วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Understanding COPD (2)

Who is affected by COPD?

จากสถิติในสหรัฐฯ กล่าวว่า มีคนเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 16 ล้านคน
หรือประมาณ 11 % ของมวลประชาชน

Symptoms of COPD

คนไข้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื่องรัง จะมาเบแพทย์ด้วยอาการ:

• หายใจสั้น และเร็ว (Shortness of breath)
• หายใจสั้น และ เร็ว เมื่อออกแรงไม่มาก เช่น เดิน หรือเดินขึ้นบันได
• ไอ เรื้อรัง มี เสมหะ (mucous)
• แน่นหน้าอก
• Wheezing เสียงลมหายใจ ที่เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ

What causes COPD?

มีสาเหตุหลักอยู่สองอย่าง ที่ทำให้คนเราเกิดโรค COPD
นั้นคือ การสูบบุหรี่ และ alpha-1 antitrypsin (AAT) deficiency
นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอย่างอื่นอีก
เช่น มลภาวะ และ ฝุ่นละอองจากที่อยู่อาศัย อาจมีส่วนทำให้เกิด COPD ได้
โดยเฉพาะ คน ๆ นั้นต้องเผชิญกับมันอยู่ตลอดเวลา

การสูบบุหรี่ ทำให้เกิด COPD ได้ เพราะควันบุหรี่ ที่คนเราสูบเข้าปอดนั้น
จะไปก่อให้เกิดการละคายเคีองต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ
ซึ่งนำไปสู่การทำให้หลอดลมตีบแคบลง ทำให้การหายใจลำบากในที่สุด

นอกจากนั้น ควันบุกรี่ ยังทำให้ขน (cilia)
ที่อยู่ภายในท่อลมหายใจ ซึ่งทำหน้าทีทำความสะอาดให้แก่ท่อลมหายใจ
ต้องหยุดการทำงานลง เป็นเหตุให้มีเสมหะ (mucous) สะสมภายในทางเดินหายใจ
ทำให้คนไข้มีอาการไอเรื้อรัง และลงท้ายกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้องรัง

ในคนไข้บางรายที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้องรัง จะเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น
ทำให้ถุงลม (alveoli) ถูกทำลายลง ซึ่งเราเรียกว่า emphysema

ส่วน alpha-1 antitrypsin (AAT) deficiency
เป็นโรคทางพันธุกรรม สามารถก่อให้เกิดโรค emphysema ขึ้นได้
ปกติแล้ว alpha-1 antitrypsin (AAT) เป็นสารที่ทำหน้าที่ปกป้องปอด
เป็นสารที่ถูกสร้างจากตับ จากนั้น มันจะถูกส่งไปยังปอด
เพื่อทำหน้าที ปกป้องคุ้มครองปอดจากการอักเสบ

เมื่อร่างกายเราไม่มี สาร AAT ในปริมาณเพียงพอ
มันย่อมไม่มีอะไรที่จะปกป้องปอดให้รอดจากเอนไซม์ ที่มาจากเม็ดเลือดขาวได้
เป็นเหตุให้ผนังถุงลม (alveoli) ถูกทำลาย
เมื่อถุงลม (aveoli) ถูกทำลายลง ร่างกายเราก็หมดทาง
ที่จะมีการแลกเปลี่ยน Oxygen และ carbon dioxide ได้
ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจน และ
ไม่สามารถขับ คาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้

How is COPD diagnosed?
Medical history

ในการวินิจฉัยโรค COPD เมื่อท่านเจอแพทย์ สิ่งท่่ท่านจะได้พบ
เขาจะถามปัญหาท่านหลายคำถาม:

• สูบบุหรี่หรือไม ?
• มีการสัมผัสกับฝุ่น หรือ มลพิษทางอากาศ...นานไหม?
• มีใครในครอบครัว (วงศ์ตระกูล) ...เป็นโรคปอด?
• มีหายใจสั้น-ถี่ หรือไม่?
• เมื่ออกกำลังกายแล้ว...หายใจเร็ว หรือหอบ ?
• เวลามีอาการ หายใจมีเสียง (wheezing) ?
• เวลาไอ...มีเสมหะ ?

Physical exam:

ในการตรวจร่างกาย เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย
โดยละเอียด ซึ่งเขาจะ:

• Listening to your lungs and heart
• Checking your blood pressure and pulse
• Examining your nose and throat
• Checking your feet and ankles for swelling

Laboratory and other tests:

ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ มีการตรวจหลาอย่าง ที่จำเป็นต่อการ
ยืนยันว่า คำวินิจฉัยโรค COPD เช่น:

• Electrocardiogram (ECG or EKG) เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจ
เพื่อแยกโรค ที่เป็นเหตุให้เกิดการหายใจลำบาก (shortness of breath) t
• Chest X-ray เพื่อมองหาการเปลี่ยนแปลงในปอด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิด
โรค COPD ได้
• Spirometry and pulmonary function tests (PFTs):
เป็นการตรวจดูปริมาณของอากาศที่ปอดสามารถรับได้ (lung volume) รวมถึงอากาศที่ผ่านเข้าออก
• Pulse oximetry: เป็นหารตรวจดูความเข็มข้นของ oxygen ในกระแสเลือด
• Arterial blood gases (ABGs): เป็นการตรวจวัดจำนวน oxygen และ
carbon dioxide ในกระแสเลือด
• Exercise testing : เป็นการตรวจดูว่า ในระหว่างมีการออกกำลังกาย มี oxygen
ในกระแสเลือดเท่าใด

Treatment:

ในรายที่เป็นโรค COPD ในระยะเริ่มต้น อาการหายใจถี่-สั้น อาจเกิดขึ้นใน
ตอนออกกำลังกายเท่านั้น

เมื่อโรคเป็น(พัฒนา)ไปมากแล้ว อาการหายใจหอบ (สั้น-ถี่) อาจมากขึ้น
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องหายใจที่มีออกซิเจน เพื่อช่วยให้โรค COPD ดีขึ้น
สิ่งที่คนไข้ต้องกระทำคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรับการรักษาต่อไปนี้:

• เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
• หลีกเลี่ยงจากควันบุหรี่ หรือสิ่งละคาบเคืองทางเดินลมหายใจ
• กินยา (medications):

o bronchodilators
o anti-inflammatory agents
o oxygen
o antibiotics

• รับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ (ผัก ผลไม้ ธัญพืช อาการที่มีไขมันต่ำ
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามโปรกแกรมที่กำหนด)
• ป้องกันไม่ให้เกิดมีการอักเสบของทางเดินลมหายใจ
• ควบคุมความเครียด

ถ้าโรค COPD เลวลง อาจได้รับการประเมิน ดูปริมาณของปอดที่เหลือว่า
สมควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่
เช่น ผ่าตัดเอาปอดส่วนที่ไม่ดีออก (wedge resection) ให้โอกาสส่วนที่ดี
ได้ขยายตัว หรือ ทำการปลูกถ่ายปอดจากคนบริจาค ?

What is the outlook?

แม้ว่า โรค COPD เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม
แต่ เราสามารถรักษาอาการได้ และที่สำคัญ คุณภาพชีวิตของท่านดีขึ้นได้
การพยากรณ์โรคของท่าน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

 ปอดของท่านยังทำงานได้ดีแค่ใด ?
 อาการของโรค และ
 ท่านตอบสนองต่อโปรแกรมการรักษาได้ดีแค่ไหน?

<<  PREV        

http://my.clevelandclinic.org/disorders/Chronic_Obstructive_Pulmonary_
Disease/hic_Understanding_COPD.aspx

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น