วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Helicobactor pylori (2): จำเป็นต้องรักษาด้วยหรือ ?

การเกิดอักเสบของกระเพาะอาหาร จากเชื้อ H. pylori
หากเกิดขึ้นกับใครแล้ว มันจะทำให้ความต้านทานของเยื่อบุผิวภายในกระเพาะอ่อนแอลง
ซึ่งง่ายต่อการทำลาย โดยกรดที่มีอยู่ในตัวกระเพาะเอง

ยาต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อลดกรด (antacids) และยาลดการสร้าง และการปล่อยกรดออกสู่กระเพาะ
เช่น H2 blockers และ proton pump inhibitors or PPIs
ถูกนำมาใช้รักษาโรคกระเพาะเป็นแผลมาเป็นเวลาหลายปี

อย่างไรก็ตามยาทั้งสองกลุ่ม ไม่สามารถทำลายเชื้อ H. pylori ได้
เมื่อหยุดยาเมื่อใด แผลในกระเพาะก็จะกลับมาเหมือนเดิม
และด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการใช้ยาลดกกรด H2 blockers และ proton pump inhibitors
ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เพื่อป้องกันไม่ให้แผลในกระเพาะกลับคืนมาอีก
ไม่ให้เกิดมีเลือดออก ไม่ให้เกิดกระเพาะทะลุ รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันในกระเพาะขึ้น

ในการกำจัดเชื้อ H. pylori ให้สิ้นซาก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดมแผลเกิดขึ้นอีก
และยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็ง (พบได้น้อยมาก)ของกระเพาะ
ชื่อ MAL Lyphoma อีกด้วย

Who should receive treatmemt ?
เป็นที่ยอมรับกันว่า ใครก็ตามที่ได้รับการอักเสบจากเชื้อ H. pylori bacteria และมีแผลในกระเพาะลำไส้
ควรได้รับการรักษา โดยมีเป้าหมายในการรักษาสามประการ คือ
กำจัดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ให้หมดไป
ช่วยทำให้แผลกระเพาะหาย และป้องกันไม่ให้แผลฟื้นกลับมาอีก
สำหรับคนที่เป็น MAL Lymphoma ควรได้รับการรักษาเช่นกัน
โรค MAL lymphoma เป็นโรคที่พบน้อยมาก
แต่ภายหลังการกำจัดเชื้อ H. pyloriโรคจะยุบตัว (completed remission) อย่างรวมเร็ว

ในปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบมาตรฐาน สำหรับการรักษาคนที่มีการอักเสบจากเชื้อ H. pylori
โดยที่คน ๆ นั้นไม่มีแผลในกระเพาะ และลำไส้ หรือไม่มี MAL Lymphoma

เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะหลายตัวร่วมกัน (combinations) อาจก่อให้ผลอันไม่พึงประสงค์ได้
และเกิดมะเร็งในกระเพาะจากเชื้อ H. pylori(MAL lymphoma)พบได้น้อยมาก
ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงไม่แนะนำให้ทำการรักษาคนไข้ที่มีการอักเสบด้วย H. pylori โดยที่คนไข้รายนั้น
ไม่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมี MAL lymphoma
เพราะประโยชน์ที่พึงได้รับจากการกำจัดเชื้อ H. pylori นั้น ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่า
จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งในกระเพราะได้

แพทย์อีกกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นว่า ในกรณีดังกล่าวมา ควรได้รับการรักษา
โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย H. pylori สามารถทำให้กระเพาะอาหาร
เกิดภาวะที่เราเรียกว่า atrophic gastritis ได้

ซึ่งแพทย์บางท่านเชื่อว่า ภาวะ atrophic gastritis เป็นจุดเริ่มแรกที่จะเกิดมะเร็งของกระเพาะ
ในภายหลังได้และจากการรักษาด้วยการกำจัดเชื้อ H. pylori สามารถรักษาภาวะ atrophic gastritis
ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้

หมออีกกลุ่มแนะนำให้ทำการรักษาคนไข้ที่เป็นแผลในกระเพาะลำไส้ ซึ่งเกิดจากเชื้อ H. pylori bacteria
แม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ ก้ตาม

แพทย์บางท่านเชื่อว่า H. pylori เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะ Dyspepsia
แต่ไม่มีหลัฐานยืนยันว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว ทำให้เกิดอาการได้อย่างไร ?
พร้อมกันนั้น ก็ปรากฏว่า มีแพทย์หลายนาย ทำการตรวจหาเชื้อ H. pylori ในคนไข้ที่มีอาการ
Dyspepsia และให้การรักษาเมื่อตรวจพบว่า เมื่อตรวจพบเชื้อดังกล่าวขึ้น

จากการศึกษาเกี่ยวกับ H. pylori พบว่าเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ มีหลายชนิด (strains)
บางชนิดมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลในกระเพาะ และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
จากการวิจัยเกี่ยวกับชนิดของเชื้อแบคทีเรีย อาจช่วยให้แพทย์ตัดสินใจว่า
คนไข้รายใด ควรได้รับการรักษา

ในขณะนี้ เรายังไม่มี vaccination ป้องกันโรคนี้ได้
และไม่มีแนวโน้มว่า จะมีในอนาคตอีกด้วย

How is H. pylori treated ?
เป็นที่ยอมรับกันว่า เชื้อ H. pylori ยากต่อการกำจัด เพราะมันสามารถสร้างความต้านทาน
ต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ ได้นั่นเอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว แพทย์จึงใช้ยาหลายตัว สอง หรือมากกว่ารวมกัน โดยให้ร่วมกับ ยา PPI
และ /หรือ สารที่มี bismuth ...ทำลายเชื้อแบคทีเรีย (Bismuth และ PPIs มีฤทธิ์ต่อต้าน H. pylori)

ตัวอย่างของยาร่วมกันหลายตัว ทีนำมาใช้ในการรักษาได้แก่:

 PPI, amoxicillin (Amoxil) และ clarithromycin (Biaxin)

 PPI, metronidazole(Flagyl),tetracycline และ Bismuth subsalicylate

จากการใช้ยาหลายตัวร่วมกัน เพื่อรักษาโรคดังกล่าว โอกาสที่โรคจะหายมีถึง 70 – 90 %
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า เชื้อ H. pylori สามารถต่อต้านยา clarithromycin ได้บ่อย
โดยเฉพาะคนที่เคยได้รับยา clarithromycin มาก่อน
นอกจากนั้น ยังพบว่า เชื้อยังสามารถต้านยา metronidazole โดยเฉพาะคนที่เคยได้รับยาตัวนี้มาก่อนเช่นกัน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว แพทย์จึงต้องพยายามหายารวมกัน (ตัวอื่น ๆ) เพื่อจัดการกับเชื่อ H. pylori กันอย่างรอบคอบ

จากการที่เชื้อ H. pylori bacteria สามารถต่อต้านยาปฏิชีวนะได้นี้เอง
เป็นเหตุให้แพทย์ผู้ทำการรักษา จะต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
และหลังการรักษา แพทย์หลายนายมีวามเห็นว่า ควรมีการตรวจยืนยันด้วยว่า เชื้อโรคถูกกำจัดได้จริง
ด้วยการตรวจ urea breath test และ stool antigen test
ส่วนการตรวจด้วยกล้องส่อง endoscope และการตรวจเลือด (blood test)
จะไม่มีประโยชน์ต่อการยืนยันผลของการรักษา

http://www.medicinenet.com/helicobacter_pylori/page4.htm

1 ความคิดเห็น: