วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 23: Exercise's Effects on Other Conditions

Nov. 23, 2013

จากบทความฉบับก่อนหน้านี้...
ได้กล่าวเอาไว้ว่า  การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
สามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคในระบบเส้นเลือด และหัวใจ 
ลดการสูญเสียมวลกระดูก  ช่วยให้ร่างการสามารถใช้พลังงานซึ่งเป็นอาหาร
ที่คนเรารับประทานเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   นอกนั้นมันยัง
ช่วยให้คงไว้ซึ่งน้ำหนักตัวให้เป็นปกติ  โดยการเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ
ภายในร่างกาย และลดความอยากรับประทานอาหารลง

นั้นคือประเดินที่ได้กล่าวไปแล้ว....

เราลองมาดูต่อไปว่า การออกกำลังกายยังก่อให้เกิดผลอะไรอีกบ้าง:

ผลของการออกกำลังกายต่อมะเร็ง
(Effect of Exercise on Cancer)

มีการศึกษาจำนวนไม่น้อย บ่งชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเต้านม, ลำไส้ใหญ่,
และมะเร็งของต่อมลูกหมาก

ผลของการศึกษาจำนวนมาก เช่น The Nurses Health Study  และ
The American Cancer Society’s Cancer Prevention Study II...
ได้ยืนยันว่า การออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงจากมะเร็งลำไส้ใหญ่
ได่ถึง 50 %

ในคนที่เป็นมะเร็งลำไสใหญ่ (CA colon)...
การออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งซ้ำขึ้นมาอีก
(recurrence) ได้

การออกกำลังกายยังสามารถความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในสตรี
ที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือน  และวัยหลังหมดประจำเดือน
ได้ถึง 30 %

การออกกำลังกายยังมีประโยชน์ต่อคนไข้ที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
อีกด้วย โดยการออกกำลังกายด้วยวิธี “แอโรบิค” และการยกน้ำหนัก
(resistance training) สามารถลดอาการเหนื่อยล้า (fatigue) ในคน
ไข้ที่ได้รับ “เคมีบำบัด” หรือ “การฉายแสงรังษี” เพื่อรักษามะเร็ง
ซึ่งมีอาการเหนื่อยล้า... มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในคนที่ได้รับการรักษาดัง
กล่าว....

นอกจากนั้น...
การคนที่เป็นมะเร็ง  และได้รับการรักษาจนครบทุกอย่างแล้ว
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ย่อมทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และ
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข...มีคุณภาพชีวิตที่ดี่ขึ้น

ผลการออกกำลังกายต่อระบบทางเดินของอาหาร
(Effects on the Gastrointestinal Tract)

จากรายงานกล่าวว่า...
นักกิฬาที่ฝึกความอดทน มักจะมีปัญหาด้านกระเพาะอาหาร  เป็นต้นว่า
เกิดมีอาการท้องอืด (bloating), ท้องร่วง (diarrhea), มีลมในท้อง
โดยเกิดขึ้นได้ในทุกเมื่อแม้กระทั้งเวลาพักผ่อน

อย่างไรก็ตาม  การออกกำลังกายด้วยการออกแรงระดับพอประมาณ
(moderate regular exercise) สามารภลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ
ผิดปกติของลำไส้ลงได้ เป็นต้นว่า “กลุ่มอาการของลำไส้แปรปรวน”,
อาหารไม่ย่อย ...

มีรายงานอีกว่า...
ในคนสูงอายุ การออกกำลังกายด้วยแรงระดับพอประมาณ สามารถลด
ความเสี่ยงต่อการเกิดมีเลือดออก (gastrointestinal bleeding) ได้


<< PREV    NEXT >>   Part 24: Effects on Neurological Diseases and Mental Decline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น