เวลาที่เราดูเกมอะไรก็ตาม คนดูจะมีการถือข้างเสมอ
จะมีสักกี่รายทีมองตามความเป็นจริง..
บางคนมีอคติ บวกกับคนยุแหย่ เช่นพวกทะแนะ...
แม้ว่าฝ่ายที่ตนถือนั้นจะผิดแค่ไหน...ก็ทำเป็นมองไม่เห็น
นี้ความเป็นจริงของสังคม ที่เราจะต้องทนกันต่อไป
ในวงการแพทย์ ก็เป็นเช่นเดียวกัน ได้มีโอกาสพบเห็นแพทย์ทางแผนกกุมาร
ผู้รับผิดชอบคนไข้เด็กแรกเกิด
หลังจากได้รับการวินิจฉัย ได้บอกให้คนไข้ (ผู้มารดา และญาติ ๆ)ว่า
เด็กจะต้องได้รับการถ่ายเลือดอย่างรีบด่วน...
ภายหลังจากมีความดีใจ ปลื้มปีติจากการมีบุตรชายคนแรก เพียงเวลาไม่กี่วัน
เด็กก็เกิดมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ที่เราเรียกว่า "ดีซ่าน" นั่นแหละ
ความดีใจ ถูกแทนที่ด้วยความกังวล...
และความไม่พอใจในผู้ทำการรักษา ที่ปล่อยให้ลูกของตนมีอาการตัวเหลืองขึ้น
เมื่อได้ยินคุณหมอบอกว่า ด้องรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดให้เลือด
ลูกตัวเท่ากำปั้น...จะให้ถ่ายเลือด (exchange blood transfusion)
คามกังวล...ตามด้วยความกลัว ?
ใครไม่กลัวบ้าง ?
เป็นใครก็ต้องตกใจ และกลัวทั้งนั้น...ไม่ยอมไห้คุณหมอทำการรักษาด้วยกรรมวิธีที่เสนอ
ต้องรอปรึกษาจากญาติ ๆ อีกหลายวัน
คุณหมอก็ได้แต่รักษาตามกรรมวิธีเดิม ๆ ใน nursry ไปพลางก่อน
ไม่รู้จะทำอย่างไร รอดูว่าเมื่อไหร่พ่อ-แม่ของเด็กจะยินยอม
ให้ทำการักษาด้วยวิธีการท่ได้เสนอซะที
สุดท้าย เมื่อเด็กมีอาการทรุดหนักเต็มที่...จึงตัดสินสินใจอนุญาตให้คุณหมอทำการรักษา...
อนิจจา....มันสายไปเสียแล้ว
เรื่องไม่จบแค่นั้น อีกไม่กี่เดือนต่อมา คุณหมอถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ
ถูกกล่าวหาว่า ปล่อยให้เด็กเสียชีวิตไป
ผลปรากฏว่า ทั้งคนหมอ และโรงพยาบาลแพ้คดีความ
ต้องเสียเงินให้แก่พ่อแม่เด็ก เป็นเงินหลายล้าน...
ทำเอาหมอหมดตัว
ผู้ชนะย่อมดีใจที่ได้เงินหลายล้านบาท
ส่วนผู้เสียใจ คือฝ่ายแพทย์ รวมทั้งโรงพยาบาล
มีความบกพร่องเพียงสิ่งเดียวคือ...ขาดหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ว่าได้ขออนุญาตทำการเปลี่ยนถ่ายเลือดจริง เป็นเหตุให้แพ้คดีความไป
เรื่องนี้ สอนอะไรบ้าง ?
Infant Jaundice:
หมายถึงการมีสีเหลืองปรากฏที่ผิวหนัง และตาของเด็กแรกเกิด
โดยมีสาเหตุมาจาก ภายในเลือดของเด็กเล็ก มีปริมาณของสาร bilirubin
ในปริมาณที่สูงเกินไป
ซึ่งเป็นสารสีเหลือง ที่ได้จากการแตกสลายตัวของเม็ดเลือดแดง
การที่เด็กเกิดมาแล้ว มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ถือว่าเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย
โดยเฉพาะในเด็กเกิดก่อนกำหนด (preterm babies)
และให้นมลูก (breast-fed babies)ได้ไมเพียงพอ
ทีเป็นเช่นนั้น เป็นเพราะตับของเด็กยังเจริญ (พัฒนา) ไม่สามารถกำจัดสาร bilirubinได้
นอกเหนือไปจากนั้น มีคนไข้หลายราย ยังมีสาเหตุซ่อนในตัวเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคได้
การรักษาเด็กที่เป็นโรคตัวเหลือง ตาเหลือง ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาแต่อย่างใด
เด็กส่วนใหญ่ จะ ตอบสนองต่อการรักษาง่าย (non-invasive treatment)
แม้ว่าภาวะแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่บางรายที่เป็นมาก ๆ (severe jaundice)
หรือในรายที่ไม่ได้รับการรักษาทีดีพอ อาจก่อให้เกิดการทำลายของสมองได้
Symptoms:
อาการแสดงของเด็ก มักจะเกิดขึ้นในช่วง ของวันที่สอง ถึงวันที่สี่ หลังคลอด
ซึ่งประกอบด้วย:
ผิวหนังเป็นสีเหลือง
ตามีสีเหลือง
ผู้เป็นแม่สามารถเห็นผิวหนัง เป็นสีเหลืองที่บริเวณใบหน้าเป็นตำแหน่งแรก
เมื่ออาการพัฒนาเพิ่มขึ้น ท่านจะพบสีเหลืองปรากฏที่บริเวณลูกตา หน้าอก ท้อง แขน
และขาทั้งสองข้าง
วิธีตรวจดูว่าลูกของท่าน มีสีเหลืองหรือไม่ ให้ใช้นิ้วมือกดตรงบริเวณน้าผาก หรือจมูก
ถ้าคุณยังเห็นสีเหลืองปรากฏตรงบริเวณที่กดอยู่ มันบ่งบอกให้ทราบว่า
เด็กของท่านมีแนวโน้มเป็น jaundice (ดีซ่าน)
แต่หากผิวหนังบริเวณที่กด สีซีดจางกว่าปกติ ถือว่า เด็กของท่านปกติ
และการตรวจนั้น จะต้องทำในบริเวณมีแสงสว่างเพียงพอด้วย (day light)
Causes:
สาเหตุของ jaundice ในเด็กเล็กได้แก่:
o Excess bilirubin (hyperbilirubinemia). Bilirubin
เป็นสารซึ่งสามารถทำให้เกิดมีสีเหลือง เกิดขึ้นในโรค jaundice
โดยปกติแล้ว bilirubin เป็นของเสีย (waste product)ได้จากเม็ดเลือดแดง
เมื่อเม็ดเลือดแดงถูกใช้แล้ว มันจะแตกสลายตัวได้สาร bilirubin ซึ่งเป็นหน้าที่ของตับ
จะกรองเอาสาร bilirubin ออกจากเลือด และกำจัดทิ้งไปทางลำไส้เล็ก และทางปัสสาวะ
ในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ของมารดา ตับของผู้นแม่ จำทำหน้าที่จัดการกับ bilirubin ของลูก
พอเด็กคลอดออกมา ตับของเด็กยังเจริญไม่พอที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดของเสีย (bilirubin) ได้
จึงเป็นเหตุให้เด็กเกิดมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองในวันที 2 – 4 หลังคลอด
นั่นเป็นเรื่องปกติ เราเรียกว่า “physiologic jaundice”
o Other causes. ในเด็กเล็กอาจมีอาการอย่างอื่น ซึ่งทำให้เกิดโรคดีซ่าน
ในกรณีดังกล่าว อาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจเกิดได้เร็ว หรือช้ากว่ารายที่เป็น physiologic jaundice
ซึ่งโรคเหล่านั้น ได้แก่:
• เลือดตกภายในร่างกาย (Internal bleeding (hemorrhage)
• มีการอักเสบติดเชื้อ (An infection in your baby's blood (sepsis)
• มีการอักเสบจากเชื้อไวรัส หรือแบกทีเรีย...(Other viral or bacterial infections)
• มีปฏิกิริยาระหว่างเลือดของแม่ และลูก
(An incompatibility between the mother's blood and the baby's blood)
• การทงานของตับผิดปกติไป (A liver malfunction)
• ขาดเอ็นไซม์บางตัวไป (An enzyme deficiency)
• มีความผิดปกติในตัวเม้ดเลือด (An abnormality of your baby's red blood)
Continue. (2)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น