เป็นมะเร็งชนิด solid tumour เกิดจากเซลล์ของระบบภูมิต้านทาน
ซึ่งปรากฏพบในระบบทางเดินอาหาร ต่อมน้ำลาย ปอด และ ต่อมไทรอยด์
โดยปกติแล้วระบบย่อยอาหารจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับพวกต่อมน้ำเหลืองเท่าใด (lymphoid tissue)
แต่ก็ปรากฏว่า มีพวกเซลล์จำพวก B lymphocyte อยุู่ร่วมกันเป็นกระจุกเล็ก ๆ
เรียก Peyer’s patches มีบทบาทตอบสนองต่อการเกิดการอักเสบของระบบย่อยอาหาร
จากการที่เซลล์ของระบบภูิต้านทานถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการอักเสบ
เซลล์พวก lymphocytes มีการเจริญโตขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นแทนที่เซลล์ปกติในที่สุด
ซึ่งเราเรียกว่า lymphoma
Lymphomas ที่เกิดจากเซลล์ lymphoctes ที่ปรากฏตัวในเยื้อบุผิวซึ่งมีลักษณะเป็น mucosa(MAL) นั้น
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร โดยถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการอักเสบของ H. pylori
หรือกระตุ้นด้วยสิ่งอื่น ซึ่งทำหน้าที่เป็น “antigen” เป็นเหตุให้ระบบภุูทำหน้าที่ต่อต้าน
ทำให้เกิดมีเนื้องอกเกิดขึ้นในท่่สุด
ในกระเพาะของคนเราจะมีเชื้อ H. pylori bacteria มากว่า 90 %
โยมันจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละคายเคืองของกระเพาะ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
และเนื้องอก MAL lymphoma
โรค MAL lymphomas ส่วนใหญ่จะสงบนิ่ง เหมือนเสือนอนหลับ มันจะเจริญอย่างช้า ๆ ,uอาการได้น้อยมาก
โชคดียังเป็นของคนไข้ ที่โรค MAL lymphomas ที่เกิดขึ้นนั้น
สามารถทำให้หายได้ด้วยการกำจัดเชืือ H.ylori bacteria ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ(antibiotics)
จากสถิติของสหรัฐฯ จะพบคนที่เป็นโรค MAL lymphoma มีประมาณ 1.5 ต่อประชากร 100,000 คน
คิดเป็น 10 % ของโรค non-Hodgkin’s lymphomas
เชื่อกันว่า มีปัจจัยด้านพันธุกรรม (hereditry ) ด้านอาหาร (dietary)
หรือ สภาพแวดล้อม (environment) มีส่วนทำให้เกิดมากที่สุด
Causes and symptoms:
ส่วนใหญ่ของคนเป็นโรค MAL lymphomas เป็นผลเนื่องมาจากตัว (agent)ที่ก่อให้เกิดการอักเสบตื่อเนื่อง
ที่พบบ่อยที่สุด คือ H. pylori ซึ่งมันอาศัยอยู่ในตัวกระเพาะนั่นเอง
ในกรณีที่มีเชื้ออยู่นอกกระเพาะอาหารละ..จะทำให้เกิด MAL lymphoma ใหม?
คำตอบ: ไม่ นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่าง MAL lymphoma ที่เกิดในต่อมไทรอยด์
เป็นผลจากระบบภูมิต้านทานรับรู้ว่า เนื้อไทรอยด์เองเป็นตัวแปลกปลอม ไม่มีการอักเสบจากเชื้อโรค H.pylori เลย
จึงทำให้เชื่อว่า อาจมีปัจจัยร่วมอย่างอื่นอีกเป็นแน่
โดยทั่วไปแล้ว คนไข้ MAL lymphomas จะมีอาการปวดท้องบริเวณกระเพาะอาหาร (stomah pain)
โดยไม่มีอาการทางsystemic คือไม่่มีไข่ ไม่อ่อนเพลีย
Diagnosis:
ได้กล่าวมาแล้วว่า MAL lymphomas เป็นมะเร็งที่สงบนิ่งเหมือนเสือนอนหลับ
ซึ่งหมายความวา คนจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น MAL lymphoma จะอยู่ในระยะเริ่มแรกเสียเป็นส่วนใหญ่
ในการวินิจฉัย กระทำได้โดยการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิ โดยพยาธิแพทย์
ท่านจะทำหน้าที่รับผิดชอบกับการแยกโรคต่าง ๆ ว่าเป็น:
o Inflammation
o Indolent lymphoma หรือ
o Aggressive form of cancer เช่น เgastric cancer หรือ rapidly growing non-Hodgkin’s lymphoma
นอกเหนือจากการตรวจแยกโรคจากชิ้นเนื้อแล้ว พยาธิแพทย์ยังต้องตรวจดูว่า เนื้องอกที่เกิดนั้นได้กระจายไปถึงไหนอีกด้วย
ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษา ตลอดรวมถึงการพยากรณ์โรค
Clinical staging, treatments, and prognosis:
ในด้านการปฏิบัติ คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น MAL lymphomas จะได้รัการประเมินในลัษณะเดียวกับ
คนที่เป็นโรค nodal lymphomas ซึ่งเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในระบบ Lymphoid
โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จาก ประวัติ การตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เอกซเรย์ และเจาะไขกระดูกมาทำการตรวจ
ในการประเมินคนไข้ แพทย์ผู้ทำการรักษา จะพิจารณาว่าโรคที่เป็นนั้นอยู่เฉพาะที่ (localized)
หรือ มีการกระจายไปที่อื่นแล้ว
การพยากรณ์โรค โดยทั่วไปแล้ว คนเป็นเนื้องอก MAL lympoma การพยากรณ์ของโรคจะอยู่ในเกณฑ์ดี
อัตรามีชีวิตรอดถึง 5 ปั มีถึง 80 %
การรักษาคนไข้ที่เป็น MAL lymphomas จะมีความแตกต่างจาก lymphoma ทั่วไป
MAL Lymphoma เป็นโรคมะเร็งที่ไม่รุนแรง (low-grade)
การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ H. ptlori bacteria จะทำให้มะเร็งดีขี้น (complete remission)
ซึ่งจะพบเห็นในคนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคดังกล่าว
ผลการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว ไม่แตกต่าง (indistinguishable) จากการรักษาด้วย
วิธีทางศัลยกรรม เคมีบำบัด รักษาด้วยการฉายแสง
หรือการฉายแสง ร่วมกันยา และการผ่าตัดเลย.
ประมาณ หนึ่งในสามของคนไข้พวกนี้ จะมีการกระจายไปที่ส่วนอื่นของผิวบุชั้นในกระเพาะ (disseminated)
ในพวกนี้จะมีการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับพวกที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ (localized form)
ทั้งสองชนิด จะตอบสนองต่อการรักษา 75 % (complete remission)
สำหรับ MAL lymphomas ที่เกิดนอกกระเพาะอาหาร มีพยากรณ์ดีเช่นเดียวกันกับพวกที่เกิดในกระเพาะอาหาร
โดยคนไข้พวกนี้ได้รับผลดีจากการรักษาด้วย local radiation, chemotherapy และ หรือร่วมกับ interferons
การรักษาด้วยการผ่าตัด ตามด้วยเคมีบำบัด หรือฉายแสง...ก็ได้รับผลดีเช่นกัน
คนไข้กลุ่มนี้มีเปอร์เซ็นต์รอดชีวิต 5 ปี มีถึง 90 %
Prevention:
ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีการใดถูกนำมาใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิด MAL lymphoma ได้
ในขณะที่การอักเสบจากเชื้อ H. pylori bacteria มีส่วนพันธ์ในการทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารก็ตาม
โยเฉพาะรายที่ไม่มีอาการแสดง เขาไม่แนะนำให้ทำการกำจัดเชื้อดังกล่าวด้วยยาปฏิชีวนะ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด MAL lymphomaหรือ มะเร็งของกระเพาะอาหาร
นั่นคือเรื่องราวเกี่ยวกับ MAL lymphoma
http://www.encyclopedia.com/topic/MALT_lymphoma.as
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น