วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Epistaxis: Home care (2)

Home Care:

เมื่อท่านเกิดมีเลือดกำเดาไหล ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนี้
เริ่มต้น อย่าตกใจ ต้องมีสติ ให้นั่งลงอย่างช้า ๆ พร้อมกับหายใจทางปากลึก ๆ
พร้อมกันนั้นให้ใช้มือด้านใดก็ได้ที่ท่านถนัด โดยใช้หัวแม่มือ และนิ้วชี้บีบจมูก
พร้อมกับยื่นศีรษะไปทางด้านหน้า ให้คางชิดหน้าอก
บีบจมูก และศีรษะอยู่ในท่าดังกล่าวนาน 10 นาที หลังจากนั้นจึงตรวจดูว่า
เลือดกำเดาหยุดหรือไม่....ส่วนใหญ่เลือดกำเดาออกจะหยุดไหลในเวลาดังกล่าว

ข้อห้าม อย่าใช้ “ผ้ากอซ” หรือ “กระดาษทิซซู” ยัดรู้จมูกเพื่อให้เลือดหยุดไหลเป็นอันขาด
ไม่ควรอยู่ในท่านนอน

เพราะการทำเช่นนั้น จะทำให้เลือดไหลเข้าสู่ทางเดินหายใจ และเกิดสำลักได้
ให้หลีกเลี่ยงการจาม หรือการสั่งขี้มูกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดไหลออกมาอีก

ถ้าบังเอิญเลือดกำเดาไม่หยุดไหล ท่านอาจใช้ยาลดน้ำมูก (nasal spray decongestant)
พ่นจมูก อาจช่วยทำให้เส้นเลือดเส้นเล็กที่ฉีกขาด เกิดการหดตว ทำใ้เลือดหยุดได้
ถือเป็นการควบคุมให้เลือดหยุดอีกวิธีหนึ่ง

Call your health care provider if ?:

ในกรณีที่ท่านปฏิบัติตนตามที่แนะนำ ปรากฏว่าไม่ได้ผล
ท่านต้องไปพบแพทย์ทันที หรือ เมื่อ :

 เมื่อทำการหยุดเลือดด้วยการบีบจมูกนาน 20 นาที เลือดไม่หยุดไหล
 เมื่อมีเลือดกำเดาออก ภายหลังจากที่ท่านได้รับบาดเจ็บของศีรษะ ซึ่งอาจบ่งบอกให้ทราบว่า
มีกระดูกกะโหลกแต่ร้าวได้
 เลือดกำเดาออก ภายหลังได้รับบาดเจ็บที่จมูก กระดุกอาจหัก จากการกระแทก
หรือประสบอุบัติเหตุ

ท่านควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์ทันที เมื่อเขาเกิดมีอาการเลือดกำเดาออกบ่อย ๆ
โดยที่ไม่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับ การเป็นหวัด คัดจมูก หรือถูกละคายเคือง (irritation)

Diagnostic tests that may be done include:

เมื่อท่านไปพบแพทย์ นอกเหนือจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายจากแพทย์
ท่านจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ดังนี้

• Complete blood count
• Nasal endoscopy (examination of the nose using a camera)
• Partial thromboplastin time measurements
• Prothrombin (PT)
• CT scan of the nose and sinuses

เป้าหมายการรักษาคนเป็นเลือดกำเดาออก จะมุ่งตรงไปที่ต้นเหตุ
ซึ่งอาจรวมไปถึง:

 การควบคุมความดันโลหิตสูง
 หยุดเลือดด้วยกระแสไฟฟ้า (electric current)
หรือใช้ silver nitrate stick และ Nasal packing
 กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจารูจมูก
 ลดปริมาณของยาที่ทำให้เลือดไม่จับตัว (blood thinner)
หรือ เลิกกิน aspirin
 ในกรณีที่เลือดออกไม่หยุด ท่านอาจได้พบกับแพทย์เฉพาะทาง เช่น หมอทางคอ หู และจมูก
เพื่อจัดการดูแลรักษาอาการของท่านต่อไป

Prevention:

บ้านที่เครื่องทำความเย็น และทำความชื่น ทำให้ความชื้นของอากาศกลับสูปรกติ
สามารถช่วยลดการเกิดเลือดกำเดาออกได้
การใช้น้ำเกลือ (saline) พ่นเข้าจมูก หรือเยลลี่เหลวพ่นจมูก จะช่วยไม่ให้เยื้อ
ภายในจมูกแห้ง ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เลือดกำเดาออกได้เช่นกัน

http://www.umm.edu/ency/article/003106all.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น