ได้ฟังการสนทนาระหว่างคนไข้ และแพทย์ผู้ทำการรักษา
ชายสูงอายุมาด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง ถามแพทย์ด้วยประโยค
“คุณหมอครับ...ผมปรงตกแล้ว
กรุณาบอกทุกอย่างให้ผมได้ทราบด้วย... ”
หมอผู้ทำการรักษา มองหน้าคนไข้ที แล้วมองดูหน้าของผู้เป็นภรรยาคนไข้ที
ซึ่งได้รับการยืนยันด้วยการพยักหน้า...
คุณหมอจึงเอ่ยพูดว่า
“คนไข้มีตับโตมาก...และ..”
เว้นระยะนิดหนึ่ง ก่อนที่จะพูดประโยคต่อไป
คนไข้เป็นเกิดหน้ามืดต่อหน้าคุณหมอ
ทำให้การสนทนายุติลงทันที
เกิดมีประเด็นให้พวกเราตั้งคำถามว่า...
“เราควรบอกความจริง เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บแก่คนไข้...
ให้คนไข้ทราบทุกเรื่องราวหรือไม่ ?”
นั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์เขา หน้าที่ของเรามีอย่างเดียว
คือ การเรียนรู้โรคทุกอย่างที่ขวางหน้า เท่าที่สามารถกระทำได้
โรคที่จะนำเสนอ คือ โรคที่ทำให้เกิดตับโต (enlarged liver)
Enlarged liver หมายถึงตับมีขนาดโตมากว่าความเป็นจริง มีขนาดเท่าลูกฟุตบอลเห็นจะได้
อยู่ในตำแหน่งส่วนบนขวาของช่องท้อง
อีกชื่อหนึ่ง เรียก Hepatomegaly
ภาวะตับโตไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการแสดงของโรค เช่น เป็นอาการของ โรคตับ (liver disease)
โรคหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) และโรคมะเร็ง (cancer)
Symptoms
คนที่ตับมีขนาดโตขึ้น อาจไม่มีอาการ หรืออาการแสดงแต่อย่างใด
เมื่อตับของคนเราโตขึ้น ย่อมมีความผิดปกติในตัวตับ อาจทำให้คนไข้มีอาการดังนี้:
ปวดท้อง (Abdominal pain)
เมื่อยล้า (fatigue)
ตัวเหลืองตาเหลือง (Jaundice)
Causes:
มีโรคหลายอย่าง สามารถทำให้ตับมีขนาดโตได้ ได้แก่:
โรคตับ (Liver diseases)
โรคตับแข็ง (cirrhosis)
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis A,B และ C)
หรือเกิดจาก infectious mononucleosis
โรค Nonalcohalic fatty liver disease
Alcoholic fatty liver disease
โรคที่เป็นต้นเหตุให้มี abnormal protein สะสมในตับ เช่น amyloidosis
โรคที่ทำให้มีการสะสม “ไขมัน” ในตับ เช่น Gaucher’s disease
โรคที่มีสาเหตุให้ copper สะสมในตับ เช่น Wilson’s disease
โรคที่มีถุงน้ำ (cyst) ในตับ
โรคเนื้องอก (noncancerous) เช่น hemangioma และ adenoma
โรคอุดตันทางเดินของท่อน้ำดี
โรคตับอักเสบจากสารพิษ (toxic hepatitis)
โรคมะเร็ง (Cancers)
มะเร็งจากที่อื่น กระจายมายังตับ
โรค มะเร็งของเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
โรคมะเร็งของตับ (liver cancer)
โรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง Lymphoma
โรคหัวใจ และปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือด
เส้นเลือดดำจากตับเกิดการอุดตัน (Budd-Chiari sycdrome)
โรคหัวใจวาย (Heart failure)
การอักเสบของเนื้อเยื้อหุ้มหัวใจหัวใจ (pericarditis)
ปัญหาของลิ้นหัวใจรั่ว (Tricuspid valve regurgitation)
Risk factors
คนเป็นโรคอยู่แล้ว อาจรู้สึกว่า ตับของตนเองโตขึ้นได้
มีปัจจัยหลายอย่าง ที่เพิ่มอัตราเสี่ยงให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโรคตับขึ้น ดังนี้:
ดื่มจัด (alcohol) สามารถทำให้ตับของท่านถูกทำลายลงได้
กินยาแก้ปวด ในขนาดมากเกินไป เช่น acetaminophen
สามารถทำให้เกิดทำลายตับลงได้
สมุนไพรบางชนิด สามารถทำให้ตับถูกทำลายลงได้เช่นกัน
ตับอักเสบบางชนิด สามารถทำลายตับลงได้ เช่น malaria และ Q fever (เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย coxiella burnetii
ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส เช่น Hepatitis A, B และ C ทำให้ตับถูกทำลาย
Tests and diagnosis
การตรวจร่างกาย สามารถตรวจพบได้ว่า ตับมีขนาดโต
ซึ่งสามารถตรวจพบได้ด้วยการ “คลำ” ด้วยมือ สามารถทราบขนาดของตับว่า
โตมากน้อยเท่าใด แพทย์สามารถตรวจดูความนุ่ม แข็ง ความเรียบ
หรือไม่เรียบ บนตัวตับ...
นอกเหนือไปจากที่กล่าว แพทย์ยังต้องตรวจ:
Blood tests การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ ดู Liver enzymes ต่าง ๆ
ซึ่งสามารถบอกให้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับ
นอกจากนั้น ยังสามารถตรวจหาไวรัสตับ (antigen & antibodies)
ซึ่งเป็นโรค ที่สามารถทำให้เกิดตับโตได้ (hepatitis viruses)
Imaging tests. การตรวจด้วยการถ่ายภาพ (imaging) เช่น computed tomography และ
Ultrasound ซึ่งสามารถตรวจสอบ ดูลักษณะของตับได้
การตัดเอาชิ้นเนื้อของตับออกมาตรวจ (liver biopsy) มาทำการศึกษาพยาธิสภาพของตับ
สามารถทราบถึงสาเหตุ ที่ทำให้เกิดตับโตได้
Treatments and drugs
ในการรักษาโรคตับโต จะขึ้นกับคำวินิจฉัย และการรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดตับโตขึ้น
Prevention
การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ ท่านสามารถ
รับประทานอาหารที่มีสุขภาพ เลือกอาหารที่เป็นผัก ผลไม้ และพวกธญพืชเป็นหลัก
เลิกดื่มแอลกอฮอล หรือดื่มให้น้อยลง
เวลากินยาแก้ปวด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะยาแก้ปวด
หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับสารเคมี ที่เป็นภัยกับตับ เช่น aerosol chemicals, insecticides
และสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
ซึ่งสามรกระทำได้ด้วยการสวมถุงมือ ใส่หน้ากากป้องกันพิษ
รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ อย่าให้มีน้ำหนักเพิ่ม (เกิน)
เลิกสูบบุหรี่
หากจำเป็นต้องรับอาหารเสริม เช่น สมุนไพร ท่านต้องระวัง
www.mayoclinc.com/enlarged-liver/DS00638/DSECTION=prevention
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น