วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Nonalcoholic steatolichepatitis (NASH)

เมื่อมีคนบอกว่า คนดื่มเหล้าเป็นประจำ ลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็ง
นั่นเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นเป็นประจำ
แต่พอมีคนบอกว่า เด็กไม่เคยดื่มเหล้า ไม่เป็นเป็นโรคตับอักเสบมาก่อนเลย
แต่ลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งได้นี้ซิ...
เป็นเรื่องแปลก ?

Nonalcoholic steatohepatitis หรือ NASH
เป็นโรคตับชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อย
ส่วนใหญ่ มันจะไม่แสดงตน เป็นโรคที่ซ่อนตัวอยู่ในความเงียบ(silent)
มันมีลักษณะคล้ายกับโรคตับอักเสบ ทีเกิดจากิพษสงของแอลกอฮอล
แต่มันเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล หรือดื่มเพียงแต่น้อย
ลักษณะของโรคตับอักเสบ NASH คือ การมีไขมันในเนื้อตับ
ร่วมกับการอักเสบ พร้อมกับมีการทำลายของเนื้อตับด้วย

คนไข้ที่เป็นโรค NASH ส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกเป็นปกติ ไม่เคยรู้ตัวว่าตนเองเป็นโรค
หรือไม่เคยระมัดระวังตนเองเกี่ยวกับโรคตับแม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตาม โรค NASH สามารถแปรสภาพเป็นโรคตับแข็ง (cirrhois)
ซึ่งหมายความว่า ตับถูกทำลายอย่างถาวร มีพังผืดเกิดขึ้นแทนที่เซลล์ของตับ
เป็นเหตุให้ตับ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

จากสถิติของสหรัฐฯ โรค NASH จะเกิดขึ้นในชนชาวอะเมริกันถึง 2- 5 %
นอกเหนือจากนั้น ยังพบว่ามีประชาชนประมาณ 10-20 % มีไขมัน (fat) ในตับ
โดยที่ตับนั้น ไม่มีอาการอักเสบ หรือมีการทำลายเซลล์ของตับเลย

ถ้าหากตรวจพบโดยการตรวจเลือด หรือ ทำ scans แล้วพบว่า
ไขมันเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคตับอักเสบ เราเรียก nonalcoholic steatohepatitis
แตในกรณีที่ผลจากการตรวจเลือด และการตรวจด้วยภาพ cans พบว่า
มีไข้มันในตับ แต่ไม่พบว่ามีการอักเสบ และไม่มีการทำลายของเซลล์ตับเลย
เราเรียกภาวะดังกล่าวว่า nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)

ทั้ง NASH และ NAFLD ต่างเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย (สหรัฐฯ)
อาจเป็นเพราะในประชาชนชาวอเมริกัน มีคนอ้วนในปริมาณสูงก็ได้

คนอ้วนยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวาน และมีไขมันในกระแสเลือดสูง
นอกเหนือจากการทำให้เกิดโรค NASH

Diagnosis
เราจะสงสัยว่า เป็นโรค NASH ตรวจพบเอ็นไซม์ของตับมีปริมาณสูงขึ้น
เช่น alanine amintransferase (ALT) หรือ aspartate aminogransferase (AST)
จากกาตรวจร่างกาย และตรวจอย่างอื่นต่อไป ไม่มีสาเหตุใด ๆ ที่ทำให้เกิดโรคตับ
เช่น ไม่พบหลักฐานการใช้ยา Medications ไมมี viral hepatitis คนไข้ไม่ดืมเหล้า

จากการตรจเอกซเรย์ หรือการตรวจด้วยภาพ(imaging) พบว่า มีไขมันไปเกาะในเนื้อตับ
ทำให้สงสัยว่า คนไข้น่าจะเป็นโรค NASH

มีวิธีเดียวที่จะแยกโรค NASH ออกจากภาวะมีไขมันในตับ (fatty liver)
นั้นคือ การเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจด้วยกล้อง

โรค NASH จะพบมีไขมันในเซลล์ของตับ พร้อมกับมีการอักเสบ และ
เซลล์ถูกทำลาย
ถ้าเนื้อตับมีเพียงไขมันแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการอักเสบ หรือเซลล์ถูกทำลาย
คนไข้รายนั้นเป็นแต่เพียง fatty liver เท่านั้น ไม่ใช้โรค NASH

Symptoms
โดยปกติแล้ว โรค NASH จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ
คนไข้จะรู้สึกสบายในระยะแรก ๆ
เมื่อตับถูกทำลายมากขึ้น (cirrhosis) คนไข้เริ่มจะมีอาการ
เช่น เหนื่อยล้า น้ำหนักลด อ่อนแรง

โรคตับอักเสบจากไขมัน จะพัฒนาไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายปี หรือเป็นทศวรรษเลยทีเดียว
การอักเสบอาจหยุดได้เอง โยไม่ต้องรับการรักษา
หรือ มันอาจเลวลง มีพังผืดเกิดแทนที่เลล์ของตับในปริมาณมาก
จนกลายเป็นโรคตับแข็ง (cirrhosis)
เมื่อถึงจุดนั้น ตับจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

คนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไขมัน ไมได้หมายความว่า จะกลายเป็นโรคตับแข็งทุกราย
เมื่อเป็นโรคตับแข็งขึ้น จะทำให้มีน้ำในช่องท้อง กล้ามเนื้อลีบตัวลง (ส่วนต้นของแขน-ขา)
เลือดออกในกระเพาะและลำไส้ และตับล้มเหล็วในที่สุด
การปลูกถ่ายตับ (liver transplantation) ได้นำมาใช้เพิ่มมากขึ้น (สำหรับประทเศที่เจริญแล้ว)
จากสถิติของสหรัฐฯ พบว่า โรคตับแข็ง (cirrhosis) จากไข้มัน
เป็นสาเหตุอันดับสองรองจาก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับ C
และจากตับอักเสบจากดื่มจัด (แอลกอฮอล)

Causes
สาเหตุของตับอักเสบจากไขมัน (NASH) เป็นโรคที่พบได้บ่อยจริง
แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดตับอักเสบ ไม่เป็นทีทราบได้แน่ชัด
มันมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักเยอะ (overweight) อายุกลางคน
คนไข้บางราย มีระดับไขมันในกระแสเลือดสูง หรือเป็นเบาหวาน หรือก่อนเป็นเบาหวาน
ในขณะเดียวกัน คนไม่อ้วน ไม่เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดปกติ มีมีโรคความดันสูง
ก็สามารถเป็นโรค NASH ได้เช่นเดียวกัน

นอกเหนือไปจากนี้ โรค NASH ยังสามารถเกิดในคน ที่ไมมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลย
เช่น มันสามารถเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกัน

ในขณะที่เราไม่สามารถทราบ หรือพบสาเหตุทำให้เกิดโรค NASH
ปรากฏว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคดังกล่าวได้ เช่น

o Insulin resistance
o Release of toxin inflammatory proteins by fat cells (cytokines)
o Oxidative stress (deterioration of cells) inside liver cells

Continue : > NASH: Treatment

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น