วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อคนสูงอายุเกิดเป็นโรคมะเร็ง (Cancer) P5: Changes in Thinking or Memory

Aug. 30, 2013


คนที่เป็นมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคม่ีบำบัด ...
มักจะมีความรู้สึก “มีนงง” หรือมีความรู้สึก“คลุมเครือ” หรือมีปัญหา
ด้านความจำ (memory problems)  ภาวะดังกล่าว  เรียกว่า  "chemo brain"

แทนที่จะเรียกว่า chemo brqain"""
เรายังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  mild cognitive impairment
ทั้งนี้เพราะ  ผลจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด  จะทำให้ความบกพร่องใน
การรับรู้  ซึ่งเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น  และไม่มีความรุนแรงแต่อย่างใด
หากเกิดขึ้นกับท่านแล้ว....ขอให้ทราบว่า  มันหายได้เอง

อย่างไรก็ตาม มีคนสูงอายุบางรายที่มีความรู้ความคิดคลุมเครือ อาจ
ทำให้เขาทำงานในชีวิตประจำวันได้ยากหน่อย เช่น มีปัญหาในการตรวจสอบดู
บัญชีการใช้จ่าย  หรือในขณะที่ซื้อของตามร้านซูพเปอรมาเกต

อาจมีคนสูงอายุบางคนราย  อาจมีปัญหาต่อไปนี้:

 ลืมสิ่งของที่เคยใช้เป็นประจำ เช่น ชื่อ, วัน, คำพูด หรือเหตุ
การณ์บางอย่าง
 ไม่มีสมาธิ
 ไม่สามารถวางแผนการทำงาน, ทำงานไม่เป็นระบบ
 มีปฏิกิริยาตอบสนองได้ช้า
 ต้องใช้เวลาเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เกิดภาวะตื่นตกใจได้
ซึ่งท่านสามารถสังเกตุพบเห็นมันได้ด้วยตัวของท่านเอง
ในบางครั้ง แพทย์ผู้ดูแลรักษาท่านอาจไม่ใส่ใจกับความรู้สึกของท่าน
และโยนความผิดไปยังอายุของท่าน ที่ “แก่” ขึ้น

เพื่อเป็นการช่วยให้ท่านสามารถจัดการกับภาวะความบกพร่องในการรับรู้
เพียงเล็กน้อย  หรือ  mild cognitive impairment   The American Cancer Society
ได้ให้คำแนะนำดังต่อไปนี้:

 ให้วางแผนการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน  ว่าแต่ละวันท่านจะทำอะไำบ้าง
 ให้ปฏิบัติตามรายการ (lists) ที่ท่านได้วางไว้
เช่น การดูภาพยนต์ หรือเวลาในการอ่านหนังสือ
 ทำรายการให้ชัดเจน  และอ่านง่าย...เช่น สถานที่ และเบอร์โทรศัพท์
 ฝึกสมองด้วยการอ่านหนังสือ  หรือฝึกการจำ
 ให้เวลานอนหลับให้มากพอ
 ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
 รับทานอาหารให้ครบทุกหมู่เหล่า
 พยายามทำงานในกิจประจำวันให้เหมือนเดิม โดยทำตามที่ระบุไว้ในรายการ
 ให้ทำงานทีละอย่างจนเสร็จ   อย่าทำหลายอย่างพร้อมกัน
 ขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ
 ให้บันทึกปัญหาด้านความนึกคิด
ซึ่งท่านสามารถรายงานให้แพทย์ได้ทราบในการนัดพบครั้งต่อไป
 บันทึกปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านสามารถตรวจเช็คกับแพทย์ในครั้งต่อไป


<< PREV.    NEXT >>   P. 6   :  Weight Loss and Loss of Appetite

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น