วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานที่เรารู้จัก (Diabetes) Part 1 :Basic Facts & Information

Nov.12, 2013

What is Diabetes?

โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น...

ซึ่งเกิดขึ้นเพราะร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลิน (T1DM) หรือ
เป็นเพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (T2DM)

เมื่อร่างกายรับอาหาร...
มันจะเปลี่ยนอาหารส่วนใหญ่เป็นน้ำตาล (glucose)
ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เซลล์ภายในร่างกายของคนเราใช้เป็นพลังงาน
ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย “อินซูลิน” เป็นตัวทำหน้าที่ให้น้ำตาลเข้าสู่เซลล์
ขณะเดียวกัน  อินซูลินยังทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลให้เป็นปกติอีกด้วย

เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายของคนเราสร้างอินซูลินได้น้อย หรือร่างกาย
ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน  จะเป็นเหตุให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้
ตามปกติ ....น้ำตาลต้องเหลือค้างอยู่ในกระแสเลือด...และ
เป็นพิษต่อร่างกายต่อไป

The Most Common Types of Diabetes
โรคเบาหวานที่เรารู้จัก มีสองชนิดด้วยกัน
นั้นคือ เบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) และเบาหวานประเภทสอง (T2DM)

เบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM)

ในคนทีเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง...
พบว่า เซลล์ในตับอ่อน  ซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินถูกทำลายไป เป็นเหตุให้
ร่างกายไม่สามารถอินซูลินได้  นั้นคือเหตุผลที่ว่า
ทำไมคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการฉีดอินซูลิน
(insulin injection)   หรืออินซูลินปั้มอย่างต่อเนื่อง (insulin Pump)
เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ส่วนใหญ่เบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM) จะเกิดในในเด็ก หรือคนหนุ่ม
 แต่มันสามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกอายุ โดยเราไม่สามารถป้องกัน
ไม่ให้มันเกิดขึ้นได้เลย   ซึ่งเราจะพบได้ประมาณ 5 – 10 %

เบาหวานประเภทสอง (T2DM)

ในเบาหวานประเภทสอง...
ตับอ่อนของท่านไม่สามารถผลิตได้โอร์โมนได้ในปริมาณที่มากพอ
หรือเซลล์ของท่านไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม
หรือ ร่างกายเกิดการต่อต้านอินซูลิน (insulin resistance)

เราจะพบว่า คนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะเมื่อคนเราแก่ตัวขึ้น  เซลล์ในร่างกายของคนสูงอายุ
รับเอาน้ำตาลจากกระแสเลือดได้น้อย
นอกเหนือจากนั้น เมื่อปล่อยให้มีมีการปล่อยให้ตนเองน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็๋นเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น

คนส่วนใหญ่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานประเภทสองได้
โดยรับทานอาหารที่มีสุขภาพ (healthy diet)
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

>> NEXT : Part 2 : What are Pre-diabetes and Metabolic
Syndrome?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น