วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Raynaud’s Disease: Basic (1)

เธอเป็นสตรีไทย ผู้ใช้แรงงาน
ช่วยสามี ทำด้านด้านก่อสร้าง มีหน้าที่ขนดิน

“คุณหมอ....อิฉันปวด-ชาที่มือทั้งสอง
ทุกครั้งที่อิฉันหิ้วถังขนดิน อาการจะปรากฏ;
ระหว่างหิ้วถังขนดิน จะรู้สึกปวดที่มือทั้งสอง พอวางถังลง มือจะซีดขาว ตามด้วยผิวหนังสีแดง-ช้ำ กว่าอาการจะหายไป ต้องกินเวลานานพอสมควร”

นั่นคือเสียงของสตรี ผู้ไม่สมหวัง ไม่สามารถช่วยงานสามีตามปกติได้ ก่อนที่ผมจะพูด อะไรต่อ เธอก็ตั้งคำถามขึ้นว่า
“อีฉัน เป็นโรคอะไร ?”

ฟังคนไข้แล้ว ให้นึกถึงโรคหนึ่ง นาน ๆ จะพบที...
“Raynaud’s Dosease” หรือ “Raynaud’s phenomenon”

เส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถหด และขยายตัวได้ ซึ่ง หมายความว่า ทำให้ขนาดของเส้นเลือดแคบ หรือขยายได้นั่นเอง

นั้นหมายความว่า ร่างกายของเราสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือด ที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่ สำคัญ ๆ และแขนขาได้ โดยที่มันสามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนของร่างกาย ตลอดรวมไป ถึงสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น สามารถพบเห็นได้ชัดที่บริเวณผิวหนัง เช่น เมื่อเวลามีเลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น จะพบผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเป็นสีชมพู ซึ่งเราจะพบเห็นในกรณีที่ถูกความร้อน หรือขณะตื่นเต้น

ผิวหนังจะเป็นซีดเผือดเมื่อ การไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนปลายถูกยับยั้งเอาไว้ เพื่อรักษาส่วน สำคัญของร่างกายเอาไว้ ให้คงสภาพของระดับความดันโลหิตให้เป็ยปกติ ซึ่งจะพบเห็นในขณะที่คนเรา ตกอยู่ภายใต้ความกดดัน (stress)ของจิตใจ เช่น กรณีตื่นเต้น

กรณีที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายถูกสกัดกั้น (vasoconstriction) เราสามารถพบเห็น ได้ง่ายที่บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า

คนส่วนใหญ่ที่โรค Raynaud's... ดังกล่าว จะพบเห็นในฤดูหนาวกัน และอาการที่ปรากฏจะมากหรือ น้อย มันขึ้นกับตัวบุคคลแต่ละราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น