วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Thyroid Disorder: Hyperthyroidism (2)

HYPERTHYROIDISM

Symptoms
คนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ ซึ่งทำงานได้มากเกินไป
เราเรียก hyperthyroidism เป็นโรคที่เกิดในสตรีที่มีอายุระหว่าง 20 – 40s
ในชายก็มีโอกาสเกิดเป็นโรคดังกล่าวได้ แต่พบได้น้อยกว่า

อาการที่สามารถพบได้ ประกอบด้วย:

• Muscle weakness
• Trembling hands
• Rapid heartbeat
• Fatigue
• Weight loss
• Diarrhea or frequent bowel movements
• Irritability and anxiety
• Vision problems (irritated eyes or difficulty seeing)
• Menstrual irregularities
• Intolerance to heat and increased sweating
• Infertility

Causes:

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค hyperthyroidisim ที่พบมากที่สุด คือ Grave’s disease
เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิต้านทาน... ทำลายตัวเอง ด้วยการทำร้ายต่อมไทรอยด์
โดยอาวุธที่มันสามารถสร้างขึ้นได้เอง ซึ่งเรียกว่า auto-antibodies
ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป
เป็นเหตุให้ความสมดุลในระดับฮอร์โมนเสียไป

โรคนี้มักจะมีประวัติว่า มีคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าวกันหลายคน
คนไข้ที่เป็นโรค Grave’s disease
มีอาการให้พบเห็นได้ คือ
เนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณด้านหลังของลูกตา เกิดบวมขึ้น ดันลูกตาออกมาทางด้านหน้า
ทำให้ตาของคนไข้ "ถลน" ออกมา
เป็นที่น่าหวาดเสียวของผู้คนที่พบเห็น

สาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดโรค hyperthyroidism ได้แก่

 Thyroid nodules (ดูรายละเอียดในเรื่อง thyroid nodules)
 กินยา ไทรอยด์ฮอร์โมน เพื่อรักษาโรคอื่น ๆ
 โรค Subacute thyroiditis เป็นการอักเสบจากเชื้อไวรัส
ซึ่งทำให้มีอาการปวด
 โรค lymphocytic thyroiditis และ postpartum thyroiditis
เป็นโรคที่สัมพันธ์กับระบบภูมิต้าน ซึ่งเป็นเหตุให้มีการอักเสบชั่วระยะสั้น ๆ

Antithyroid Drugs:

มียาหลายตัวถูกนำมาใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป
ซึ่งยาดังกล่าว จะทำหน้าที่ลดระดับฮอร์โมน ที่ถูกสร้างโดยต่อมไทรอยด์ลง

ยาที่ถูกนำมาใช้กันบ่อย คือ methimazole
เป็นยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย

มียาตัวหนึ่ง คือ propylthiouracil (PTU)
จะถูกนำมาใช้ในคนไข้ ที่ไม่สามารถรับยา methimazole ได้
เช่น แพ้ยา... หรือเป็นเพราะตั้งครรภ์ในระยะสามเดือนแรก

การให้ยาต่อต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( antithyoid drugs)
อาจจำเป็นต้องให้ติดต่อกันนานเป็นปี
หากหยุดยาเร็วไป โรคอาจหายได้ แต่อาจกลับเป็นขึ้นมาใหม่ (relapse)

การให้ยารักษา อาจให้ในระยะสั้น หรือระยะยาว
การรักษาในระยะสั้น เป็นการรักษาเพื่อให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลงสู่ปกติ
ก่อนที่จะตัดสินใจให้การรักษาเป็นการเฉพาะต่อไป

ส่วนการรักษาระยะยาว เป็นการรักษาเพื่อให้โรคบรรเทาลง
แม้ว่าจะหยุดยาไปแล้ว

Beta-blockers:

ยาในกลุ่ม Beta-blocker drugs
ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็น hyperthyrodism ที่ใช้เป็นประจำ คือ atenolol
ซึ่ง สามารถลดอาการที่เกิดจากโรคที่ผลิตออกมามากเท่านั้น
เช่น หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น กังวลใจ และ ขี้ร้อน
โดยที่ยาในกลุ่มดังกล่าว ไม่มีส่วนในการลดระดับฮอร์โมนได้เลย

Radioactive iodine:

ปกติแล้ว ต่อมไทรอยด์จะจับเอาสาร iodine จากกระแสเลือด
เพื่อนำไปสร้างฮอร์โมนขึ้น

ในการรักษาด้วย Radioactive iodine
สาร raidioactive จะทำลายต่อมไทรอยด์ได้อย่างถาวร
โดยที่ต่อมไทรอย์ จะตอบสนองต่อ radioactive idodine ภายใน 6 - 18 อาทิตย์
และเนื่องจาก สาร radioactive iodine จะทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์อย่างถาวร
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนชดเชย ไปตลอดชีวิต

Surgery:

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด (thyroidectomy)
สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ อาจเป็นอันตรายต่ออวัยไกล้เคียงได้
เช่น เส้นประสาททีอยู่ไกล้กล่องเสียง
และต่อม parathyroid ซึ่งเป็นต่อมที่ทำหน้าที่รักษาความสมดุลของ แคลซี่ยม & ฟอสฟอรัส
หากต่อม พาราไทรอยด์ ถูกทำลายไป จะทำให้ระดับของ แคลเซี่ยมต่ำลง
และระดับ ฟอนฟอรัส สูงขึ้น

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะกระทำขึ้น เมื่อมันมีขนาดโต ทำให้การหายใจลำบาก
หรือ ในรายที่ได้รับยา antithyroid drug แล้วไม่ได้ผล
หรือในรายที่ไม่สามารถรักษาด้วย radioactive iodine ได้
หรือในรายที่เป็นก้อน ซึ่งอาจเป็นมะเร็งได้

หลังจากคนไข้ได้รับการผ่าตัด คนไข้ควรได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อ ตรวจดูความสมดุลของระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด
ถ้า ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ จะต้องได้รับการชดเชยด้วยฮอร์โมนที่ขาดไป

ถ้าคนไข้ไม่ได้รับการรักษา
คนไข้ hyperthyroidism จะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง
เช่น โรคหัวใจวาย (congestive heart failure)
และกระดูกพรุน (osteoporosis)
ดังนั้น โรคดังกล่าว จึงควรได้รับการดูแล - รักษาให้ถูกต้อง

Continue (3) Thyroid disorder: Hpothyroidism

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น