วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Myasthenia gravis

Myasthenia gravis
เป็นโรคของระบบ "กล้ามเนื้อและประสาท"
โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ และประสาทโดยตรง

Causes
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค Myasthenia gravis
มีต้นเหตุจาก ระบบภูมิต้านทาน ซึ่งมันเข้าใจผิด แล้วโจมตีเนื้อเยื้อที่เป็นปกติของตนเอง
ในคนที่เป็นโรค Myasthenia gravis ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (antibody)ข้ึ้น
ซึ่งภูมิต้านทานตัวนี้ จะไป "บล๊อก" กล้ามเนื้อไม่ให้รับคลื่นประสาท (messages)จากเซลลประสาทได้

อะไรทีให้เกิดโรค Myasthenia gravis ขึ้น ?....ไม่มีใครทราบได้
ในคนไข้บางราย การเกิดโรคดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการมีเนื้องอกของต่อม "ไทมัส" เอง
ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบภุูมิต้านทาน

โรคดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุขัย
ส่วนมากจะเกิดกับผู้หญิงที่อายุน้อย (สาว)
และ ชายผู้สูงอายุ

Symptoms
โรค Myasthenia gravis ทำให้กล้ามเนื้อลาย
ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อภายใต้การควบคุม เกิดการอ่อนแรง
ซึ่งหมายความว่า ปกติแล้ว เมื่อท่านคิดที่จะเคลื่อนไหว ก็มีการเคลื่อนไหวได้
แต่ในรายที่เป็นโรคดังกล่าว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
จะเลวลง เมื่อมีการออกแรง และอาการจะดีขึ้น เมื่อท่านได้พักผ่อน

เมื่อมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถนำไปสู่อาการต่าง ๆ
ดังนี้:

 หายใจลำบาก เพราะกล้ามเนื้อทรวงอกอ่อนแอ
 เคี้ยวอาหาร หรือ กลืนอาหารลำบาก เป็นเหตุให้มีน้ำลายไหล หรือสำลัก
 เดินขึ้นบันไดลำบาก ลุกจากท่านั่งขึ้นยืนไม่ได้
 พูดลำบาก
 กล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาติ (Facial paralysis)
 เมื่อยล้า
 เสียงแหบ
 มองภาพไม่ชัด เห็นสองภาพ
 ยกศีรษะไม่ขึ้น (drooping head)
 หนังตาบนตก (eyelid drooping)

Exams and Tests
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายของคนไข้ รวมทั้งระบบประสาท (neurological exam)
ซึ่งอาจประกอบด้วย:

 กล้ามเนื้ออ่อนแรง- จะพบกล้ามเนื้อของลูกตาจะเกิดอาการขึ้นก่อน
 Relexes และ ความรู้สึกจะปกติ

การตรวจ (Tests) ต่าง ๆ อาจมีการตรวจ
 Acetylcholine receptor antibodies associated with disease
 CT or MRI scan of the chest to look for a tumor
 Nerve conduction studies
 EMG

Treatment
ในขณะนี้เราไม่ไมทางรักษาโรค Myasthenia gravis ให้หายขาดได้
การรักษาทีแพทย์จะให้ได้ คือ การทำให้คนไข้ไม่มีอาการ ให้ได้นานขึ้น (remission)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนใหญสามารถช่วยทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันดีขึ้น
ซึ่งท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

• จัดเวลาให้ลุกตาได้พักเป็นระยะ
• ผดตา (eye patch) เมื่อเกิดมีอาการทางลุกตา
• หลีกเลี่ยงจากความเครียด และความร้อน ซึ่งมันจะทำให้อการเลวลงได้

ยา (medications) ที่นำมาใช้ในการรักษา อาจ:

• Neostigmine or pyridostigmine
สามารถทำให้เกิดติดต่อระหว่างประสาท และกล้ามเนื้อดีขึ้นได้
• Prednisone and other medications (such as azathioprine, cyclosporine)
จะใช้เมื่ออาการเลวลง หรือยาอย่างอื่นไม่ได้ผล
แพทย์อาจจำเป้นต้องใช้ยาที่ไปลดการทำงานของระบบภูมิต้านทานลง


มียาหล่ยอย่าง อาจทำให้อาการเลวลงได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเสีย
ดังนั้น ก่อน รับประทานยาอะไร ควรตรวจสอบกับแพทย์ให้แน่ใจก่อน
ว่าเป็นยาที่ปลอดภัย

ภาวะวิกฤติของโรค Myasthenia grevis
ขึ้นกับตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่เกิดการอ่อนแรง เช่น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ
อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า-
เช่นจากการใช้ยามากเกินไป (0veruse of medications)

ในรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ซึ่งการรักษาด้วยกรรมวิธีล้างเอา antibodies ออก
ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่า“plasmapheresis” เป็นการกรองเอาแอนตี้บอดี้ของคนไข้ออก
และทดแทนด้วย Antibody-free plasma ของผู้บริจาก

การทำ plasmaphersis สามารถช่วยทำให้คนไข้มี่อาการได้นาน 4 – 6 สัปดาห์
ส่วนใหญ่จะกระทำก่อนทำการผ่าตัด
การให้ immunoglobulins แก่คนไข้ ก็เป็นวีชิธีที่ถุูกนำมาใช้ร่วมกับการล้างเลือด

การผ่าตัดเอาต่อ thus ออก (thymectomy)
อาจทำให้คนไข้ปราศจากอาการได้อย่างถาวร (permanent remission)
หรืออาจใช้ยาน้อยลง โดยเฉพาะในรายที่เป็นเนื้องอก (tumor)

สำหรับคนไข้ทีมีปัญหาเกี่ยวกับตา
อาจลองรักษาด้วย Lens prisms อาจช่วยด้านสายตาได้
การผ่าตัดเกี่ยวกับกล้ามเนื้อลุกตา อาจเป็นทางหนึ่ง ที่ช่วยรักษาคนไข้เช่นกัน

Outlook (Prognosis)
โรค Myasthenai gravis ไม่มีทางรักษาใหหายได้
แต่ มีโอกาสที่จะไม่มีอาการในระยะยาวได้ คนไข้อาจมีการเคลื่อนไหวจำกัด
อาจมีอาการเพียง หนังตาตกแต่เพียงอย่างเดียว

สำหรับสตรี่ที่เป็นโรค สามารถตั้งครรภ์ มีบุตรได้ แต่ควรดูแลอย่างไกล้ชิด
เด็กที่เกิดมา อาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ในระยะสั้น จำเป็นต้องได้รับยาดูแลหลังคลอด
(สักระยะ 2-3 อาทิตย์)

Possible Complications
โรค Myasthenia gravis อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
เนื่องจากหายใจลำบาก เรียกภาวะนี้ว่า Myasthenia crisis

คนไข้ที่เป็น Myasthenia gravis มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิต้าทานชนิดอื่น ๆ
เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) โรครูมาตอยด์ (RA)
และโรคลูปัส (Systemic lupus erythematosus)

http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000712.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น