วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เลือดจาง (Anemia) P 8: Tests and diagnosis

Aug.7,2014

ในการวินิจฉัยภาวะเลือดจาง...
 แพทย์ที่รับผิดชอบต่อตัวท่านอาจแนะนำให้ท่านทำการตรวจอะไรบาง
อย่าง  เช่น

 ทำการตรวจร่างกาย (Physcical exams):
ในระหว่างการตรวจร่างกาย  แพทย์อาจฟังการเต้นของหัวใจ , ฟังการ
หายใจของท่าน นอกจากนั้น แพทย์จะทำการคลำท้องของท่าน
เพื่อตรวจดูขนาดของตับ (liver)  และขนาดของม้าม (spleen) ของท่าน

 การตรวจเลือด CBC (complete blood count):
เป็นการนับปริมาณของเม็ดเลือด  ซึ่งสามารถบอกได้ว่า  ระดับเม็ดเลือด
แดงต่ำหรือไม่  ในกรณีที่สงส้ยว่าเป็นโรคเลือดจาง  แพทย์จะพุ่งความ
สนใจไปที่ระดับของเม็ดเลือดแดงในเลือด, และฮีโมโกลบิน 

ในผู้ใหญ่ที่เป็นปกติ ค่าของ hematocrit จะมีค่าแตกต่างกันตามสถาบัน
โดยมีค่าระหว่าง 38.8 ถึง 50 % สำหรับชาย   และหญิงจะมีค่าระหว่าง 
34.9 ถึง 44.5 %

ค่าของ hemoglobin ปกติจะมีค่าระหว่าง 13.5 ถึง 17.5 gram/dL
ในผู้ชาย และจะมีค่าระหว่าง 12 – 15.5 grams/dL สำหรับหญิง

 การตรวจดูขนาด และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง (determine the
Size and shape of red blood cells) :

เม็ดเลือดของท่านอาจมีขนาด และรูปร่างผิดปกติ  และแม้กระทั้งสีของ
มันอาจจางลง    

จากการตรวจดูรายละเอียดดังกล่าว  สามารถช่วยวินิจฉัยสาเหตุของ
เลือดจางได้  ยกตัวอย่าง โรคเลือดจางชนิด iron-deficiency จะพบ
ขนาดของเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดเล็ก และสีจางกว่าปกติ 

ส่วนเลือดจากที่เกิดจากการขาดไวตามิน  จะพบเม็ดเลือดแดงมีขนาด
ใหญ่ และมีปริมาณน้อยกว่าปกติ

 การตรวจอย่างอื่น ๆ:
ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลือดจาง  แพทย์อาจทำการตรวจเลือด
เพิมเติม  เพื่อพิจารณาหาสาเหตุที่อยู่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง เช่น การขาด
ธาตเหล็ก (iron-deficiency)  ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง จาก
แผลในกระเพาะอาหาร, เลือดออกจากติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่, มะเร็งของ
ลำไส้ใหญ่, เนื้องอก หรือเป็นโรคไตวาย   ซึ่งแพทย์อาจทำการตรวจหา
สาเหตเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

นอกเหนือไปจากนี้  แพทย์อาจทำการตรวจไขกระดูก เพื่อวินิจภาวะ
เลือดจางว่าเป็นชนิดใด

<< BACK    NEXT >> P.9: Treatments and drugs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น