วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 19: Effect of Exercise on Back Pain

Nov. 28, 2013

ผลของการออกกำลังกายต่ออาการปวดหลัง
(Effect of Exercise on Back Pain)

ผลของการดำเนินชีวิตอยู่กับการนั่งโต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่.
เราจะพบว่า คนที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นประจำ มักจะมีความเสี่ยงต่อ
การเกิดอาการปวดหลัง โดยเฉพาะเมื่อเขาเหล่านั้นต้องออกแรงเกี่ยวกับงาน
ที่ไม่เคยทำมาก่อน เป็นต้นว่า การขุดดิน, หรือแม้กระทั้งการดันวัตถุสิ่งของหนัก ๆ

การที่คนเราไม่ออกกำลังกายเลย มักจะลงเอยด้วยภาวะต่างๆ ต่อไปนี้
ซึ่งเป็นต้นเหตุลองการปวดหลัง:

o กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น (muscle inflexibilty)
o กล้ามเนื้อท้องอ่อนแอ (weak stomack muscles)
o กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ ( weak back muscles)
o ความอ้วน ร่วมกับอาชีพนั่งโต๊ะ

ผลประโยชน์ที่พึงเกิดกับโรคปวดหลังเรื้อรัง:

ในคนที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน และรุนแรงไม่ควรออกกำลังกาย

นั้นเป็นหลักที่เรา...ปฏิบัติกัน
  
ในการออกกำลังกายย่อมมีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง
โดยมีผลที่ได้จากการศึกษาชิ้นหนึ่ง กล่าวว่า คนที่มีอาการปวดหลังมานาน
18 เดือน ได้รับการบริหารร่างกายตามที่กำหนด วันละหนึ่งชั่วโมง เป็น
เวลา 4 สัปดาห์ สามารถทำให้พวกเขามีอาการดีขึ้น เมื่อเที่ยกับกลุ่มที่ไม่
ได้บริหารร่างกาย

การออกกำลังกายบางอย่าง ถูกนำมาใช้ในการป้องกัน หรือการรักษา
อาการปวดหลังเรื้อรังได้  เป็นต้นว่า:

o Low-impact Aerobic Exercise:

เป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อ-ระดูกต่ำ เช่น การว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน,

และการเดิน  ต่างสามารถทำให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณหน้าท้อง และสันหลังแข็งแรงขึ้น
โดยการออกกำลังกายด้วยวิะีดังกล่าว  ปรากฏว่า
ไม่ทำให้มีไปแรงกดดันในบริเวณกระดูกสันหลัง

o Lumbar Extension Strength Training:


การออกกำลังกายด้วยวิธี Lumbar extension strength training
ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่พยายาม
ทำให้กล้ามเนื้อของหน้าท้องแข็งแรง, ทำให้การกระดูกสันหลังมี
การเคลื่อนไหวดีขึ้น (mobility), สร้างความแข็งแรง (strength), 
และมีความทนนาน (endurance), ตลอดรวมไปถึงการยืดเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ 
(flexibility) ในบริเวณข้อสะโพก.(hips), และกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา  (postrior thigh)

o Yoga, Tai Chi... ร่วมกับการออกกำลังกาย Low-impact aerobic Exercise
และฝึกสมาธิ  (meditation) จะมีประโยชน์ต่อการป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง

o Flexibility Exercises:
การออกกำลังกายด้วยการยืดเส้นสาย โดยการยืดเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ
สามารถลดอาการปวดหลังเรื้อรังได้หรือไม่ยังเป็นปัญหา ?
แต่มีรายงานจากการศึกษาชิ้นหนึ่งกล่าวว่า...ถ้าไม่ทำการบริหารอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่พึงได้จากการยืดเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อจะหายไป

o ผลจากการศึกษา...พบว่า  ระหว่างอาการปวดหลัง มีความสัมพันธ์กับสภาพ
เสื่อมโทรมของกล้ามเนื้อแกนหลัง (core muscle) ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้ออก,
ท้อง, หลัง, และต้นขา  ดังนั้น การบริหารกล้ามเนื้อในกลุ่มดังกล่าวเป็นประจำ
 ย่อมเป็นประโยชน์ต่อคนที่มีอาการปวดหลัง ทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรังโดย
ไม่ต้องสงสัย
.
<< PREV   NEXT >> Part 20: Exercise's Effects on the Lungs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น