วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อเราต้องจัดการกับอินซูลิน (administration of Insulin): Part 4: Twice-daily Insulin Regimens

Nov. 18, 2013

Twice-Daily Insulin Regimens:

การให้ basal insulin แก่คนไข้สองครั้งต่อวัน  อาจเพียงพอสำหรับ
คนไข้เบาหวานประเภทสอง ผู้ซึ่งสามารถผลิตอินซูลินได้ดีอยู่

ในการฉีด basal insulin ก็เพื่อเลียนแบบอินซูลินที่ถูกผลิตได้ตาม
ธรรมชาติ  โดยเกิดขึ้นในช่วงหลังการดูดซึมอาหาร  ซึ่งสามารถกระ
ทำได้ด้วยการใช้อินซูลินออกฤทธิ์นาน (glargine หรือ Ultralente)
หรือชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง- NPH

ในการให้อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง หรือยาว สองครั้งต่อวัน
(twice-daily regimen) :

เข็มแรก  จะเป็นการฉีดก่อนอาหารเช้า (breakfast) เพื่อจัดการกับ
ระดับน้ำตาลในช่วงกลางวัน (basal glucose production) และเข็ม
ที่สองให้ฉีดในเวลานอน (bedtime) เพื่อยับยั้งการสร้างน้ำตาลโดย
ตับในตอนกลางคืน (nocturnal hepatic glucose production)

ในการให้อินซูลด้วยวิธีดังกล่าว  แม้ว่าจะไม่เหมือนธรรมชาติ (non
Physiological) ก็ตาม  แต่จะได้ผลดีกับคนเป็นเบาหวานประเภทสอง
เป็นจำนวนไม่น้อย ก็เหมาะกับคนไข้เบาหวาน  แต่ไม่เหมาะที่จะ
ใช้กับคนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) ผู้ซึ่งไม่สามารถผลิต
อินซูลินได้ (endogenous insulin deficiency)

Regular insulin สามารถผสม (mixed) กับอินซูลินออกฤทธิ์ปาน
กลาง หรือออกฤทธิ์ยาว (NPH or ultralente insulin) ใน syringe
เดียวกันได้  โดยมีจำหน่ายในรูปของ premixed combinations :
70/30 หรือ 50/50 NPH และ regular insulin

ข้อจำกัดของการรวมอินซูลินสองชนิดไว้ด้วยกัน (mixtures) คือ
เราไม่สามารถเปลี่ยนขนาดยาได้  ในบางครั้งเราอาจเพิ่ม prandial
Insulin ให้แก่คนไข้ที่พบว่า  ระดับน้ำตาลก่อนเวลาอาหารมีค่าสูง
(hyperglycemia) ซึ่งไม่สดวกต่อคนไข้เบาหวานที่ได้รับอินซูลิน
ชนิดผสม (mixture)

สำหรับคนไข้ผู้ขาดฮิร์โมนอินซูลินอย่างรุนแรง (severe insulin deficiency)
ทั้งในเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) หรือเบาหวานประเภทสอง (T2DM)
ที่เป็นมานาน...พบว่า premixed insulin ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล
ให้ลดลงสู่เป้าหมายได้

เมื่อมีการใช้อินซูลินผสมระหว่าง regular insulin และ intermediate-acting
Insulin พบว่า ฤทธิ์ของอินซูลินที่จะยาวออกไปทับซ้อนกับฤทธิ์ของอินซูลิน
เข็มที่สอง ซึ่งทำหน้าที่เป็น nocturnal basal insulin ได้...

ผลที่เกิด จะทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำ (hypoglycemia) ในช่วงเช้า
ได้  และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว  เขาแนะนำให้รับทานอาหารว่าง
ในเวลาก่อนนอน (bedtime snack)

ผลที่เกิดจากฤทธิ์ของอินซูลินผสม (regular insulin + NPH) ยังสามารถทำ
ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ (hypoglycemia) ในช่วงก่อนอาหารกลาง
วัน (lunch time) ได้เช่นกัน  ซึ่งจะไม่พบในการใช้อินซูลินผสมระหว่าง
Rapid-acting Insulin  และ intermediate insulin (NHP)  จึงไม่จำเป็นต้อง
รับทานอาหารว่างก่อนนอน (bedtime snack)...

แต่อาจจำเป็นต้องให้ bolus insulin ขนาดต่ำๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
จากอาหารว่าง (prandial insulin)


<<  PREV        NEXT  >> Part 5: Flexible Insulin Regimens

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น