วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 12: Effects of Exercise on Stroke

Nov. 23, 2013

Effects of Exercise on Stroke

ได้กล่าวมาแล้วว่า...
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้น นอกจากจะป้องกันไม่ให้เกิด
โรคหัวใจแล้ว ยังสามาระทำให้โรคหัวใจที่เกิดชขึ้นแล้วดีขึ้นได้
โดยไม่เป็นที่สงสัย

แต่ประโยชน์ที่พึงเกิดกับสมองของคนเราด้วยการป้องกันไม่ให้เกิด
ภาวะสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด หรือที่เรียกว่า stroke นั้น
จากหลักฐานบอกว่าไม่ค่อยเด่นชัดเหมือนกันประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับ
หัวใจเลย....

เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังปรากฏว่า มหายสำนักยืนยันว่า  การออกกำลังกายยัง
มีประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มออกกลังกาย...
ท่านควรได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน

Exercise Programs for High-Risk Individuals

ท่านใดที่มีโรคหัวใจ หรือมีควมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือ
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด
(stroke) ควรปรึกษแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจสามารถบริหารร่างกายได้อย่างปลอด
ภัย ตราบเท่าที่เขาได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นการล่วงหน้า 
โดยมีบางรายจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า
ใครจะเกิดมีปัญหาด้านสุขภาพในขณะออกกำลังกาย

ดังนั้น คนที่มีควมเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพ จำเป็นต้องระมัดระวัง
มั่นสังเกตุอาการต่างๆ ซึ่งเป็นอาการเตือน (warning sign)
ให้ทราบถึงภาวะแทรกซ้นที่น่ากลัว กำลังจะเกิดในขณะออกกำลังกาย

บางคนเชื่อว่า ท่านใดที่มีอายุมากกว่า 40...
ไม่ว่าท่านจะมีสุขภาพดี หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือไม่
ควรได้รับการตรวจร่างกายให้ครบถ้วนทุกระบบก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย
หรือเพิ่มแรงในการบริหารร่างกาย

แพทย์บางท่านใช้ “แบบสอบถาม” ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 เพื่อ
นำมาใช้ช่วยตัดสินว่า   เขาคนนั้นควรได้รับการตรวจร่างกายหรือไม่ ?

คำถามที่แพทย์ชอบใช้ในการสอบถามได้แก่:

o ท่าเคยได้รับการตรวจร่างกาย หรือได้รับคำแนะนำใดเกี่ยวกับ
สภาพของหัวใจมาหรือไม่ ?
o การออกกำลังกายของท่าน...ทำให้เกิดมีอาการเจ็บหน้าอกหรือไม่ ?
o อาการเจ็บหน้าเกิดขึ้นเมื่อใด ?
o ท่านเคยมีประวัติ “วิงเวียน” “เป็นลมหมดสติ” หรือไม่ ?
o ท่านเคยปวดข้อ และกระดูกกระหว่าง หรือหลังการออกกำลังกายหรือไม่ ?
o ท่านเคยได้รับยาลดความดัน หรือได้ร้บยารักษาโรคหัวใจหรือไม่ ?

ถ้าคำตอบของท่านบอกว่า   “ใช่”  หรือ "มี" ต่อคำถามใดคำถามหนึ่ง...
ท่านควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วนก่อนเริ่มโปรแกรม
การบริหารร่างกาย

บางรายอาจจำเป็นต้องตรวจประเมินการทำงานของหัวใจ
และทำการตรวจ Stress test ด้วย เพราะการตรวจดังกล่าว สามารถ
ช่วยให้เราได้ทราบว่า ท่านมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ?

ท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือเป็นโรคหัวใจ ควรได้รับการตรวจหัว
ใจ- stress test ก่อนที่จะเริ่มทำการออกกำลังกายตามที่ตั้งใจ

แพทย์บางท่านจะแนะนำให้คนสูงอายุ ผู้ซึ่งไม่เคยออกกำลังกายเลย
และต้องการออกกำลังกายด้วยการออกแรงอย่างหนัก (vigorous exercise)
 (แม้ว่าจะไม่โรคหัวใจมาก่อนก็ตาม) ควรได้รับการตรวจร่างกาก่อน



อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตรวจดังกล่าว มีราคาแพง..
แพทย์หลายนายเชื่อว่า ในคนสูงอายุที่ไมมีโรคหัวใจ หรือปัจจัยเสี่ยง
สามารถออกกำลังกายด้วยการออกแรงอย่างเบา เช่น การเดินได้
โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจ Stress test เลย



<< PREV     NEXT >> Part 13: Heart Attack and Sudden Death from Strenuous Exercise

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น