Nov. 30, 2013
ผลของการวิจัยบางฉบับ ได้แนะนะว่า...
การออกกำลังกาย อาจมีผลต้านอาการซึมเศร้า (antidepressant effects)
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานเป็นเพียงส่วนน้อย ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่า
การออกกำลังกายสามารถจัดการกับอาการที่เกิดจากโรค major depression
แต่มีการศึกษาจำนวนไม่น้อย ได้ชี้แนะว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์
ต่อภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ถึงความรุนแรงพอประมาณ
ผลที่ได้จากการวิจัยได้แก่:
o การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว (brisk walking) เพียงแค่ 30 นาที
ต่อหนึ่งอาทิตย์ สามารถลดภาวะซึมเศร้า (depression) รวมทั้งที่เกิดซ้ำ (relapse)
ในระดับที่ไม่รุนแรง ถึงพอประมาณได้
o ในสตรีสูงอายุซึ่งมีอาการซึมเศร้า ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยารักษา
สามารถได้รับผลดีจากการออกกำลังกายภายใน 10 อาทิตย์ได้ถึงครึ่งหนึ่ง
(ประมาญหนึ่งในสามไม่ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย)
o การศึกษาในคนสูงอายุ...
คนที่มีอาการซึมเศร้า จะได้รับผลดีจากการออกกำลังกาย แม้ว่าคนไข้
รายนั้นไม่ตอบสนองต่อยารักษา (antidepressants)
o ในเด็นวัยรุ่น ผู้ซึ่งมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าเขาจำมี
ความรู้สึกดีได้มากกว่าเพื่อนนั่งโต๊ะ...ผู้ไม่ชอบการออกกำลังกาย
ยิ่งคนหนุ่มออกกำลังกายด้วยแรงอย่างหนัก ยิ่งมีสุขภาพดีขึ้น
o การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะมีความสมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า
ในเด็กวัย 8 – 12 ปี ได้ในอัตราที่สูงมาก
o การออกกำลังกาย สามารถลดอาการทางจิตประสาทในวัยหลัง
หมดประจำเดือนได้สูง...
โดยผลจากการศึกษา รายงานว่า การออกกำลังกายจะมีความ
วิตกกังวล, เครียด, และอาการซึกเศร้าได้มากกว่าสตรีหลังหมด
ประจำเดือน ผู้ไม่ออกกำลังกาย
มีการออกกำลังกายบางชนิดอาจมีประโยชน์:
Aerobics: ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายระยะสั้น ๆ หรือออก
กำลังกายในระยะยาว สามารถเพิ่มระดับสารเคมีต่างๆ ในสมอง
ซึ่งได้แก่ endorphins, adrenaline, serotonin และ dopamine...
ซึ่งเขาเรียก runner’s high
Yoga: ในการฝึกโยคะ...จะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างเป็น
จังหวะ ร่วมกับการหายใจ พบว่าจะเกิดประโยชน์ในด้านอารมณ์
และด้านจิตใจ
ผลจากการฝึกโยคะ และแอโรบิคสามารถทำให้คนเพศชายลด
อาการตึงเครียดได้อย่างมีนัยยะ, ลดอาการเมื่อยล้า, ลดความ
โกรธภายหลังการฝึกโยคะ...
โยคะ และการว่ายน้ำมีแนวโน้มที่ทำให้สตรีได้รับประโยชน์ได้
พอๆ กัน
<< PREV NEXT >> Part 24 : Effect of Exercise on Pregnancy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น