วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Endocrine disorders: Joint diseases -conitnue ( 2 )

Hyperthyrodism:

โรครูมาติซึม ที่พบเห็นในโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ได้แก่

Thyroid acropachy
เป็นภาวะที่ไม่ธรรมดา ที่พบเห็นในคนไข้เป็นโรค “Grave disease”
ที่ได้รับการรักษาผ่านไปแล้ว ซึ่งพบได้มีบ่อยนัก
จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งของต่อมไทรอยด์ ทำงานมากกว่าปกติ
เป็นสาเหตุทำให้เกิดปลายนิ้ว และ เล็บมือ มนกลม มีการอักเสบของนิ้ว
และปลายมือปลายเท้า มีการบวมขอเนื้อเยื่อทั้งหลาย
คนไข้พวกนี้ มักจะมีลูกตานูนโปนออกมา
มีผื่นตามผิวหนัง และมีอาการปวดที่กระดูก

Bursitis in hyperthyroidism.
เยื่อบุข้อเกิดการอักเสบ (Bursitis)พบได้บ่อยในคนที่มีต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยื่อบุข้อบริเวณไหล่ และบริเวณใกล้เคียง
จะเกิดมีความหนาตัวขึ้น และบวม เกิดการขัดขวางการเคลื่อนไหว
ของข้อขึ้น และเมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ได้รับการรักษา
จะทำให้ bursitis มีอาการดีขึ้น

Hyperthyroid muscle disease.
โรคกล้ามเนื้อจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากไป มีพบได้หลายรูปแบบ
ชนิดที่กระจายไปทั่วมีได้บ่อย โดยการทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรง
ซึ่งมีอาการน้อย ถึงอาการมาก
กล้ามเนื้อมีการฝ่อตัว แลมีไขมันถูกสะสมในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

สารเคมีที่ได้จากกล้ามเนื้อ ที่พบในกระแสเลือด มีค่าเป็นปกติ
อาจพบอัมพาติของกล้ามเนื้อลูกตา
หนังตาบวม และส่วนอื่น ๆ ของลูกตามีอาการบวม
มีการอักเสบของตา และเส้นประสาท

Lupus-like conditions.
มียาหลายขนาน ที่นำมาใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
โดยเฉพาะ propyl thiouracil และ thionamides
อาจทำให้เกิดอาการ เหมือนโรค “ลูปัส” ได้

Osteoporosis.
โรคกระดูกบาง (Osteoporosis) อาจเกิดในคนไข้ที่เป็นโรคของต่อม
ไทรอยด์ เนื่องจากมีการสูญเสีย calcium และ phosphorous ไป

Hashimoto's thyroiditis.
เป็นโรคทางระบบภูมิต้านทาน ที่เกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์
เป็นเหตุให้ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากเกินปกติ ซึ่งจะกิดขึ้นในะระยะแรก ๆ
ต่อมาภายหลัง พบประมาณ 50 % ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง
อาจมีโรคทางรูมาติซึมบางอย่างเกิดร่วมได้ เช่น โรครูมาตอยด์ และ โรคลูปัส
นอกจากนั้น อาจพบภาวะที่มีการสูญเสียสีผิว (Loss skin pigment)
เรียก Vitiligo

Pancreas
โรคข้อ และกระดูก (รูมาติซึม) ที่เกิดร่วมกับโรคของตับอ่อน ได้แก่:

DISH.
มีโรคไขข้อชนิดหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดการเสื่อมสลายตัวของข้อ
มีชื่อเรียก .”diffuse idiopathic skeletal hyperostosis(DISH)”
สามารถพบได้ 13 % ของคนไข้ที่เป็นโรค diabetes
อาการที่พบจะน้อยมาก
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกระดุกสันหลังส่วนกลาง (middle spine)
เอกซเรย์พบ มีปริมาณของกระดูกเกิดขึ้นอย่างมากมาย (Bony overgrowth)

Diabetic charcot arthritis.
เป็นโรคที่เกี่ยวกับข้อถูกทำลายลง โดยมีต้นเหตุจากโรคเบาหวาน
ซึ่งทำให้ข้อที่เกิดโรค ไม่มีความรู้สึก
เช่น ข้อที่บริเวณเท้า ข้อเท้า เข่า และ กระดูกสันหลัง

ลักษณะพิเศษเฉพาะที่พบเห็น จะพบกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
กระดูกปราศจากเลือดมาหล่อเลี้ยง มีการอักเสบติดเชื้อ
เป็นเหตุให้กระดูกทรุดตัวลง ทำให้การเดินเหินผิดปกติไป
พร้อมกับมีแผลเกิด และมีผิวหนังก่อตัวเป็นชั้น ๆ (calluses)

Diabetic dissolving bone.
กระดูกเกิดการสลายตัวหายไป โดยไม่มีหลักฐานว่า
มีโรคเกี่ยวกับโรคเส้นประสาท หรือ ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง
โรคเบาหวาน อาจเป็นน้อย หรือไม่ได้รับการวินิจฉัย
เอกซเรย์ มีลักษณะเหมือนกับโรคไขข้อ “”รูมาตอยด์”
ซึ่งกระดูก อาจสลายตัวหายไป หรืออาจหายเหมือนปกติได้

Soft tissue contracture syndromes.
เนื้อเยื่อพังผืดหนาเพิ่มความหนา และแข็งตัว ในบริเวณฝ่ามือ
(Dupuytren's Contracture)
สามารถพบ 15 % ในคนเป็นเบาหวาน
ข้อมือแข็งในตอนเช้า (stiffness) พบได้ 40 % ของคนเป็น
โรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก
ส่วนเยื้อพังผืดที่แข็งตัว ที่ทำให้นิ้วคดงอ มักเกิดที่นิ้วที่ 4th และ 5th
และมักพบนิ้วติด (trigger finger) ในโรคเบาหวานได้บ่อย
Other types of arthritis in diabetes.
ประมาณ 15 % ของคนเป็นเบาหวาน จะพบสารแคลเซี่ยมเกาะตาม
กระดูกอ่อนเป็นลักษณะเหมือนแผลเป็น (scar tissue)
ได้มีข้อสงสัยว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวาน และโรคเก้า
บางที อาจมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างความอ้วน กับระดับไขมันสูง

โรคไข้ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ มักปรากฏพบในคนเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนั้นน ยังพบเยื่อบุข้ออักเสบ (bursitis) เกิดในบริเวณข้อไหล่
ซึ่งมักเป็นสองข้างในคนไข้ที่เป็นเบาหวานได้เสมอ
นอกจากนั้น ยังพบในเบาหวานชนิดพึงพาอินซุลิน และในสตรี
ซึ่งมักจะเกิดในด้านที่ไม่ถนัด
ซึ่งอาจลงเอยด้วยการเกิดข้อติดแข็ง (frozen shoulder) ได้

Parathyroid
โรคเกี่ยวกับกระดูก(รูมาติซึม) ที่เกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมาก
ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้กระดูกมีการสลายตัวในระยะแรก ๆ
มีการทำลายข้อเกิดขึ้น พบได้ใน hyperparathyroidism
ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่: ข้อมือ ข้อเข่า โดยพบรอยที่เป็นรู
ในบริเวณขอบของข้อ

ปัญหาแรก ๆ ที่เกิด คือ กระดูกจะอ่อนแอลง กระดุกอ่อนบางลง
ส่วนข้อแข็ง (stiffness) จะเกิดในระยะหลัง

มีคนไข้ที่ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินนั้นอาจมาพบแพทย์
ด้วยโรค “เก้าเทียม” (pseudogout) หรือโรคเก๊า (gout)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือการทำงานของประสาที่ผิดปกติ
สามารถทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขงขา

แพทย์ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ถึงความผิดปกติต่าง ๆ
เมื่อ คนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการที่เกิดขึ้นกับ กล้ามเนื้อ
กระดูก และ ข้อต่าง ๆ ด้วยการตรวจต่าง ๆ
เพื่อยืนยัน หรือแยกโรคที่ไม่ใช้ออกไปจากการวินิจฉัย

ในการรักษา ถ้าการรักษาด้วยยา ไม่สามารถรักษาให้หายได้
การผ่าตัดประสาท sympathectomy อาจได้รับการพิจารณา
ร่วมกับยาต่อไป


http://my.clevelandclinic.org/disorders/Arthritis/hic_Endocrine_Disorders_and_Joint_Diseases.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น