วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคสมองเสื่อมในคนสูงอายุ P. 6 Symptoms of Alzheimer’s Disease and Vascular Dementia

Oct. 2013

ทั้งโรค  Alzheimer’s และ  Vacular Dementia...
ต่างเป็นโรคซึ่งเลวลงอย่างช้าๆด้วยกัน โดยมีการทำลายความจำ (memory)  
และการทำงานที่สำคัญของสมองอย่างอื่นๆ ไป
รวมไปถึงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ และพฤติกรรม
ซึ่งจะเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป

ตามเป็นจริง อาการของโรค Alzheimer’s จะเลวลงอย่างช้า ๆ และมีความ
แตกต่างกันไป บางคนมีอาการเลวลงมา ส่วนอีกคนเลวลงนิดเดียว

สำหรับอาการของคนเป็น vascular dementia...
อาการที่เลวลงจะขึ้ตรงกับ จำนวนครั้งของการขาดเลือดในรูป mini-stroke
และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด

อาการความจำเสื่อม มักเป็นอาการแรก และเป็นอาการที่สังเกตุพบได้ง่าย
ของคนเป็นโรค Alzheimer’s

ส่วนอาการของ Vascular Dementia อาการที่เกิดจจะขึ้นกับตำแหน่งของ
เส้นเลือดอุดตัน นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า นอกเหนือจากการเกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมอง, อารมณื และพฤติกรรมแล้ว เรายัง
พบว่า การเกิด mini-stroke อาจทำให้คนตาบอด, หูหนวก, หรืออัมพาติ
ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายได้

อาการที่พบบ่อยในโรค Alzheimer’s disease และ vascular dementia
นอกจากอาการสับสนที่เพิ่มมากขึ้นกล้ว คนไข้ยังจะมีอาการต่อไปนี้เพิ่ม
มากขึ้นด้วย:

 ความจำ (remembering):
ในคนที่เป็นโรค Alzheimer’s ระยะแรกๆ อาจมีความลำบากในการจำ
เชื่อคน, ลืมคำพูด, หรือไม่รู้ว่าวางของไว้ที่ใหน โดยเกิดขึ้นเป็นบาง
ครั้งบางคราว
ส่วนอาการที่เกิดกับ vascular dementia อาจไม่สามารถจำคนที่อยู่
ใกล้ชิดได้เลย
 ไม่มีสมาธิ
 ไม่สามารจำสิ่งของได้
 คนที่เป็น Alzheimer’s ใน
ระยะสุดท้าย อาจสูญเสียความสามารถในการพูดจา หรือเป็นได้แต่
ใช้คำซ้ำ ๆ กัน

 การตัดสินใจ, วางแผนการณ์ และการจัดระบบความคิดเห็นเสียไป
 ไม่สามารถแยกสิ่งที่เคยรู้มาก่อนกับสิ่งที่พบใหม่
 มีโอกาสหกล้มในขณะเดินเหิน ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
 ไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจที่เคยทำมาก่อนได้ เป็นต้นว่า การปรุงอา
หาร, รับทานยา, แต่งตัว, อาบน้ำ, และสุดท้ายไม่สามารถ รับทาน
อาการได้ด้วยตนเอง
 ไม่สามารถควยคุมเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระ
อาการที่เกิดพร้อมๆ กับความผิดปกติทางด้านสมองแล้ว...
คนที่เป็นโรค Alzheimer’s และโรค vascular dementia อาจแสดงออก
ทางพฤติกรรมที่เปลียนแปลงไป :

 มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์. กระวนกระวาย (agitate),
 วิตกกังล (anxious), หรือซึมเศร้า (depress)
 แสดงออกถึงภาวะไร้เรี่ยวแรง (drained of energy)
 พฤตกรรมเปล่ยแปงไป, มีความก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะ สม,
 พฤติกรรมกาวร้าวมีได้ตั้งแต่ การใช้คำพูดสาบแซ่ง จนถึงขั้นใช้กำลัง
 ร่อนเร่โดยไร้จุดหมาย
 ประสาทหลอน (hallucination) - มองเห็น หรือได้ยินเสียงในสิ่งที่ไม่เป็นจริง 
 หรือการเข้าใจผิด ๆ (delusion) เช่นมีความเชื่อว่า สมาชิคในสครอบครัว,
 เพื่อน หรือแม้กระทั้งแพทย์ผู้ทำการรักษา  กำลังพยายามทำร้ายเขา 
 หรือขโมยของ ๆ เขา

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว สามารถทำให้ทั้งคนสูงอายุที่เป็นโรค
สมองเสื่อม และผู้ดูแลรักษามี่อารมณ์เสียได้มากกว่าอากรอื่น ๆ ที่เกิดในโรค
สมองเสื่อม (เช่น ขี้ลืม)

เนื่องจากคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีความรุนแรง หรือเป็นมากๆ...
ไม่สามารถข้ามถนนเองได้ และอาจไม่สามารถกลับบ้านได้เองทั้งๆ ที่อยู่ใน
บริเวณระแวกบ้านเดียวกัน....
จึงจำเป็นต้องระวังอย่าให้เขาต้องร่อนเร่เป็นอันขาด
โดยทั่วไป คนเป็นโรคสมองเสื่อม ยิ่งมีอาการรุนแรงมากเท่าใด มันบ่ง
บอกให้เราได้ทราบว่า อายุที่เหลือของเขายิ่งสั้นลงเท่าน้น...

การร่อนเร่โดยไร้จุดหมาย, หกล้ม, ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ,
ละมีพฤติกรรมเปลี่ยน เช่น กระวนกระวาย (agitate), ประสาทหลอน...
ต่างมีความสัมพันธฺกับอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ที่สั้น
ซึ่งผู้ดูแลนอกจากจะทราบแล้ว...ต้องทำใจด้วย!



<< PREV      NEXT >> โรคสมองเสื่อมในคนสูงอายุ P.7: Diagnosis & Tests

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น