การออกกำละงกายในสตรีมีครรภ์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์...
จะพบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดแท้งบุตร (micarriage), คลอดก่อนกำหนด (preterm labor), หรือทำให้ถุงน้ำคลำแตก...
Credit : http://justineswitalla.com/
ในสตรีทีตั้งครรภ์ไม่ออกกำลังกายเลย จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ
แทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น น้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่าปกติ
การออกกำลังกายของคนตั้งครรภ์ จะทำให้การเต้นของหัวใจเด็ก
เต้นเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการป้องกันเด็กได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น จึงมีการแนะนำให้สตรีที่ตั้งครรภ์ตามปกติ ควรออกกำลังกาย
อย่างน้อยสามครั้งต่ออาทิตย์ โดยต้องมีการอุ่นเครื่อง (warm up)
ด้วยความระมัดระวัง และตามด้วยการทำให้ร่างกายเย็นลง (cool
down) และควรมีการดื่มน้ำให้มากๆ
ก่อนการคลอด (prenatal) มีโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อทำให้ร่าง
กายมีความแข็งแรง ...นอกจากกล้ามเนื้อสามารถยืดหดได้เป็นอย่างดี ยัง
ทำให้ร่างกายดูดีอีกด้วย
การออกกำลังกายต่างๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ให้แก่สตรีตั้งท้อง มีดังนี้:
o การว่ายน้ำ (swimming) และการบริหารในน้ำ (water aerobics)
อาจเป็นทางเลือกสำหรับสตรีตั้งท้อง โดยเราจะเห็นว่า การบริหาร
ในน้ำจะไม่มีแรงกระแทก (no impact) เกิดขึ้นกับร่างกายแม้แต่
น้อย, การทำให้ร่างกายมีความร้อนเกิดมากไปนั้นจะไม่เกิดขึ้น,
และในการว่ายน้ำใบหน้าคว่า...จะทำให้การไหลเวียนเลือดสู่มดลูก
ได้สูงขึ้น
o การฝึกโยคะ (Yoga exercises) ภายใต้การดูแลของคนฝึกสามารถ
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ได้
การเดิน (Walking) ก็มีประดยชน์ต่อคนตั้งครรภ์เช่นกัน
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งมีชื่อเรียกกว่า Kegel exercises
ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อรอบ ๆ ช่องคลอด และท่อปัสสาวะ โดยกระทำ
อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง...การขมีบกล้ามเนื้อดังกล่าว แต่ละครั้งกินเวลา
นาน 3 วินาที และทำติดต่อกันประมาณ 12 – 15 ครั้งติดต่อกัน
ข้อควรระวังสำหรัลสตรีตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้:
o ในสตรีที่มีสุขภาพดี โดยมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อน
เมือตั้งครรภ์ อาจออกกำลังกายได้ตราบที่ได้รับคำรับรองจากแพทย์
และการออกกำลังกายนั้น ไม่ทำให้รู้สึกลำบากผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายหนักเกินไป อาจทำให้เด็กทารก
ในท้องขาดอาหารได้
o สำหรับสตรีที่ไม่ค่อยจะออกกำลังมาก่อน (sedentary)
ก่อนออกกำลงกายควรปรึกษาแพทย์ก่อน ตามกฏเกณฑ์เขาแนะนำ
ให้การออกกำลังกายโดยยึดถืออัตราการเต้นของชีพจร... 70 %
ของ maximum heart rate
o การออกกำลังกายด้วยการออกแรงสูง (vigorous exercise) อาจ
อาจทำให้การคลอดตรงเวลาตามที่กำหนดได้
อย่างไรก็ตาม คนท้องทุกรายควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่
มีแรงกระแทกสูง (high-impact), เต้นกระตุก, และสั่น เช่น การ
ออกกำลังกายด้วยการเต้นรำ (aerobic dancing) เพราะมันสามารถ
ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอได้ (ทำหน้าที่ประคองมดลูก)
o ในระหว่างกายออกกำลังกาย สตรีตั้งครรภ์ควรทำการตรวจ
เช็คอุณหภูมิ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน
(overheating) ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเด็กในมดลูกได้
สตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรอาบน้ำร้อนเป็นอันขาด เพราะมันสามารถทำ
ให้เด็กได้รับอันตราย และแท้งได้
หมายเหตุ:
การออกกำลังกายด้วยการออกแรงอย่างแรง (strnouous exercise)
อาจมีผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมของมารดา (breast breast) มากขึ้น
ซึ่งจะเกิดทันทีหลังคลอดบุตร...
<< PREV NEXT >> Part 25: Complications
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น