วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Plasmapheresis: Complications (4)

สัจธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่คู่กับโลก คือ ความเป็น “คู่”
ของที่มีประโยชน์ ย่อมมีโทษซ่อนอยู่ด้วยเสมอ หากไม่ระวัง อันตรายย่อมปรากฏขึ้นได้

กรรมวิธี plasmapheresis แม้ว่า จะเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ต่อการรักษาคนไข้ก็จริง แต่ มันก็มีผลเสียเหมือนๆ กับวิธีการรักษาชนิดอื่นๆ นั่นแหละ...

นั่นคือ จากกรรมวิธีการดึงเลือดออกจากกาย ไม่ควรให้เกิน 15 % ของปริมาณเลือดที่เรามี (15/100 x 5000 = 750 ml)

ในการนำ plasmapheresis มาใช้ในการรักษาโรค ด้วยวิธีการดึงเอาน้ำเลือดส่วน ที่เราเรียก พลาสมาที่มีสารพิษ เช่น ภูมิต้านทาน (antibodies) ที่เป็นพิษออกทิ้ง แล้วทดแทนด้วยสาร อัลบูมิน หรือพลาสมา....สามารถก่อให้เกิดภาวะตรงข้ามกับสิ่งที่เราต้องการ(อันตราย) เช่น

• อันตรายที่จะเกิดมีได้ตั้งแต่ การแทงเส้นเลือด เส้นเลือดฉีกขาด อาจก่อให้เกิดมีเลือดออก, มีการอักเสบจากการแทงเข็มได้

• จากการที่เลือดไหลผ่านเข้าสู่เครื่องแยกเลือด (แยกน้ำเลือดออกจากเม็ดเลือด) เขาจะให้สาร citrated เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเจ็บตัวเป็นก้อน และเจ้าสาร citrate ตัวนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของเรา มันจะจับกับ ionized calcium เป็นเหตุทำให้ระดับ calcium ในกระแสเลือดต่ำลง อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

• นอกเหนือไปจากนั้น ในการให้พลาสมาแช่แข็ง ทดแทนส่วนที่กรองออกไป สามารถติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนในขณะปฏิบัติการใส่สายสวนเส้นเลือด

• ในขณะทำการกรองเลือด (plasmapheresis) อาจทำให้เกิดเม็ดเลือดแตก
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจได้ เช่นจากการให้น้ำทดแทนมากไป อาจเป็นเหตุ ให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และ

• อาจทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ ซึ่งมีสาเหตุมากมาย เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หรือเกิดอาการแพ้ anaphylaxis การติดเชื้อ และภาวะเลือดออก

บทบาทของ Plasmapheresis ที่นำมาใช้ในการรักษานั้น เป็นวิธีการที่ละเอียดอ่อนมาก เมื่อมีประโยชน์ ย่อมมีอันตรายเช่นกัน ฉะนั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง มีข้อชี้บ่งที่ชัดเจน ที่สำคัญต้องเป็นประโยชน์ต่อคนไข้เป็นอันดับแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น