disease, chondroclacinosis และ amyloid arthroplasty

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น