วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

How is indigestion treated?

Continue. (2)
คนบางคนเมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อย อาจหายได้ด้วย:

 กินอาหารในปริมาณไม่มาก ไขมันน้อย เคี้ยวอาหารให้ช้าลง
 ไม่สูบบุหรี่
 งดเว้นจากกินยาที่ทำให้เกิดละคายต่อผิวด้านในของกระเพาะ เช่น aspirin และ NSAIDS
 พักผ่อนให้เพียงพอ
 หาทางผ่อนคลายทั้งด้านกาย(physical sress) และจิตใจ (emotional stress)
เช่น การผ่อนคลาย (relaxation) การเล่นโยคะ

แพทย์อาจแนะนำให้ท่านกินยา ที่สามารถซื้อจากร้านขายยา
เช่น ยาลดกรด ยาลดการสร้างกรด หรือยาที่ช่วยทำให้อาหารเคลื่อนลงยังลำไส้เร็วขึ้น
ยาทีท่านสามารถหาได้ มีดังนี้:

 Antacids: ยาลดกรด เป็นยาตัวแรกที่นำมาใช้รักษาอาการอาหารไม่ย่อย
ซึ่งมาหลายตัวด้วยกัน แต่ก็มีผลเข้างเคียงได้เช่นกัน เช่น พวก magnesium salts
จะทำให้เกิดอาการท้องล่วง ส่วน aluminium salts จะทำให้เกิดอาการท้องผูก
พวก calcium carbonate antacids จะทำให้เกิดท้องผูกได้

 H2 receptor antagonists เช่น ranitidine, Cimetidine...
มีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องล่วง และอาจทำให้เลือดออกได้ง่ายอีกด้วย

 Proton-pump inhibitors เช่น omeprasole มีผลข้างเคียงเหมือนกับยา
ในกลุ่ม H2 recptor antagonists

 Prokinetics เช่น metoclopramide (Reglan)
มีประโยชน์ช่วยทำให้อาหารขับเคลื่อนไปยังลำไส้ และช่วยทำให้กล้ามเนื้อของกระเพาะลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
แต่ผลเสียของยา (side effects) ได้แก่ ทำให้ง่วง เมื่อยล้าซึมเศร้า กังวล
ทำให้ กล้ามเนื้อ (involuntary) หดเกร็ง หรือเคลื่อนไหวได้เอง

หากการตรวจพบว่า มีเชื้อ H. pylori เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
มีโรคแผลในกระเพาะ และลำไส้ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยเหลือภาวะดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป:

• อาหารไม่ย่อย (indigestion) หรือ dyspepsia เป็นคำที่เรียกอาการต่าง ๆ
เช่น รู้สึกแน่นท้องในขณะกินข้าว แน่นท้องหลังกินข้าว มีอาการแสบท้อง หรือปวดท้องที่ส่วนบน

• อาการอาหารไม่ย่อย สามารถเกิดจากความผิดปกติในในระบบทางเดินอาหาร
เช่นกรดไหลย้อน (GERD) กระเพาะลำไส้เป็นแผล มะเร็ง โรคตับอ่อน หรือโรคทางเดินน้ำดี

• บางรายมีอาการอาหารไม่ย่อย ไม่สามารถพบสาเหตุ เรียกภาวะเช่นนั้นว่า
Functional dyspepsia

• คนที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (indigestion) และพวกที่มีอาการแสบท้อง
ไม่ใช้โรคเดียวกัน แต่ทั้งคู่ต่างมีอาการร่วมกันได้

• เพื่อการวินิจฉัยโรค แพทย์อาจสั่งตรวจเอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจลมหายใจ ตรวจอุจจาระ
ตรวจภายในด้วยกล้อง endoscope ตัดเอาชิ้นเนื้อมาตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรค indigestion

• คนบางคนที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ทำให้อาการดีขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
รวมถึงการลดความเครียด

• แพทย์อาจให้ยา “ลดกรด” H2 receptor antagonsists(H2RAs),
Proton pump inhibitors (PPIs), prokinetics หรือ antibiotics
เพื่อรักษาอาการต่างของอาการอาหารไม่ย่อย (indigestion)

นั่นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (indigestion) ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจ
สำหรับผู้ที่ต้องการกินยาช่วยย่อยอาหาร...ซึ่งมียาให้ท่านเลือกหลายตัว


www.digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/indigestion/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น