วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 15 :Some Precautions for People with Diabetes Who Exercise

Nov. 23, 2013

การออกกำลังกายมีประโยชน์ในด้านการควบคุมเบาหวานจริง...
แต่ในขณะเดียวกัน มันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วย
ดังนั้น คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง และสอง (T1DM &T2DM)
ควรให้ความระมัดระวังในข้อมูลต่อไปนี้:

 เนื่องจากคนเป็นโรคเบาหวาน ต่างมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
สูงกว่าคนทั่วไป (โดยเฉลี่ย) ดังนั้น ก่อนเริ่มออกกำลังกายถือ
เป็นเรื่องจำเป็นต้องตรวจเช็คร่างกายก่อน

ในคนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายเลยในชีวิต (sedentary..)
หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ ควรเริ่มการออกกำลังกายด้วยแรงใน
ระดับต่ำ ซึ่งแพทย์อาจเป็นคนช้วยวางโปรแกรมให้แก่ท่านได้

 การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก หรือ strength training
หรือการออกกำลังกายด้วยการรับแรงกระแทกสูง (high-impact
Exercise) ไม่ควรนำมาใช้ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน
ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ เพราะการออกกำลังกายชนิดดังกล่าว
สามารถก่อให้เส้นเลือดที่อ่อนแออยู่แล้ว ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะเส้นเลือดของจอภาพของลูกตา
ซึ่งเป็นโรค diabetic retinopathy

ส่วน high impact exercise เช่นการกระโดด..หรือวิ่งเร็ว
อาจทำลายเส้นเลือดของเท้าได้

ในรายที่ได้ยาฉีดอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ควรให้ความระมัดระวังก่อนเริ่มออกกำลังกาย...



Credit : http://www.nytimes.com/

 ในระหว่างที่มีการออกกำลังกาย เราจะพบว่า ระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดจะสวิงขึ้นลงอย่างมากมาย ดังนั้นในคนที่เป็น
โรคเบาหวานควรทำการตรวขเช็คดูระดับน้ำตาลด้วยตนเองทั้ง
ก่อน, ระหว่าง และหลังการออกำลังกายอย่างระมัดระวัง

 คนเป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย...ถ้าพบว่าระดับน้ำ
ตาลในกระแสเลือดสูงเกิน 300 mg/dL  หรือต่ำกว่า 100 mg/dL
เหตุผล...

ในกรณีแรก น้ำตาลในกระแสเลือดสูง . 300 mg/dL บอกให้รู้ว่า
ท่านไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ (uncontrol DM)
 ซึ่งในกรณีดังกล่าว หากท่านยังขืนออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกาย
ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย  ด้วยการมีน้ำตาลถูกปล่อยออกสู่
กระแสโลหิตในปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างอัตโนมัติ (hyperglycemia)
แต่ร่างกายก็ไม่สามารถใช้น้ำตาลอยู่ดี...

ในเมื่อร่างกายของของท่านไม่สามารถใช้น้ำตาลเพื่อให้เป็นพลังงาน
สำหรับใช้ในการวิ่งได้   ร่างกายจะหันไปใช้พลังงานจากที่อื่นแทน...
นั้นคือไขมันที่สะสมในร่างกาย   ผลที่ตามมา จะทำให้มีระดับของ ketone
 ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น  และทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
 (diabetic ketoacidosis) ได้....อันตราย!

สำหรับในกรณีที่สอง ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dL หากท่านออกกำลังกาย...
มีหวังเกิดช๊อคจากภาวะน้ำตาลลดต่ำลง(hypoglycemia)....อันตรายอีกเช่นกัน

 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด hypoglycemia (ระดับน้ำตาลในเลือด
ลดต่ำ) การฉีดยาอินซูลิน ควรทำการฉีดในตำแหน่งที่อยู่ห่าง
ไกลจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกกำลังกาย

 ในคนทีเป็นโรคเบาหวานควรดื่มน้ำมากๆ ...
ก่อนออกกำลังกายควรหลีกเลี่ยงแอลกอฮอลล์ (ไม่ดื่ม) และ
หลีกยาบางชนิด เช่น beta blockers เพราะมันสามารถเพิ่มความ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia) ได้

 ในนักกิฬา ที่ต้องพึงพา “อินซูลิน” อาจจำเป็นต้องลดขนาดของ
อินซูลินลง และก่อนออกกำลังกาย ควรรับทานคาร์โบฮัยเดรตเพิ่มขึ้น


<< PREV         NEXT >> Part 16:Exercise's Effects on Bones and Muscles

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น