Oct. 2, 2013
ในระหว่างทำการผ่าตัดให้แก่คนไข้
ผู้เขียน ได้มีโอกาสสัมผัส (ตา &,มือ) เนื้อปอดของคนไข้ ซึ่งทำหน้า
ที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์...เห็นแล้ว นึกถึงปอด
ของตนเอง (ซึ่งเรามองไม่เห็น) คงไม่แตกต่างกันเท่าใดนักว่า...
มันสกปกติอะไรเช่นนั้น... ผ้าขี้ลิ้วเช็ดพื้นที่ไม่ได้ล้าง ว่าสกปกติแล้ว
ปอดของคนไข้ที่ไม่เกี่ยวกับโรคปอดเลย...มันน่าขยะแขยงอะไรเช่นนั้น ?
เพื่อนแพทย์ที่ช่วยผ่าตัด แสดงความเห็นได้อย่างน่าฟังว่า...
ในเมื่อเราใช้ปอดทุกวันเป็นเวลานาน ไม่เคยมีโอกาสได้ทำความสอาด
แม้แต่ครั้งเดียว สิ่งสกปกติทั้งหลายที่ผ่านเข้าสู่ปอด มันก็สะสมเพิ่มขึ้น
ทุกวินาที....มันย่อมเป็นเช่นนั้น (สกปกติ) เอง
Credit : www.healthtap.com
เมื่อเห็นคนเป็นโรคถุงลมโป่งพองเข้า...
ภาพต่างๆ ทีได้เคยเห็นในห้องผ่าตัด มันเป็นภาพที่ชัดเจนมากว่า
ปอดของเขาคงมีสภาพที่กล่าวมา พร้อมๆ กับมีอะไรบางอย่างเสริม
เข้าไปอีก จึงเป็นเหตุให้เขามีอาการอย่างที่เห็น (ไอ & หอบ)
ในคนเป็นโรคถุงลมโป่งพอง (COPD)เราจะพบความผิดปกติที่ถุงลม
เล็ก ๆ เรียก alveoli ภายในเนื้อปอด...
ปกติ เมื่อหายใจเข้าไปในปอด ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศจะผ่านหลอด
ลม ผ่านไปตามแขนงเล็ก ๆ จนกระทั้งถึงถุงลมเล็ก (air sacs) และทำ
ให้ถุงดังกล่าวพองตัวขึ้น จากนั้น ออกซิเจนจะผ่านผนังของถุงลมเข้า
สู่กระแสเลือด และเป็นหน้าที่ของเม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปให้
อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และในขณะเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์
จากกระแสเลือดจะถูกขับผ่านถุงลมเล็กดังกล่าว และขับออกทางลม
หายใจไป
Credit : ww.spiriva.com
ถ้าท่านเป็นโรคถุงลมโป่งพอง...
ถุงลมโป่งพอง และทางเดินลมหายใจไม่สามารถยืดตัว และแฟบตัวลง
ทำให้ปอดของท่านเป็นที่ว่างปล่าว (empty spaces) และทางเดินของ
ลมหายใจจะแคบลง เป็นเหตุให้ลมผ่านเข้าสู่ปอดได้ยากขึ้น
และทำให้ขับคาร์บอนไดออกไซด์ถูกขับออกได้ลำบากขึ้นเช่นเดียวกัน
อาการแรกของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema)...
ในระยะแรก จะทำให้ท่านมีอาการหายใจลำบาก- หอบ เป็นการหายใจ
ถี่ และสั้น (shortness of breath) ซึ่งเป็นอาการที่ค่อยเป็นค่อยเป็น
อย่างช้า ๆ จนแทบไม่เป็นสังเกตุ
เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลาแรมปี...
โรคปอดอุดกั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยางต่อเนื่อง
ซึ่งจะทำให้ท่านได้ตระหนักรู้ว่า การหายใจของนเองยากขึ้น
หรือท่านมีความรู้สึกว่า การหายใจจะแย่ลง ๆ โดยมีอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
<< PREV NEXT >> :โรคปอดอุดกั้นเรื่อรัง (COPD) P. 3: Chronic Bronchitis
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น