วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Autoimmune Hepatitis:

ดูข่าวอุทกภัยน้ำท่วมของประเทไทยศครั้งนี้ ได้เห็นความทุกข์ยากของประชาชนคนไทย
ได้พบหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น เห็นคนตกทุกข์ได้ยาก สูญเสียทุกอยางที่เคยมี
ได้พบเห็นคนดีมีน้ำใจ ได้พบเห็นคนไม่ดี เอาดีใส่ตัวเอง...
ดูแล้ว รู้สึกว่าตื่นเต้นเร้าใจยิ่งกว่าดูหนังเกาหลี...
ที่กำลังฉายในช่อง 3 ตอนเย็นในของวันหยุดราชการ...

นั่นเป็นเรื่องของโลกที่อยู่นอกตัวเรา

พอมองดูโลกที่อยู่ภายใน (ตัวเรา)....รู้สึกว่า
มันสลับซับซ้อนกว่าที่เราได้พบเห็นจากโลกภายนอกเสียอีก
เอาแค่ “ระบบภูมิต้านทาน” ของคนเรา เป็นตัวอย่าง
อย่างที่พวกเรารู้กัน มันมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองตัวของเรา ให้รอดพ้นจากสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษ เป็นภัยทั้งหลาย...
มันยังหันกลับมาทำลายตัวของเราเองได้...
เราจะไปสั่งการไม่ให้มันทำลายตัวเองก็ไม่ได้

ดังนั้น การที่คน ๆ หนึ่ง จะสั่งให้ใครคนอื่น ทำงานตามที่ตนต้องการไม่ได้
ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทย
ยิ่งเป็นคนละพวกกันแล้ว...ยิ่งไปกันใหญ่
เห็นเรื่องนี้แล้วเกิดเศร้าใจ...
แต่ก็เกิดความยินดีกับคนญี่ปุ่นเขา
....
หันกลับมาพูดถึงความวุ่นวาย (โรค) ที่เกิดขึ้นภายในตัวตนของเราดีกว่า
โรคที่จะเสนอให้พิจาณา คือ โรคตับอักเสบ ที่ถูกทำลายโดยระบบภูมิต้านทาน : Autoimmune Hepatitis

What is autoimmune hepatitis?
Autoimmune hepatitis เป็นโรคตับอักเสบ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากระบบภูมิตานทานทำลายเซลล์ของตับโดยตรง
การตอบสนองของภูมิต้านทาน จะทำให้เกิดการอักเสบที่ตัวตับเอง ซึ่งเราเรียกว่า ตับอักเสบ (Hepatitis)
โดยมีนักวิจับหลายนาย เชื่อว่า มีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดดังกล่าวขึ้น

จากสถิติกล่าวว่า ประมาณ 70 % ของคนทีเป็นโรคดังกล่าว
มักเกิดขึ้นกับสุภาพสตรีซะเป็นส่วนใหญ่

โรคตับอักเสบชนิดนี้ มักจะมีความรุนแรง หากไม่ทำการรักษา อาการจะเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป
โรคชนิดนี้ จะเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายความว่า จะเป็นนานหลายปี
ซึ่งจะลงเอยด้วยการเกิดเป็นโรคตับแข็งในที่สุด (cirrhosis)
สุดท้ายจะเกิดภาวะ “ตับล้มเหลว” (liver failure)

Autoimmune hepatitis ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (Type) ด้วยกัน: Type 1 & 2
ชนิดที่ 1 จะพบในคน ที่อาศัยในอเมริกาเหนือ สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกอายุขัย
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับวัยรุ่น หรือคนหนุ่มสาว
ประมาณว่า 50 % ของคนไข้พวกนี้ จะมีโรคอย่างอื่น ที่เกิดจากระบบภูมิต้านทานที่ “ผิดเพี้ยน” ไป
เช่น:

 Type 1 diabetes
 Proliferative glomerulonephritis เป็นการอักเสบของเส้นเลือดภายในไต
 Thyroiditis- ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบขึ้น
 Hyperthyrodism (Grave’s disease) ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จากการทำงานมากเกินไป
 Sjogren’s syndrome เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการตาแห้ง ปากแห้ง เป็นโรคเลือดจาง
 Ulcerative colitis ลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และมีแผล ulcer ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย Rectum

สำหรับตับอักเสบชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้น้อย จะเกิดขึ้นในเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 14
แต่ก็เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน

What is autoimmune hepatitis?
หน้าที่อย่างหนึ่งของระบบภูมิต้านทาน คือการป้องกันร่างกายของเราจาก
เชื้อไวรัสต่าง ๆ เชื้อแบกทีเรียม และอื่น ๆ
โดยปกติ ระบบภูมิต้านทานจะไม่ทำร้ายเซลล์ของตนเอง
แต่เป็นเพราะอะไรก็ไม่ทราบได้ มันทำลายเซลล์ของตัวเอง
ทั้ง ๆ ที่มันจะต้องทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ตัวนั้น ๆ
ในกรณีเช่นนี้ เราเรียกว่า “autoimmunity”
ซึ่งนักวิจัยหลายนาย คิดว่า เชื้อบางชนิดของ bacteria, viruses , toxins
และ ยาบางอย่าง จะทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน
เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติขึ้น (autoimmune disorder)

What are the symptoms of autoimmune hepatitis?
อาการเหนื่อยล้า จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในคนเป็น autoimmune hepatitis
อาการอย่างอื่น ๆ ได้แก่

 ตับโต (enlarged liver)
 ตัวเหลืองตาเหลือง (jaundice)
 คัน (itching)
 ผื่นตามผิวหนัง (skin rashes)
 ปวดตามข้อ (joint pain)
 มีเส้นฝอยปรากฏตามผิวหนัง ลักษณะเหมือนตาข่ายใยแมงมุม
 (spider angiomas) บนผิวหนัง
 คลื่นไส้ (nausea)
 อาเจียน (vomiting)
 เบื่ออาหาร (loss of appetite)
 ปัสสาวะดำ (dark urine)
 อุจจาระซีด เป็นสีเทา (pale-gray-colored stools)

ในรายที่เป็นมากแล้ว อาการที่เกิดมักจะเป็นอาการของโรคตับเรื้อรัง
โดยจะมีอาการ มีน้ำในช่องท้อง (ascites) มีความรู้สึกนึกคิดสับสน
หากเกิดในสตรีเพศ เธอจะไม่มีประจำเดือนเหมือนคนปกติ

อาการของคนเป็น autoimmune hepatitis จะมีลักษณะไม่มาก (mild)
จนกระทั้งถึงรุนแรง (severe)

สำหรับคนไข้ตับอักเสบ (hepatitis) ที่เกิดจากยาปฏิชีวนะยางอย่าง จะมี
อาการเหมือนกับ โรค autoimmune hepatitis ทุกประการ
จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ ที่ต้องวินิจฉัยโรคให้ได้ ด้วยการพิจารณายาทุกชนิด
ที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคตับอักเสบ...
ก่อนที่จะวินิจฉัยว่า คนไข้เป็น autoimmune hepatitis

Continue> How is autoimmune hepatitis diagnosed ? (2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น