วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Parathyroid Disorder:Hypoparathyroidism

Hypoparathyroidism:
เป็นโรคของต่อม พาราไทรอยด์ เป็นหนึ่งในโรคของระบบต่อมไร้ท่อ
มันอยู่ตรงด้านหน้าของคอ (...อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์)
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ที่มีชื่อเรียก parathyroid hormone (PTH)
เมื่อต่อม "พาราไทรอยด์" ไม่สามารถผลิต PTH ได้เพียงพอกับความต้องการ
จะก่อให้เกิดโรค ซึ่งมีชื่อว่า Hypoparathyroidism

Causes:
ต่อมพาราไทรอยด์ จะช่วยควบคุมการใช้ calcium และกำจัดออกจากร่างกายไป
โดยอาศัยฮอร์โมน ชื่อ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน หรือ PTH
PTH จะทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับ calcium, phosphorous และ
Vitamin D ที่อยู่ในกระแสเลือด และในกระดูก ให้อยู่ในระดับสมดุล

ในกรณีที่เกิดโรค hypoparathyroidism ต่อมพาราไทรอย์
ไม่สามารผลิตฮอร์โมน PTH ได้เพียงพอ- ผลิตได้น้อยไป
จะทำให้ระดับของ calcium ในกระแสเลือดลดต่ำลง
ทำให้ระดับของ phosphorous สูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิด hypoparathyrodism
ส่วนใหญ่จะเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ถูกทลาย ซึ่งมักจะเกิดในระหว่างทำการผ่าตัด
ในบริเวณคอ และศีรษะ
มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyrodism)
ด้วยการใช้ที่มีกัมมัตภาพรังสี เช่น radioactive iodine

นอกจากนั้น hypoparathyrodism อาจเกิดจาก:

 Low blood magnesium levels
 Metabolic alkalosis

DiGeorge syndrome เป็นโรคที่พบในเด็กตั้งแต่เกิด
ซึ่ง ต่อมพาราไทรอย์ทำงานได้น้อยกว่าปกติ
เป็นโรคทีถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์-Familial hypoparathyroidism
โดย เราจะพบร่วมกับความผิดปกติในระบบไร้ท่อชนิดอื่น
เช่น พบใน adrenal insufficiency, และ
type 1-polyglandular autoimmune syndrome (PGA I)

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิด hypoparathyroidism ได้แก่:

 การผ่าตัดบริเวณคอ
 ประวัติทางครอบครัวว่าเป็นโรคื parathyroid disorders
 โรคในระบบภูมิต้านทานบงอย่าง เช่น Addison’s disease

Symptoms

• ปวดท้อง (Abdominal pain)
• เล็กเปราะ (Brittle nails)
• ต้อกระจก
• ผมแห้ง (dry hair)
• ผิวหนังแห้ง (dry,scaly skin)
• กล้ามเนื้อปั้น (muscle cramps)
• กล้ามเนื้อกระตุก ( muscle spasm called tetany)
• หากเกิดกับกล้ามเนื้อกล่องเสี่ยง จะทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก
• ปวดกล้ามเนื้อ ขา เท้า
• กระตุก ลมชัก
• มีอาการเสียวที่บริเวณริมฝีปาก ขา และเท้า
• ฟันไม่ค่อยแข็งแรง

Additional symptoms may include:

นอกเหนือจากนั้น คนไข้อาจมีอาการต่อไปนี้:
• ความรู้สึกตัวลดน้อยลง
• ไม่มีการเจริญเติบโตของฟัน
• มือ และเท้ากระตุก หดเกร็ง
• ปวดประจำเดือน

Exams and Tests:

การตรวจเลือด ดูระดับ calcium และ phosphorous,
magnesium และ PTH
ตรวจดูคลื่นหัวใจจาก EKG จะพบคลื่นผิดปกติได้
การตรวจปัสสาวะ ดูระดับ calcium ที่ถูกขับออกไป

Treatment:

เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่ ทำให้ระดับของ calcium
และสาร minerals อื่น ๆ ให้กลับสู่ความสดุล
เช่น การให้สาร calcium carbonate และ vitamin D
ซึ่งสามารถได้จากอาหารเสริม
หลังการรักษา จะต้องมีการตรวจเลือดระดับ calcium เป็นระยะ ๆ
เพื่อตรวจสอบว่า ว่ายาที่ให้นั้นเพียงพอหรือไม่ ?
นอกจากยาที่ได้จากแพทย์ ยังสามารถได้จากอาหารเสริมได้อีกด้วย
นั่นคือ อาหารทีมีสาร calcium สูง และมีสาร phoshorous ต่ำ

ในกรณีที่มี calcium ในกระแสเลือดต่ำ จะมีผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวรกลอ่งเสียง
ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการหายใจได้ และเป็นอันตราจต่อชีวิตได้

การชดเชยสาร calcium ที่ขาด ควรใหทางเส้นเลือด
หลังจากนั้น ควรตรวจ EKG ดูการเต้นของหัวใจ จนกว่าจเป็นปกติ
เมื่อควบคุมได้แล้ว การชดเชยสารที่ขาดสามารถให้ต่อเนื่องทางปากได้

Outlook (Prognosis):

การพยากรณ์โรค hypoparathyroidism
หากวินิจโรคได้แต่เนิน ๆ จะมีแนวโน้มทีดี
ส่วนกรณีที่เกิดเป็นโรค “ต้อกระจก” มีหินปูนเกาะที่สมอง...
ไม่สามารถทำให้กลับฟื้นได้เหมือนเดิม

Possible Complications:

โรคhypoparathyroidism ที่เกิดในเด็ก
อาจเป็นสาเหตุทำให้หยุดการเจริญเติบโตของเด็กได้ (stunted growth)
ฟันผิดรูป (malformed teeth) และมีการพัฒนาสมองเจริญช้าลง
(slow mental retardation )

การกรณีให้การรักษามากไป ด้วยการให้ calcium และ vitamin D มากไป
จะทำให้เกิดภาวะ hypercalcemia (มีสารแคลเซี่ยม สูงในกระแสเลือด)
สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของไตได้

โรค hypoparathyrodism จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น:

 Pernicious anemia
 Addison’s disease
 Cataracts
 Parkinson’s disease

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/parathyroiddisorders.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น