การตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการณ์ และการตรวจอย่างอื่นๆ
เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง อาจช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น
และเพื่อเป็นการลดความวิตกังวล ทานสามารถกระทำได้ด้วยการเรียนรู้ว่า
การตรวจเลือดที่แพทย์กำลังสั่งให้ทำการตรวจนั้น มีความสำคัญอย่างไร ?
และเมื่อได้ผลการตรวจแล้ว ทานต้องทราบด้วยว่า
มันหมายความว่าอย่างไร ? ท่านต้องได้คำตอบจนพอใจ....
เมื่อเกิดมีความสงสัยว่า...
ท่านอาจเป็นมะเร็ง แพทย์จะสั่งตรวจเลือดบางอย่าง
พร้อมทั้งการตรวจอย่างอื่น ที่จำเป็น เป็นต้นว่า ตรวจปัสสาวะ
หรือตรวจชิ้นเนื้อที่ตัดจากบริเวณที่สงสัย
ซึ่งสามารถยืนยันคำวินิจฉัยได้
ในการตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็ง...
เท่าที่ปรากฏ ไม่สามารถบอกได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่า ท่านเป็นมะเร็ง
หรือเป็นโรคอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช้มะเร็ง แต่เป็นเพียงเงือนงำให้ทราบว่า
มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นภายในร่างการของท่าน
สิ่งที่แพทย์กำลังค้นหา (What your doctor is looking for):
การเจาะเลือดตราจ เพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ (tumor markers) ของมะเร็ง
หรือตรวจตรวจปัสสาวะ, หรือตรวจน้ำที่ได้จากร่างกายของท่าน,
หรือตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกายของท่าน...
เราจะพบว่า ผลที่ได้จากการตรวจเลือดอาจแสดงให้เห็นเซลล์มะเร็ง ,
ตรวจพบโปรตีน, หรือสารบางอย่าง ซึ่งถูกสร้างโดยเซลล์มะเร็ง
นอกจากนั้น ผลของการตรวจเลือด และปัสสาวะยังสามารถบอกว่า
อวัยวะภายในของท่านทำงานได้ดีแค่ใหน และยังอาจบอกอีกว่า
อวัยวะภายในของท่านถูกกระทบโดยมะเร็งหรือไม่
ตัวอย่างการตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อใช้ในการวินิจฉัยมะเร็ง
ได้แก่:
Ø Complete blood count (CBC):
การสั่งตรวจ CBC แพทย์จะสั่งให้การตรวจตามปกติเพื่อตรวจเช็คดดู
จำนวนของเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ผลที่ได้จะบอกให้เราได้ทราบว่า
ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแต่ลชนิดมีค่าปกติหรือไม่
ซึ่งนอกจากพบเม็ดเลือดมีจำนวนปรกติ, น้อยไป, หรือมากไปแล้ว
อาจพบเซลล์ที่มีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งอาจชี้นำไปสู่ความสงสัยว่า
ท่านอาจเป็นมะเร็งของเม็ดเลือดได้
ในกรณีที่มีความสงสัย แพทย์อาจทำการเจาะไขกระดูกมาทำการตรวจ
เพื่อยืนข้อสงสัยตามที่กล่าวได้
Ø Urine cytolody:
การตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทัศน์ อาจพบเซลล์มะเร็ง
ซึ่งอาจมาจากกระเพาะปัสสาวะ หรือจากไต
Ø Blood protein testing:
เป็นการตรวจหาโปรตีนชนิดต่างๆ (electrophoresis) ที่ปรากฏในเลือด
ซึ่งสามารถช่วยค้นหาความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันของท่าน (immunoglobulins)
ในบางครั้งจะพบความผิดปกติได้ เช่น คนที่เป็นโรค multiple myeloma
(เป็นมะเร็งของ plasma cell)
อาจมีการตรวจไขกระดูก เพื่อยืนยันข้อสงสัยในข้อวินิจฉัยโรคว่า
ท่านเป็น multiple myeloma หรือไม่
Ø Tumor marker tests:
ตัวชี้บ่งมะเร็ง (tumor markers) เป็นสารเคมีถูกสร้างโดยเซลล์มะเร็ง
โดยสามารถตรวจพบในเลือดได้ แต่สารส่อมะเร็งดังกล่าว สามารถ
พบได้ในคนที่ไม่เป็นมะเร็ง ซึ่งอาจมีค่าสูง
จากความจริงดังกล่าว จึงทำให้การตรวจหา “สารสื่อมะเร็ง” เพื่อช่วยวินิจฉัยมะเร็ง
มีขีดจำกัด และเกิดมีข้อโต้แย้งในการนำสารสื่อมะเร็งมาใช้วินิจฉัยมะเร็ง
การตรวจเลือดเพื่อค้นหาสารส่อมะเร็ง ที่เราควรทราบได้แก่:
Prostate-specific antigen (PSA) สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก,
cancer antigen 125 (CA 125) สำหรับมะเร็งรังไข้ (ovarian cancer),
calcitonin สำหรับมะเร็งต่อมใต้สมอง (pituitary thyroid cancer),
alpha-fetoprotein (AFP) สำหรับมะเร็งของตับ,
และ human chorionic gonadotripin (HCG) สำหรับ germ cell tumors,
เช่น มะเร็งของลูกอัณฑะ (testicular cancer) และมะเร็งรังไข (ovarian cancer)
<< PREV. NEXT >>มะเร็ง (Cancer) Part 6 : Tests : What the results mean
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น