ในการรักษาโรคเบาหวาน...
มีประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดความสับสน เช่น insulin sliding scale
โดยเป็นกฏเกณฑ์ที่ถูกนำมาใช้ในโรงพาบาลที่สามารถตรวจระดับ
น้ำตาลได้ เพื่อใช้ในการแก้ไขระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ด้วยการ
ใช้อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short- acting insulin) โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
ที่รับทาน หรืออินซูลินที่หลั่งออกมาได้โดยธรรมชาติ
ภายใต้วิธีการรักษาด้วย insulin sliding scale จะมีการตรวจเช็ค
ระดับน้ำตาลในเวลาก่อนนอนด้วย “อินซูลิน” โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า
เราจะต้องรับทานอาหารในตอนกลางคืน หรือไม่
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน
วิธีที่ดีที่เหมาะกว่า คือการรักษาโรคเบาหวานด้วยกระบวนการ
Insulin algorithm ซึ่งมีหลักเกณฑ์สำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
นั้นคือ คนไข้จะต้องตรวจเช็คระดับน้ำตาลของเขาก่อนรับประทานอาหาร (pre-meals)
จากนั้นจึงจะมีการปรับขนาดของอินซูลินก่อนที่จะรับทานอาหาร
โดยยึดอยู่กับระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด
และปริมาณของอาหารที่จะรับประทาน
ยกตัวอย่าง...คนไข้ได้ตราจเช็คระดับน้ำตาลก่อนอาหาร (pre-meal)ได้ 170 mg/dL
โดยมีสูตรที่ใช้คำนวณว่า:
อินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับคาร์โบฮัยเดรต (CHO) ได้ประมาณ 10 กรัม
และอินซูลินออกฤทธ์เร็ว 1-2 units เช่น Aspart สามารถลดระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้ 50 mg/dL โดยมีเป้าหมาย (target) ให้ลดลงสู่ระดับ 120 mg/dL
จากข้อมูลในตัวอย่าง คนไข้จำเป็นต้องใช้อินซูลินเพื่อจัดการกับอาหารที่เป็น
คาร์โบฮัยเดรต 60 กรัม ซึ่งจะต้องอินซูลิน 6 units และอินซูลินที่ใช้ลดน้ำตาล
จาก 170 mg/dL ให้ลดลงเป็น 120 mg/dL นั้นคือ 2 units
เมื่อนำปริมาณอินซูลินทั้งสองส่วนมารวมกัน จะได้ 6 + 2 = 8 units
ซึ่งเป็นอินซูลินที่ต้องให้แก่คนไข้ก่อนคนไข้รับทานอาหาร
ถ้าบังเอิญคนไข้ต้องการที่จะรับทานอาหารคาร์โบฮัยเดรตเพิ่ม 10
กรัม ...คำถามมีว่า เขาจำเป็นต้องเพิ่มอินซูลินอีกเท่าใด ?
จากสูตรที่กำหนดให้....อินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับคาร์โบ
ฮัยเดรต (CHO) ได้ 10 กรัม และในเมื่อคนไข้ต้องรับทานคาร์โบฮัยเดรตเพิ่ม
อีก 10 กรัม คนไข้เบาหวานรายนี้ จะต้องใช้อินซูลินทั้งหมดเท่ากับ
6 + 2 + 1 = 9 units
>> NEXT : continued Part 2: continued
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น