วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อเราต้องจัดการกับอินซูลิน (administration of Insulin): Part 3: Once-daily insulin

Nov. 18,2013

Once-Daily Insulin

การให้อินซูลินวันละครั้ง (once daily) ปรากฏว่าไม่สัมพันธ์กับ
การหลั่งอินซูลินตามธรรมชาติ ซึ่งตามปกติจะมีการหลั่งอินซูลิน
ออกมาเพื่อควบคุม หรือจัดการกับน้ำตาลในช่วง “อดอาหาร”  
(ทั้งกลางคืน และกลางวัน) ซึ่งเรียก basal insulin  
และการหลั่งอินซูลิน เพื่อ จัดการกับระดับน้ำตาลที่ได้จากอาหาร 
ซึ่งเรียกว่า bolus insulin

อย่างไรก็ตาม การให้อินซูลินวันละครั้ง อาจมีประสิทธิภาพสำหรับ
คนไข้เบาหวานประเภทสอง (T2DM) ผู้ซึ่งไม่สามารถควบคุมระดับ
น้ำตาลได้ด้วยวิธีใช้ยาเม็ดรับทานลดระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าได้

ในกรณีเช่นนี้  คนไข้ควรได้รับยาเม็ดลดน้ำตาลต่อไป  พร้อมกับให้
เพิ่มยาฉีด “อินซูลิน” ในเวลาก่อนนอน (bedtime) เพื่อยับยั้งไม่ให้
ตับสร้างน้ำตาลในช่วงกลางคืน (hepatic nocturnal glucose)

โดยทั่วไป  เราจะให้อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (intermediate หรือ
long acting insulin) ด้วยขนาด 0.3 – 0.4 units/kg/day 

ในคนไข้ที่เป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM)...
การให้อินซูลินที่ออกฤทธิปานกลาง intermediate -NPH ในเวลานอน 
อาจทำให้คนไข้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ
แต่นาย Rosenstock และเพื่อน กล่าวว่า จากการให้ NHP ในเวลาเข้านอน
ไม่ปรากฏว่า คนไข้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia) เลย

<<  PREV       NEXT  >> Part 4: Twice-Daily Insulin Regimens


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น