วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

What is Helicobacter pylori ?

มีเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ชื่อ Helicobacter pylori (H. pylori)
ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด การอักเสบของผิวด้านในของกระเพาะอาหารขงคนเรา
และยังเป็นเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดแผล ( Ulcers)ได้
เป็นโรคที่สามารถพบได้ในทั่วทุกมุมโลก
เป็นเชื้อโรคที่คนเรารับเข้าสู่ร่างกาย ทางด้านอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อดังกล่าว
โดยที่คนเราบังเอิญไปสัมผัสเข้า

สถิติของสหรัฐฯ รายงานว่า ในผู้ใหญ่จะเกิดการอักเสบของกระเพาะ-ลำไส้จากเชื้อโรคตัวนี้ถึง 30 %
(ประมาณ 50 % ของคนที่เกิดการอักเสบจะมีอายุอยู่ในช่วง 60)
และการอักเสบมักจะเกิดในย่านชุมชนแออัด ซึ่งเป็นย่านที่สุขาภิบาลไม่ค่อยจะดี
แน่นอน ประเทศที่มีสุขาภิบาลที่ย่ำแย่ทั้งหลาย
จะพบว่าผู้ใหญ่มีการอักเสบด้วยเชื้อดังกล่าวถึง 90 %

จะเป็นใครก็ตาม ที่เกิดการอักเสบด้วยเชื้อดังกล่าว จะกลายเป็นพาหะของเชื้อโรคไปตลอด
ถ้าหากเขาไม่ได้รับการรักษาและขจัดเชื้อออกไปให้หมดสิ้น
ประมาณ 1 ในจำนวน 6 คนที่เกิดอักเสบจากเชื้อ H. pylori
จะเกิดแผล (ulcers) ในบริเวณกระเพาะอาหาร (stomach) และลำไส้ส่วนต้น (duodenum)
นอกเหนือไปจากนั้น มันยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร
ซึ่งมีชื่อว่า MAL lymphomas
เป็นมะเรงที่พบได้ไม่บ่อยนัก

How is H. pylori infection diagnosed ?
เรามีวิธีการตรวจที่ง่าย และแม่นยำ ที่นำมาใช้ในการตรวจหาเชื้อโรคดังล่าว
ซึ่งได้แก่ blood antibody test Urea breath test Stool antigen test
และการตรวจชิ้นเสื้อจากกล้อง (endoscope)

• Blood test. เป็นการตรวจหา antibody ที่ร่างกายสร้างขึ้นต่อกต้านเชื้อ H. pylori
เป็นการตรวจที่ง่าย ได้ผลเร็ว ถุกนำมาใช้ตรวจเพื่อวินิจฉัยว่า มีการอักเสบจากเชื้อดังกล่าวหรือไม่ ?
ภายหลังจากเชื้อโรคถุกกำจัดออกไปหมด แม้วาเวลาจะผ่านไปหลายปี เรายังสามารถตรวจพบ antibody ได้
ดังนั้นเราจึงไม่นิยมนำมาใช้ตรวจว่า คนไข้หายจากโรคแล้วหรือไม่

• Urea breath test. เป็นวิธีตรวจที่ง่าย ปลอดภัย ได้ผลแน่นอน
เชื้อ H. pylori มีสารที่สามารถสลายสาร Urea ให้กลายเป็น Carbon dioxide
ถ้าคนไข้รายนั้นมีเชื้อ H. pylori ในกระเพาะอาหาร เมื่อคนไข้กลืนสารที่มี radioactive urea
มันจะถูกสลายตัวได้ carbon dioxide ซึ่งจะถูกดูดซึมจากระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือด
และขับออกทางการหายใจ

ในการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ให้คนไข้กลืนสาร radioactive urea (ปริมาณน้อยมาก)

ประมาณ 20 นาทีหลังการกินสาร radioactive urea ให้พ่นลมหายใจใสภาชนะ
นำไปวิเคราะห์หา radioactive carbon dioxide ต่อไป
จากลมหายใจ ถ้่าพบสารดังกล่าว (positive test)แสดงว่า มีการอักเสบจากเชื้อ H. pylori
เกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร

ในปัจจุบันนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนการใช้สาร non-radioactive urea

• Stool antigen test. เป็นการตรวจหาสารโปรตีน (antigen)
ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับการอักเสบของ เชื้อ H. pylori ที่ปรากฏในอุจจาระ
เป็นการตรวจ โดยการใช้สารที่เป็น Antibody ต่อเชื้อ H. pylori

• Endoscopy. เป็นการตรวจที่ได้ผลแน่นอน สามารถตรวจพบทั้งแผล และเชื้อที่เป้นต้นเหตุ
เป็นการตรวจด้วยวิธีการ โดยสอดท่อเล็ก ๆ ติดกล้องที่ปส่วนปลาย เข้าสู่กระเพาะ และลำไส้ส่วบน (duodemnum)
จากการตรวจดังกล่าว แพทย์สามารถตัดเอาชิ้นเนื้อชิ้นเล็ก ๆ จากผิวด้านในกระเพาะ มาทำการตรวจ
โดยวางชิิ้นเนื้อชิ้นเล้กๆ บนแผ่น สไลด์พิเศษที่มีสาร urea (CLO test slides)
ถ้าชิ้นเนื้อเชื้อ H. pylori มันจะสลายสาร urea ซึ่งเราทราบได้โดยมีการเปลี่ยนสีที่อยู่รอบชิ้นเนื้อ


Continue… (2) Why treat H. pylori ?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น