วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 20 : Exercise's Effects on the Lungs

Nov. 29, 2013

ในคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (Chronic lung problems)...
จะเจออุปสรรคดวยการหายใจลำบากในทุกครั้งที่มีการออกกำลังกาย 
โดยเกิดมีอาการหายใจหอบหายใจไม่ทัน (shortness of breath) 
ไม่เพียงเท่านั้น ประมาณหนึ่งในสามของคนดังกล่าว จะมีอาการ
กล้ามเนื้อเมื่อยล้าอีกด้วย

ในการออกกำลังกาย...
แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การทำงนของปอดทำงานได้ดีขึ้นก็ตาม
แต่การอออกกำลังกายสามารถช่วยคนไข้จำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อของแขน-ขาใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้น  จึงเป็นผลทำให้
คนไข้มีความทนทานดีขึ้น และลดอาการการหายใจลำบากลง

ผลจากการออกกำลังกายต่อการอักเสบของทางเดินหายใจ
(Colds & Flu)

ในคนที่เป็นหวัด (cold)...
การออกกำลังกายจะไม่มีผลต่อความรุนแรง (severity) และระยะเวลาของการ
ดำเนินโรคหวัด (duration)

ในขณะที่มีไข้, มีอาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆ, หรือมีอาการอื่น ๆ ในขณะที่เป็นหวัด
เป็นการบ่งบอกให้ทราบว่า มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส...
จึงไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่อาการดังกล่าว

ผลของการออกกำลังต่อโรคหืด
(Effects of Exercise on Asthma)

คนที่เป็นโรคหืด (asthma) ผู้ซึ่งมีความพอใจในการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง
ควรพิจารณาวิ่งในบริเวณบ้าน  ให้หลีกเลี่ยงฝุ่น  หรือมลพิษภาวะ
 และอากาศเย็นในช่วงฤดูหนาว  เพราะมันสามารถทำให้เกิดมีอาการขึ้นได้

การบริหารร่างกายด้วยการว่ายน้ำ จะเป็นประโยชน์สำหรับคนเป็นโรคหืด
การเล่นโยคะ (Yoga practice) ด้วยการยืดเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ,
ฝึกหายใจให้ปอดขยาย, และปฏิบัติธรรมกรรมฐาน อาจเป็นประโยชน์ได้
เช่น สามารถลดความเครียด รวมไปถึงการทำให้ทางเดินหายใจขยายตัว

Exercise-Induced Asthma (EIA) :


ในทุกครั้งที่มีการออกกำลังกาย จะกระตุ้นให้เกิดมีอาการไอ, หอบหืด,
หายใจมีเสียงวีดหวือเกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดได้บ่อยในเด็ก และคนหนุ่ม-สาว
ที่ออกกำลังกายในที่มีอาการเย็น และแห้ง (cold dry air)

เราจะเห็นว่า...
EIA จะเกิดขึ้นในขณะที่มีการออกกำลังกายเท่านั้น
ซึ่งแตกต่างจากโรคหืดหอบที่เกิดจากแพ้ (allergic asthma)
โดยที่ EIA ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของปอดในระยะยาว และไม่
จำเป็นต้องได้รับการรักษาในระยะยาวอีกด้วย

ในการออกกำลังกาย...
การอุ่นเครือง (warm up) และลงท้ายด้วยการทำให้เย็นลง (cool down)
ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งจำเป็นต้องมี... ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย
ประเภทใด และอาจช่วยไม่ให้เกิดภาวะ exercise-induced asthma

เงื่อนงำสำหรับลดภาวะ EIA ...
คนที่เป็น EIA จะเกิดขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้น
ในสภาพที่มีอากาศเย็น และแห้งเท่านั้น

ข้อแนะนำต่อไปนี้ สามารถลดอาการหืดหอบที่เกิดจากการออกกำลัง
กาย:

o ในคนที่เป็นโรคหืดหอบเรื้อรัง (chronic asthma)จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ
ของแพทย์ ด้วยการรับทานยาในระยะยาว โดยเฉพาะยาพ่น
(inhaled corticosteroids)

o Warm-up และ Cool-down เป็นสิ่งจำเป็นต่อการออกกำลังทุกชนิด
รวมทั้งคนไข้ที่เป็น EIA  ซึ่งควรออกกำลังกายในช่วงสั้น ๆ
ไม่ควรออกกำลังกายในระยะยาว  เช่นวิ่งในระยะยาว หรือปั่นจักรยาน
 และในช่วงฤดูหนาว ให้ออกกำลังกายในบริเวณบ้าน
 และการออกกำลังกายที่เหมาะที่สุดสำหรับคนเป็น EIA คือควรบริหารด้วยการว่ายน้ำ...

o เมื่อมีการออกกำลังกายในอากาศเย็น ควรหายใจผ่านทางจมูก
เพื่อให้อาการอุ่นขึ้น

โดยสรุป โรคหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย (EIA) จะมีความแตกต่าง
จากโรคหืดชนิด allergic asthma  ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาในระยะยาว
และในคนที่เป็นโรคหืดโดยตรง สามารถควบคุมอาการหืดหอบได้ด้วย
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการ โดยมีการ warm –up และ cool down

<< PREV    NEXT >> Part 21: Effects of Exercise on Emphysema

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น