วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Infant jaundice- continue (2)

Risk factors.
ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดโรคดีซ่าน (jaundice) ในเด็กเล็ก
โดยเฉพาะรายที่มีความรุนแรง
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ปัจจัยเหลานั้น ได้แก่:

o Premature birth. เด็กคลอก่อนกำหนด (premature)
เด็กจะไม่สามารถจัดการกับ ปริมาณองเสีย (bilirubin)ออกได้ทัน
นอกเหนือไปจากนั้น เด็กอาจกินน้อย มีการขับถ่ายน้อยลง เป็นเหตุให้มีการกำจัดอุจจาระได้น้อยลง

o Bruising during birth. ในระหว่างคลอด เด็กอาจก่อให้เกิดการฟกช้ำได้
ทำให้มีเม็ดเลือดแดงแตกเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้มีระดับของเสียที่เกิดจากเม็ดแตกสลาย (bilirubin) ในระดับเลือดสูง
ผลที่ตามมา คือ ทำให้เด้กเกิดตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีวาน)ขึ้น

o Blood type. ถ้าเลือดของผู้เป็นแม่ กับของลูกมันเป็นละชนิด (type)
เด็กอาจได้รับ antibodies จากผู้เป็นแม่ผ่านทางรก (placenta)
เป็นเหตุให้เม็ดเลือดของเด็กเกิดการแตกสลายตัวลงอย่างรวดเร็วได้

o Breast feeding. การให้นมบุตร เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้เกิดดีซ่่านได้สูง
โดยเฉพาะในรายที่ดูแลได้ลำบาก หรือในราย ที่ไม่ได้รับอาหารเพียงพอจากผู้เป็นแม่
การที่เด็กทารกขาดน้ำ (dehydration) รับอาหาร (calories) จากการดื่มนมไม่เพียงพอ
จะเป็นเหตุให้เกิดมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองได้

Complications:
ในรายที่เป็นรุนแรง ถ้าไม่ทำการรักษา สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง
ดังนี้:

 Acute bilirubin encephalopathy.
ของเสียที่เกิดจากเลือดแดงแตกสลาย (bilirubin) มันเป็นพิษ (toxic) ต่อเซลล์ของสมอง
ทำให้เซลลืสมองถุกทำลายได้ เมื่อใดก็ตาม ที่ของเสียดังกล่าวผ่านไปสมอง ทำให้เกิดภาวะที่เรียกวา
Acute bilirubin encephalopathy

ในกรณีเช่นนี้ คนไข้จะได้ต้องได้รับการรักษาทันที มัวรอโอ้เอ้ รอช้าไม่ได้เป็นอันขาด
เพราะสมองจะถูกทำลายลง เสียแล้ว...เสียเลย ไม่สามารถทำให้ดีเหมือนเดิมได้
หากไปเจอกับญาติ หรือพ่อ-แม่เด็กที่ไม่เข้าใจถึงอันตรายดังกล่าว ไม่ให้ทำการรักษา...
มันก็เป็นกรรมของเด็ก และของแพทย์ผู้รับผิดดชอบไป...

อาการต่อไปนี้ อาจเป็นข้อบ่งชี้ให้ทราบว่า คนไข้เป็น Acute bilirubin encephalopathy

• Listless, sick or difficult to wake
• High-pitched crying
• Poor sucking or feeding
• Backward arching of the neck and body
• Fever
• Vomiting

 Kernicterus
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในรายที่เป็น acute bilirubin encephalopathy
ซึ่งสมองถูกทำลายลงอย่างถาวร ยังผลให้เกิด:

• -Involuntary and uncontrolled movements (athetoid cerebral palsy)
• -Permanent upward gaze
• -Hearing loss
• -Intellectual impairment

Tests and diagnosis:
ในการวินิจฉัยโรค "ดีซ่าน" ของเด็กเล็ก แพทย์ต้องอาศัยสิ่งที่พบเห็นบนตัวเด็กเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แพทย์ไม่สามารถบ่งบอกถึงความรุนแรงของภาวะ Jaundice ได้
จำเป็นต้องตรวจดูระดับของ bilirubin ในเลือดของเด็ก เป็นตัวชี้บอกถึงความรุนแรง
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการนำไปพิจารณาการรักษาต่อไป

การตรวจเพื่อพิจารณาภาวะตัวเหลืองตาเหลือง (jaundice) ประกอบด้วย:

-การตรวจรางกาย (physical exam.)

-การตรวจเลือด (ของเด็ก) ทางห้องปฏิบัติการ (lab. )

-เป็นการตรวจทางผิวหนัง ด้วยการอาศัยเครื่องมือ transcutaneous bilirubinometer
เป็นการตรวจดูการสะท้อนของแสงผ่านผิวหนัง ด้วยลำแสงพิเศษ

นอกเหนือจากนั้น แพทย์อาจทำการตรวจอย่างอื่น หรือทำการตรวจปัสสาวะ เพื่อหาหลักฐานที่บ่งบอก
สาเหตุที่ทำให้เกิด jaundice ในเด็กเล็ก ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

Treatments and drugs:
ในการรักษาเด้กเล็ก ที่มีอาการไม่มาก (mild jaundice)
อาการจะหายไปได้เองใน 2- 3 อาทิตย์
หากอาการเป็นมากหน่อย (moderate to severe jaundice)
เด็กควรอยู่ใน newborn nursery นานหน่อย

การรักษารายที่ระดับของ bilirubin ไม่มาก (mild) :

• Light therapy (phototherapy). เป็นการรักษาด้วยแสง
โดยใช้แสงพิเศษ (blue-green spectrum)
โดยอาศัยแสงดังกล่าว เปลี่ยน molecule ของbilurubin ให้สามารถขับออกทางปัสสาวะ และอุจจาระได้

• Intravenous immunoglobulin (IVIg).
ในบางกรณี ภาวะ jaundice ของเด็กอาจเกิดจากเลือดเด็ก เป็นคนละชนิดกับของแม่
ในกรณีเช่นนี้ ทำให้เกิดมี antibodies ของแม่อยู่ในกระแสเลือดของเด็ก
เป็นต้นเหตุให้เม็ดเลือดแดงของเด็กแตกสลาย

การให้ immunoglobulin ซึ่งเป็น Protein แก่เด็ก สามารถลดระดับของ antibodies ลง
อาจทำให้ระดับของเสีย (bilirubin) ลดลง ตัวเหลืองตาเหลืองลดลง
อาจเป็นวิธีการลด หรือหลีกเลี่ยงต่อการเปลี่ยนถ่ายเลือดให้แก่เด็กได้
.
• Exchange blood transfusion.
ในกรณีที่เป็นมาก (severe jaundice) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิีการอื่น ๆ แล้ว
เด็กอาจจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนเลือด(blood exchange)
เป็นการดูดเอาเลือดของเด็กออกในจำนวนน้อย เป็นการกำจัดของเสีย (bilirubin และ antibofiesของแม่)
ออกจากเด็ก และใส่เลือดกลับสู่เด็ก ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องทำในห้อง ICU

Prevention:
ในการป้องกันเด็กทารกจากการเกิด jaundice กระทำได้ด้วยการให้อาหาร (นม) ได้เพียงพอ
การให้นมเด็ก เด็กควรได้รับ 12 ครั้ง (feeding) ต่อวันในช่วงหลังคลอด
มีการคำนวณว่า เด็กควรได้ 30-60 ซีซี ทุก 2- 3 ชั่วโมง ในอาทิตย์แรก

นั่นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดโรค "ดีซ่าน" ในเด็กทารก
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว เราต้องรู้ และต้องเอาชนะให้ได้...
แต่การรักษาโรค มันก็เหมือน "เกม" โอกาสที่เราจะแพ้โรคมีได้เช่นกัน
หากเราทำได้ถูกต้อง และสู้อย่างสุดกำลังแล้ว
มันไม่ใชความผิดของใครเลย...?

www.mayoclinic.com/health/infant-jaundice/DS00107

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น