วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 14: Exercise's Effects on Diabetes

Nov. 23, 2013

สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
มีการยืนยันว่า   การออกกำลังกายด้วยวิธี “แอโรบิค”
สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
โดยลดระดับน้ำตางในกระแสเลือด, ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมน

อินซูลินได้ดีขึ้น, และทำให้หัวใจมีความแข็งแรงขึ้น



Strengthen training  เป็นการออกกำลังกายเพื่อความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ
บางคร้ง เเขาจะเรียกว่า  weight  training หรือ weight lifting หรือ resistance
exercise เป็นการออกกำลังกาย  ซึ่งนอกจากจะสร้างความแข็งให้เกิดขึ้นแล้ว
ยังสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ให้เพิ่มขึ้น  และลดไขมันลงได้  และ
อาจมีประโยชน์สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานได้

คนที่เป็นโรคบเบาหวาน ผู้ซึ่งเริ่มที่จะ ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายด้วย
แรงที่เพิ่มมากขึ้น (vigorous exercise) ควรได้รับการตรวจสภาพของตา (eye exam.)
และเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันเท้าของตนเอง  ตลอดรวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่อ
โรคหัวใจด้วย

ในคนเป็นโรคเบาหวานประเภทนหนึ่ง (T1DM)...
เราจะพบว่า   การออกกำลังกายตามรูปแบบแอโรคบิค จะมีประโยชน์สำหรับคน
เป็นโรคเบาหวานชนิดดังกล่าว โดยการทำให้ร่างกายเพิ่มการตอบสนอง
ต่ออินซูลิน,  ลดระดับความดันโลหิต, ปรับระดับไขมันในเลือดให้ลงสู่ระดับปกติ,
และลดไขมันที่สะสมในร่างกาย

ในคนที่เป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM)...
พบว่า การบริหารตามแบบแอโรคบิค และการยกน้ำหนัก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทำร่วมกัน  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี

มีการยืนยันว่า   การออกกำลังกายตามที่กล่าวได้มากกว่า 150 นาที /ทอาทิตย์
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี   และมีบางคนกล่าวว่า แม้ว่าจะออกกำลังการ
ได้น้อยกว่านั้น ก็ยังควบคุมระดับน้ำตาลได้อยู่ดี....

เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของคนเป็นเบาหวาน...
The American Diabetes Association ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า:
ควรออกกำลังกายด้วยแรงในระดับพอประมาณ... 150 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์
(โดยให้หัวเต้นเริ้วขึ้นในขณะออกกำลังกาย 50 % ของ maximum heart rate) 
หรือ ออกกำลังกายด้วยการออกแรงสูง (vigorous exercise) ตามรูปแบบ “แอโรบิค”
(หัวใจเต้นเร็วขึ้นเป็น 70 % maximum heart rate)

การยกน้ำหนัก มีชื่อให้เราเรียกมากมาย เช่น Strength training หรือ Resistance exercise
หรือ weight lifting...นอกจากจะทำให้มีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และลดไขมันที่สะสม
ในร่างกายลงแล้ว  ยังมีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย

หน่วยงานที่มีชื่อว่า The American Diabetes Association ได้แนะนำเอา
ไว้ว่า....การยกน้ำหนัก อาทิตย์ละสามครั้ง วันหนึ่งทำสามเซท แต่ละเซท
ให้ยกน้ำหนัก 8 – 10 ครั้ง  ซึ่งจะต้องครอบคลุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ทุกกลุ่ม
โดยไม่ต้องถึงกับทำให้เหนื่อยล้า


<< PREV        NEXT >> Part 15: Some Precautions for People with Diabetes Who Exercise

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น