วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ALLERGIC REACTION 1

Allergic Reaction Overview

Allergic reaction หมายถึงปฏิกิริยาภูมิแพ้
ซึ่งเกิดจากระบบภูมิต้านทาน มีปฏิกิริยาสนองตอบต่อผู้บุกรุก(invader)
เช่น “แบกทีเรีย” หรือ สารพิษ (toxins)
โดยมีปฏิกิริยาที่มากเกินไป (overreaction)

อะไรก็ได้ สามารถเป็นตัวก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้
เราเรียกสิ่งนั้นว่า Allergens
ซึ่งมันเป็นสิ่งแปลกปลอมชนิดหนึ่ง ในผู้บุกรุกทั้งหลาย (antigens)
เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ พืช ยา อาหาร หรือ พิษจากแมลง
ไวรัส และ แบกทีเรีย ต่างเป็นสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ทั้งนั้น

ปฏิกิริยาของโรคภูมิแพ้ อาจเกิดมีอาการให้ปรากฏที่ตำแหน่งเดียว
เช่นเป็นผื่นบนผิวหนัง มีอาการคันที่ตา ผิวหนังเป็นผื่นนูนที่หน้า
หรือกระจายทั่วไป เช่น โรคลมพิษ ซึ่งเป็นผื่นแดงบนผิวหนัง
ผิวหนังบวมนูนขึ้น ขอบไม่เรียบ ตรงกลางสีซีดเล็กน้อย

ปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการอย่างเดียว หรือมีหลายอย่าง

ปฏิกิริยาภูมแพ้ส่วนใหญ่ อาการจะไม่รุนแรง
เช่น เป็นผื่นบนผิวหนังจากยุงกัด หรือ โดนหมัดกัด
ชนิดของโรคภูมิแพ้ จะขึ้นกับการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานของแต่ละคน
ซึ่งเราไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้

มีเป็นส่วนน้อย ที่ภูมิแพ้มีปฏิกิริยารุนแรงถึงขั้นทำลายชีวิตคนได้
ซึ่งเราเรียกว่า anaphylaxis
จากสถิติในสหรัฐฯ ในแต่ละปี มีคนเกิด anaphyaxis ถึง 150,000 ราย
และในจำนวนดังกล่าว มีการตายถึง 500 – 1,000 ราย ต่อปี

โรคภูมแพ้ เป็นโรคที่เกิดได้บ่อย
จาก The Asthma and Allergy Foundation (AAFA)
รายงานว่า คนอเมริกัน เป็นโรคภูมิแพ้ถึง 50 ล้านคน
จัดเป็นอันดับ 5 ของโรคเรื้อรัง
และเป็นโรคอันสามของเด็ก

Causes
ได้กล่าวมาแล้วว่า เกือบทุกอย่าง สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคภูมแพ้ได้ทั้งนั้น
โดยที่ระบบภูมิต้านทาน โดยเม็ดเลือดขาว (white blood cells)
จะทำหน้าที่ผลิตภูมิต้านทาน (antibodies) ขึ้น

เมื่อ ร่างกายของคนเราเผชิญกับสิ่งแปลกปลอม (antigen)
จะปฏิกิริยาลูกโซ่เกิดขึ้น:

 เม็ดเลือดขาว (WBC) จะสร้างภูมิต้านทานเฉพาะ (specific antibody)
ต่อสิ่งแปลกปลอม (antigen) เขาเรียกกระบวนการนี้ว่า “sensitization”

 หน้าที่ของ ภูมิต้านทาน (antibody) คือการตรวจจับ และช่วยทำลายสารที่ก่อ
ให้เกิดโรคภูมิแพ้ และในปฏิกิริยาภูมิแพ้ จะมีภูมิต้านทาน (antibody) ถูกสร้างขึ้น
เราเรียกว่าImmunoglobulin E หรือ IgE

 สารภูมิต้านทาน (antibody) จะส่งเสริมให้มีการสร้าง และปล่อยสาร
เคมี และ ฮอร์โมนหลายตัว เราเรียกว่า Mediator หรือ เป็นสื่อกลาง

 ตัวสื่อกลาง (mediator) จะมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ และอวัยวะหลายอย่าง
และกระตุ้นให้มีเม็ดเลือดขาว ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งมันจะทำหน้าที่จัดการกับผู้บุกรุกร่างกายต่อไป

 Histamine เป็นหนึ่งใน Mediators (สื่อกลาง) ซึ่งร่างกายสร้างขึ้น

 ถ้าสารที่เป็น mediator ถูกปล่อยออกมาทันทีทันใด หรือจำนวนมากไป
สามารถจทำให้เกิดปฏิกิริยาของภูมิแพ้ ได้อย่างเฉียบพลัน และรุนแรง
อาจทำให้เกิด ananphylaxis ขึ้นได้

 ปฏิกิริยาภูมิแพ้ ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่ละคน มีเอกลักษณ์ของตัวเอง

 การเกิดปฏิกิริยาต่อสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (allergens) มีความแตกต่างกันอย่างมาก
บางรายปฏิกิริยาภูมิแพ้ จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน บางรายอาจต้องกินเวลา

 คนส่วนใหญ่ที่มีโรคภูมแพ้ จะทราบว่า อะไรเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น
เช่น อาหารบางอย่าง หอย กุ้ง นม และอาหารอื่น ๆ

เด็ก ๆ สามารถเกิดภูมิแพ้จากอาหารต่าง ๆ ได้ ซึ่งปรากฏว่า มีอาหารมากกว่า 120 อย่าง
ที่สามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ เช่น นม ไข่ ถั่ว น้ำเต้าหู้

Food intolerance หมายถึงการที่ร่างกายของคนเรา ไม่สามารถย่อยอาหาร
ชนิดนั้น ๆ ไม่ได้หมายถึงโรคภูมิแพ้จากอาหาร
ส่วนภูมิแพ้จากสารอาหาร เป็นผลเนื่องจากระบบภูมิต้านทานตอบสนอง ต่อสารอาหาร

วัคซีน และยารักษาโรค (penicillin, aspirin, NSAIDS, ฝุ่นละออง
เกสรดอกไม้ ผงซักฟอก) ต่างเป็นสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (allergens)

บาดเจ็บเล็กน้อย ความร้อน ความเย็น การออกกำลังกาย ความเครียด
อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้

มีบ่อยครั้ง คนไข้ไม่สามารถบอกได้เลยว่า สารอะไรก่อให้เกิดภูมิแพ้ขึ้น
นอกเสียจาก เคยมีปฏิกิริยาภูมิแพ้เคยเกิดในอดีต
อาจช่วยให้เราทราบได้ว่า เป็นสารชนิดใด ?

โรคภูมิแพ้ และแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ในสมาชิกครอบครัว

คนไข้หลายราย รู้ว่า มีปัจจัยอย่างหนึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้
แต่อาจมีปัจจัยตัวอื่น ๆ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน

มีโรคบางอย่าง มีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได เช่น:

 Asthma
 Severe allergic reaction in the past
 Lung condition- COPD
 Nasal polyps
 Frequent infections of nasal sinuses, ears,
respiratory tract
 Sensitive skin : eczema

Allergic Reaction Symptoms and Signs:
สิ่งที่เห็น และที่รู้สึกได้จากปฏิกิริยาภูมแพ้ มีได้แตกต่างกัน
ซึ่งจะขึ้นกับตำแหน่ง (หรืออวัยวะ)ที่เกิดอาการ รวมถึงความรุนแรงของปฏิกิริยาภูมิแพ้
บางรายอาจเกิดขึ้นในตำแหน่งที่จำกัด ส่วนรายอื่นอาจกระจายทั่วไป

ปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิด ซึ่งเกิดจากสารชนิดเดียวกัน
อาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่แตกต่างกันได้

สำหรับปฏิกิริยา anaphlaxis เป็นผลรวมของอาการที่
เกิดจากโรคภูมแพ้ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
มีแนวโน้ม ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

อาการของ anaphlaxis อย่างหนึ่ง คือ shock หรือ เป็นลมหมดสติ
ซึ่งเกิดจากสาร mediators หรือ สื่อกลางที่เกิดในขณะมีปฏิกิริยาภูมิแพ้
ทำให้เส้นเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง
ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะทีสำคัญได้ไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เป็นลม และหมดสติไป
บางรายอาจนำไปสู่ความตายได้

อาการ และอาการแสดงของปฏิกิริยาภูมแพ้ ได้แก่:

 Skin: มีผิวหนังเกิด ละคายเคือง คัน แดง บวม ผุพอง ผื่นลมพิษ
 Lung: หายใจติดขัด ไอ หายใจมีเสียง
 Head: มีอาการบวม ที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือ คอ
 เสียงแหบ และปวดศีรษะ
 Nose: มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม
 Eyes: มีอาการตาแดง บวม คัน ต้ำตาไหล หรือบวมในบริเวณรอบ ๆ ตา
 Stomach: มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องล่วง
 หรือถ่ายอุจาระเป็นเลือด
 Other: เมื่อยบ้า เจ็บคอ

Allergic Reaction Diagnosis:
ในรายที่เป็นโรคภูมิแพ้ตามปกติ ผู้ทำการรักษา จะตรวจร่างกาย และซักประวัติ
เกี่ยวกับอาการ และเวลาที่เกิดอาการ
การตรวจเลือด และ การตรวจเอกซเรย์ ส่วนมาก...ไม่มีความจำเป็น
นอกเสียจากว่า มีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น

ในรายที่มีอาการรุนแรง คนไข้จะได้รับการประเมินความรุนแรงของอาการ
ในห้องฉุกเฉิน เพื่อวินิจฉัย โดยมีขั้นตอนพร้อมกับการช่วยเหลือ-รักษา:

 วัดความดัน วัดชีพจร
 เป็นการตรวจ เพื่อพิจารณาว่า คนไข้ควรได้รับการช่วยด้านการหายใจ
หรือไม่
 ส่วนมาก คนไข้จะได้รับน้ำเกลือเข้าเส้นเลือดดำ
ซึ่งในรายที่จำเป็น อาจได้รับยา antihistamine เข้าเส้นได้
 ในกรณีที่คนไข้สามารถพูดได้ เขาจะได้รับคำถามประวัติเกี่ยว
กับโรคภูมิแพ้ที่เกิดในอดิต รวมถึงตัว (สาร) ทีกระตุ้นให้เกิดอาการ


continue 2 > Allergic reaction:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น