Aug. 13,2013
ในการรักษาโรคเบาหวาน...
ท่านสามารถใช้มาตรการต่างๆ เพื่อทำการรักษา และจัดการกับปัญหา
รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับท่านได้
เป้าหมายมีว่า...
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับป้องกัน
หรือชะลอไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ จากโรคเบาหวาน
การลดน้ำหนักตัว...แม้ว่าจะเป็นแค่ 10 – 15 ปอนด์เท่านั้น
ก็สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดดีขึ้นได้
นอกจากนั้น การออกกำลังกาย ก็มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักตัว
และควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี...
เพียงออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็มี่ส่วนช่วยแล้ว !
การรักษาโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM):
Step 1: เรียนรู้เรื่องเบาหวาน, ตรวจดูระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
Step 2: เพิ่มยาเม็ดลดระดับน้ำตาล: Metformin หรือควบคุมให้ระดับน้ำตาลเป็นปกติ
Step 3: เพิ่มยาตัวที่สอง: เช่น insulin หรือ non-insulin medicine
Step 4: เพิ่มยาตัวที่สาม: insulin (basal or intensified therapy) หรือ non-insulin medicine
Step 5: Insulin (intensified therapy) โดยให้ร่วม/ หรือไม่ร่วมกับยาตัวอื่น
Non-insulin Medications
ในรายที่การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ไม่สามารถ
ควบคุมโรคเบาหวานประเภทสอง ซึ่งแพทย์จะสั่งยาเม็ดลดน้ำตาล
ให้แก่ท่าน ซึ่งมีทางเลือกให้แก่ท่านหลายทาง
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาเม็ดลดระดับน้ำตาล (pills)
แต่มีบางรายอาจต้องได้รับยาฉีด...
ยาแต่ละตัวต่างมีประโยชน์ และในขณะเดียวกันก็มีผลข้างเคียงด้วย
ซึ่งขึ้นอยู่กับยาที่ใช้รักษา และผลข้างเคี่ยงที่เกิด อาจทำให้เกิดอาการ
ทางกระเพาะอาหาร (stomach upset), ตับถูกทำลาย, หัวใจล้มเหลว.
หรือมีปัญหาอย่างอื่น ๆ
ในการใช้ยา แพทย์จะบอกให้ท่าน หรือสมาชิคในครอบครัวของท่าน
ให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านจะได้รับ ซึ่งท่านจะต้องรู้ว่า ยาตัวใหนดีที่
สุดสำหรับท่าน ? นอกจากนั้น ท่านยังสามารถศึกษาหาข้อมูลจาก
เภสัชกรได้
Insulin
หากปรากฏว่า การควบคุมอาหาร, ออกกำลังกาย, และรับทานยา
เม็ดลดน้ำตาล (non-inuslin medications) ไม่สามารถควบคุม
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านได้
แพทย์ผู้ทำการรักษา อาจแนะนำให้ท่านใช้ยา insulin...
ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีค่าสูงมาก...
แพทย์อาจใช้ยา insulin เป็นยาตัวแรกที่ถูกนำมาใช้ในการรักษา
โรคเบาหวานก็ได้
Caution:
ในการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน (เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด) พบว่า
ยาเกือบทุกตัวต่างมีอัตราเสี่ยงต่อการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำ
ได้อย่างมาก (too low) ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับคนสูงอายุที่อ่อนแอ
มาก ๆ และเขาไม่มีอาการแสดงเดือนให้ทราบว่า เขาตกอยู่ในภาวะ
น้ำต่าลลดต่ำดังกล่าว....
ด้วยเหตุผลดังกล่าว...
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำตาลลดต่ำขั้นเป็นอันตรายดังกล่าว จึงจำเป็นต้อง
ตรวยระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดหลายๆ ครั้ง/วัน
เป็นต้นว่า ตอนท้องว่าง, หลังรับทานอาหาร, และก่อนนอน
เพื่อให้แน่ใจว่า ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงอย่างฉับพลัน
<< PREV NEXT >> Part 6:Monitoring your Glucose Levels
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น