วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Parathyroid Disorders : Hpyperparathyroidism

Parathyroid gland
มีต่อมไร้ท่ออีกชนิดหนึ่ง มีชื่อคล้าย ๆ ต่อมไทรอยด์
อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์
แม้ว่าชื่อของมันจะคล้ายๆ กับต่อมไทรอยด์ก็ตาม แต่แตกต่างโดยสิ่นเชิง
ต่อมพาราไทรอยด์ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่ง
ชื่อ Parathyroid hormone (PTH)
ซึ่งจะทำหน้าที่สร้างความสมดุลให้แก่สาร “calcium และ phosphorous”

เมื่อใดที่ต่อมพาราไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนมากไป หรือน้อยไป
จะก่อให้เกิดความแปรปรวนในระดับความสมดุลของธาตุทั้งสอง
ยกตัวอย่าง เมื่อต่อมทำงานมากไป (hyperparathyroidism)
จะทำให้สาร “calcium” ในเลือดสงสูงขึ้น
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอกบนต่อมพาราไทรอยด์
หรือเป็นเพราะต่อมันโตขึ้น เป็นเหตุทำให้ทำงานมากขึ้น
หรือ อาจเป็นมะเร็งของต่อม..แต่เป็นได้น้อย

ในทางตรงข้าม ต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานได้น้อยไป (hypoparathyroidism)
จะทำให้ calcium ในเลือดต่ำลง และธาตุ phosphorous...สูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยลงได้แก่
บาดเจ็บของต่อมพาราไทรอยด์เอง หรือ
เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกัน
หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม

ในการรักษา...แพทย์จะมุ่งตรงไปที่ การทำให้เกิดความความสมดุลของ
Calcium และ phosphorousในกระแสเลือด

Hyperparathyroidism:

Hyperparathyrodism คือภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานผลิตฮอร์โมน
ที่ชื่อว่า parathyroid hormone ออกมากเกินไป

Causes
ต่อมพาราไทรอยด์ อยู่ที่ด้านหลังของดต่อมไทรอยด์ ตรงบริเวณด้านหน้าของคอ
มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน ชื่อ parathyroid hormone
ซึ่ง มีหน้าที่ควบคุมระดับของ calcium , phosphorus และ vitamin D
ในกระแสเลือด และ กระดูก

เคยกล่าวไว้ว่า ทุกอย่างในจักรวาล จะสร้างความสมดุลให้แก่ตนเอง
นั้นคือสัจธรรม

เมื่อระดับของ calcium ลดต่ำ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการเพิ่มการสร้าง
Parathyroid hormone

จากการที่มีระดับ parathyroid hormone เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดผลสองอย่างขึ้น
หนึ่งนั้น จะทำให้ สาร calcium ถูกดึงออกมาจากระดูกออกสูกระแสเลือด
และสอง มีการดูดซับเอาสาร calcium จากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด
เมื่อพบว่า ระดับ calcium ในกระแสเลือดกลับสู่สภาพปกติเมื่อใด...
ระดับของ parathyroid hormone ก็จะกลับสู่ระดับปกติทันที เช่นกัน

อะไรเป็นเหตุทำให้ต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานมากกว่าปกติ?
ต่อมพาราไทรอยด์ ที่ทำงานมากกว่าปกติมีด้วยกันสองชนิด:

 Primary hyperparathyroidism.เกิดจากการที่ต่อมพาราไทรอยด์
จำนวนหนึ่งต่อม หรือมากกว่า โตขึ้น เป็นเหตุให้ต่อมที่โตขึ้น ทำงานเพิ่มขึ้น
ผลที่ตาม ทำให้มี “พราราไทรอยด์ ฮอร์โมน” ถูกผลิตออกมามากเกินไป
ทำให้ระดับของ calcium ในระแสเลือดสูงขึ้น

Hyperparathyroidism หากเราพูดขึ้นมาลอย ๆ เราหมายถึง
primary hyperparathyroidism นั่นเอง

ส่วน secondary hyperparathyroidism
มันจะเกิดขึ้น เมื่อร่างกายสร้าง พาราไทรอยด์ ฮ์โมนออกมามากเกินไป
โดยมีสาเหตุมาจาก มีระดับ calcium ในกระแสโลหิต ต่ำอย่างมาก
ซึ่งเราจะพบเห็นได้กรณีที่ vitamin D ในกระแสเลือดต่ำ
เป็นเหตุให้ ร่างกายไม่สามารถดูดซับเอา calcium จากลำไส้ได้

ถ้าหากเราแก้ปัญหาที่ทำให้ระดับ calcium ต่ำ ให้กลับสู่สภาพปกติได้
ต่อมพาราไทรอยด์ที่ทำงานเกิน ก็ย่อมกลับสู่สภาพเดิมได้เช่นกัน
นั่นคือแนวทางการรักษาคนไข้ที่เป็น secondary hyperparathyroidism

ถ้าต่อมพาราไทรอยด์ ยังคงผลิต พาราไทรอยด์ฮอร์โมนออกมา ทั้ง ๆที่
ระดับ calcium มีระดับปกติแล้ว ภาวะดังกล่าว
เขาต้องชื่อว่า “tertiary hyperthyroidism”
ซึ่งเราจะพบได้ในคนไข้ที่เป็นโรคไต

Symptoms

• ปวดเอว (Back pain)
• ตามัว (Blurred vision because of cataracts)
• เจ็บ และปวดกระดูก (Bone pain or tenderness)
• ความสูงลดลง (Decreased height)
• ซึมเศร้า (Depression)
• เมื่อยล้า (Fatigue)
• กระดูกแตกหัก (Fractures of long bones)
• ปัสสาวะออกมา (Increased urine output)
• กระหายน้ำเพี่มขึ้น (Increased thirst)
• คันตามผิวหนัง (Itchy skin)
• ปวดตามข้อ (Joint pain)
• เบื่ออาหาร (Loss of appetite)
• คลื่นไส้ (Nausea)
• กล้ามเนื้ออ่อนแรง และปวด (Muscle weakness and pain)
• บุกคลิกภาพเปลี่ยนแปลง (Personality changesษ
• อาการกึ่งสลบ มมึนงง (Stupor) and หมดสติ (possibly coma)
• ปวดท้องส่วนบน (Upper abdominal pain)

Exams and Tests
การตรวจเลือด เช็คระดับ parathyroid hormone (PTH), calcium,
alkaline Phosphatase, phosphorous.
มีการตรวจหาจำนวน calcium ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง

ตรวจภาพ X-rays กระดูก สามารถตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก กระดูกหัก

Xirays, ultrasound และ CT ระบบขับถ่ายปัสสาวะ สามารถตรวจดูก้อนนิ้ว
และดูการอุดตันทางเดินปัสสาวะ

Treatment
ในการรักษาคนไข้เป็นโรค Hyperparathyroidism ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ถ้าพบว่า ระดับ calcium ในกระแสเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
(จาก primary hyperparathyroidism) และคนไข้ ไม่มีอาการใด ๆ
สิ่งทีท่านพึงกระทำ คือ ตรวจเช็คระดับของสาร calcium เป็นประจำ
ก็น่าจะพอ

ถ้าคุณมีอาการ หรือระดับของ calcium ในกระแสเลือดสูงมาก ๆ
การผ่าตัดอาจจำเป็นต้องกระทำ เพื่อผ่าตัดเอาต่อมที่ทำงานมากเกินออกไป

การรักษาในคนไขที่เป็น secondary hyperparathyroidism ขึ้นกับสาเหตุ
ที่ทำให้เกิด

Outlook (Prognosis)
การพยากรณ์โรคก็ขึ้นกับชนิดของโรค hyperparathyrodism

Possible Complications
ในคนไข้ที่เป็นโรค hyperparathyroidism อาจมาพบแพทย์ด้วย:

 มีอตราเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักสูง
 มีปัญหาเรื่องทางเดินปัสสาวะอักเสบ จากการมีน้ำนิ้วอุดตันทางเดินปัสสาวะ
 กระเพาะเป็นแผล
 ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)
 เก้าเทียม (pseudogout)

ในรายที่ได้รับการผ่าตัดเอา ต่อมพาราไทรอยด์ออก
อาจนำไปสู่ภาวะที่มีรับ calcium ในกระแสเลือดต่ำ
ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก มือเกร็ง..
ซึ่งควรได้รับการรักษาทันที

Prevention
การไดรับสาร calcium ทางอาหาร หรืออาหารเสริมให้ได้ปริมาณเพียงพอ
สามารถลดการเกิด ภาวะ Secondary hyperparathyroidism ลงได้


http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/parathyroiddisorders.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น