วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อท่านต้องคำนวนปริมาณอินซูลินที่ต้องใช้..Part 4. (Calculate insulinDose) : Basal/Background and Bolus Insulin Doses

Nov. 15, 2013

ต่อไป...ท่านจำเป็นต้องประเมินค่าของอินซูลินเพื่อจัดการกับ:

• น้ำตาลในกระแสเลือดในขณะไม่รับประทานอาหาร ซึ่งเราเรียก basal
หรือ background insulin dose

• ปริมาณของอินซูลินที่ใช้จัดการกับน้ำตาลที่ได้จากคาร์โบฮัยเดรต
(carbohydrate coverage dose) ซึ่งเรียกว่า insulin to CHO ratio
หรืออัตราส่วนระหว่างอินซูลินที่ต้องใช้ต่อคาร์โบฮัยเดรต

• ปริมาณของอินซูลินที่ต้องใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตางในเลือดที่สูง
ขี้น (high blood sugar correction dose) เรียก correction factor

จากบทความ part 1... ค่าของ basal/background insulin dose
หรือปริมาณของอินซูลินที่ใช่จัดการกับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่าง โดย
มีสูตรให้ใช้ดังนี้...


Basal insulin dose = 40% - 50 % ของปริมาณอินซูลินที่ต้องใช้ในหนึ่งวัน

สมมุติว่า ท่านมีน้ำหนัก 160 ปอนด์
จากสูตรที่กำหนดให้ เราสามารถบอกได้ว่า วันหนึ่งเราต้องได้รับ
อินซูลิน (total daily insulin dose) หรือ (TDI)
= 160 ÷ 4 = 40 units

จากค่าที่ได้ (40 units คือค่าของปริมาณอินซูลินที่ต้องใช้ในหนึ่งวัน)
เป็นค่าของอินซูลินเพื่อจัดการกับอินซูลินขณะท้องว่าง (basal insulin)
50 % ซึ่งคำนวณจากสูตร เราจะได้ค่าของ basal insulin = 20 units

อินซูลินเพื่อใช้เป็น basal insulin โดยทั่วไป เราจะใช้อิซูลินออกฤทธิ์นาน
(Long-acting insulin) เช่น glargine  หรือ  determir
หรือท่านจะใช้อินซูลินออกฤทธฺ์เร็ว เช่น Lispro หรือ Aspart
ซึ่งใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง เป็น insulin pump

The carbohydate coverage ratio:
เป็นการคำนวณค่าของปริมาณอินซูลินที่ใช้เพื่อจัดการกัยอาหารที่เป็น
คาร์โบฮัยเดรต  ซึ่งอินซูลิน 1 ยูนิตสามารถจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตได้
กี่กรัม  โดยมีสูตร "500" ให้นำไปใช้ในการคำนวณ  นั้นคือ
500 ÷ Total Daily Insulin Dose =  จำนวนกรัมของคาร์โบฮัยเดรต ซึ่งถูก
จัดการโดยอินซูลิน  1 unit

จากบทความก่อนหน้านี้...
สูตรในการหาปริมาณอินซูลินที่ร่างกายต้องใช้ตลอดวัน (Total daily insulin dose)
คำนวณได้จากสูตร  น้ำหนักตัวเป็นปอนด์ X 0.25
หรือน้ำหนักเป็น Kg X 0.55

สมมุติคนไข้โรคเบาหวานมีน้ำหนักตัว 160 ปอนด์ ...
คนไข้รายนี้จะต้องได้อินซูลินรวมยอด (TDI) = 160 x 0.25 = 40 units

จากตัวอย่างที่กำหนดให้ เราสามารถทราบว่า อินซูลิน 1 ยูนิตจะจัดการ
กับคาร์โบอัยเดรต (CHO) ได้แก่กรัม นั้นคือ:
500 ÷ total daily insulin dose (40) = 12 gm of CHO
 นั้นคือ อินซูลิน 1 unit สามารถจัดการกับ CHO 12 กรัม

ในการตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลิน 1 unit  เป็นค่าคงตัวตลอดวัน
 แต่ตามเป็นจริงแล้ว การตอบสนองของคนแต่ละคนต่ออินซูลิน
จะแตกต่างกันตามความไว (sensitivity) ของแต่ละคน

บางคนจะต่อต้านในตอนเช้า, แต่มีความไวต่ออินซูลินในตอนเที่ยง
วัน...ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับอัตราส่วนของอินซูลิน ต่อ CHO
ตามมื้อของการรับทานอาหาร (mealtime) โดยที่ปริมาณของ
Basal insulin ยังคงที่ ( 20 units):

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของอินซูลินต่อ CHO ในอาหารเช้าอาจ
เป็น 1 : 8 กรัม อาหารเที่ยงอาจเป็น 1 : 15 กรัม, และอาหารเย็น
เป็น 1 : 12 กรัม

เราจะเห็นว่า อัตราส่วนของอินซูลิน ต่ออาหารคาร์โบอัยเดรต อาจ
มีความแตกต่างในระหว่างกลางวัน

<< PREV        NEXT >> Part 5: The high blood sugar correction factor:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น