วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อเราต้องจัดการกับอินซูลิน (administration of Insulin): Part 7: Long acting insulin

Nov. 18, 2013
Continued....

ตัวอย่างของคนเป็นโรคเบาหวานรายต่อไป...
เป็นชายวัย 30 น้ำหนักตัว 70 Kg เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM)
มานาน 10 ปี ไม่เคยมีประวัติว่ามีระดับน้ำตาลลดต่ำ
(โดยให้คำจำกัดความว่า...ภาวะน้ำตาลลดต่ำจนต้องได้รับความช่วย
เหลือจากคนอื่น)

คนไข้มีประวัติว่า ได้รับอินซูลิน (NPH และ Regular insulin) วันละ 2 ครั้ง
ก่อนอาหารเช้า และเย็นโดยได้รับอินซูลินรวมยอด 50 units /วัน
ซึ่งแบ่งเป็น:

• NPH 20 units , Regular insulin 10 units ก่อนอาหารเช้า
• NPH 10 units, Regular insulin 10 units ก่อนอาหารเย็น

ผลการตรวจเลือด HbA1c ได้ 8.8 % ....ทีน่าสังเกตุ คนไข้ไม่ค่อยเข้าใจ
เรื่องการปรับขนาด (dose) ของอินซูลินว่า มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องอย่างไร
ในกรณีที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูงมากกว่า 200 mg/dL
เขาจะเพิ่ม dose ของ regular insulin โดยให้ก่อนอาหาร (premeal)
ทันที

สิ่งที่คนไข้รายนี้ควรเรียนรู้ มีอะไรบ้าง ?
สิ่งที่เขาควรเรียนรู้ คือต้องทราบว่า เมื่อมีระดับน้ำตาลขึ้นสูงตอนก่อนอาหาร
เขาควรเพิ่ม “อินซูลิน” ชนิดออกฤทธิ์เร็วเท่าใด ?

ในการควบคุมระดับน้ำตาล...
มีเป้าหมายลดระดับน้ำตาลให้ลงสู่เป้าหมาย ซึ่งกำหนดให้เป็น 150 mg/dL
โดยใช้สูตรให้อินซูลินออกฤทธ์เร็ว 1 unit สามารถลดระดับน้ำตาลได้ 50 mg/dL

ขั้นตอนที่สอง...
เขาจำต้องเรียนรู้วิธีจับคู่ (matching) ระหว่าง อินซูลินออกฤทธ์เร็วที่จะ
ต้องให้ในมื้ออาหาร (prandial insulin) และอินซูลินที่ต้องควบคุม
อาหารที่เขาจะต้องรับประทานในมื้อนั้น โดยใช้สูตร “อินซูลินออกฤทธิ์
เร็ว 1 unit สามารถจัดการอาหารคาร์โบฮัยเดรตได้ 10 กรัม

นอกจากนั้น เขายังจำเป็นต้องทำความเข้าใจก้บบทบาทของอินซูลิน
ออกฤทธิ์ยาว (long-acting insulin) เช่น glargine
เพื่อทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งถูกสร้างโดยตับ
(เป็น basal component)

โดยปกติ จำนวนอินซูลินรวมยอดในหนึ่งวันจะมีค่าคงที่ นั้นคือ
เขาจะต้องได้รับอินซูลินในหนึ่งวันประมาณ 0.7 units/Kg/day
เมื่อน้ำหนักตัวคนไข้ 70 Kg เขาควรได้ได้อินซูลินรวมยอดโดย
ประมาณ 50 units และครึ่งหนึ่งเป็นค่าของ basal insulin
ซึ่งเป็นอินซูลินออกฤทธิยาว เพื่อทำหน้าที่เป็น basal insulin = 25 units

หลักในการปฏิบัติ...
เมื่อมีการสับเปลี่ยนจาก NPH ไปเป็นอินซูลินออกฤทธิ์ยาว glargine
โดยปกติ เขาจะต้องเริ่มต้นด้วย 80% ของปริมาณยาที่ใช่ต่อกครั้ง (dose)
ของอินซูลิน NPH  ใน ขณะนั้น ซึ่งในคนไข้ดังกล่าวเขาใช้
30 units/day ดังนั้นเมื่อมีการสับเปลี่ยน NPH ไปเป็น glargine
ปริมาณของ glargine ควรเป็น 30 units x 0.80 = 24 units/day

มีคนไข้เบาหวานบางรายได้รับการรักษาด้วย NPH เพียงอย่างเดียว
หรือมีการใช้ prandial insulin เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหาร
เพียงเล้กน้อย....ในการคำนวณหาค่าที่ต้องใช้อินซูลินออกฤทธิ์ยาว
ควรพิจาณาได้จากปริมาณของอินซูลิน NPH ซึ่งมีค่าครึ่งหนึ่งของ
อินซูลินทั้งหมดที่ต้องใช้ในหนึ่งวัน โดยทำหน้าที่เป็น basal insulin

สิ่งที่เราควรรู้ต่อไป คือ....
เราควรใช้อินซูลินสำหรับจัดการกับอาหาร (prandial insulin) ใน
ปริมาณเท่าใด?

โดยทั่วไป เราจะใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (rapid-acting insulin)
เช่น Lipro หรือ Aspart (และบางที่อาจใช้ regular insulin เสริม
สำหรับอาหารที่มีไข้มันสูงในอาหาร)

จากผลที่ได้จากการคำนวณ คนไข้รายนี้จะใช้อินซูลินเพื่อจัดการกับ
อาหารทั้งหมด (total prandial insulin) 25 units
(ครึ่งหนึ่งของอินซูลินรวมยอดสำหรับใช้ในหนึ่งวัน)

ในคนไข้รายนี้รับทานอาหารตอนเช้า (breakfast) ประมาณ 10 % ของอา
หารประจำวัน, อาหารกลางวัน 30 % และอาหารเย็น 60 % ของปริมาณ
ทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งแต่ละมื้อจะได้รับอินซูลิน (prandial insulin) ใน
ปริมาณไม่เท่ากัน และผลที่ได้จากการคำนวณ คนไข้รายนี้ควรได้รับ
อินซูลินออกฤทธิ์เร้ว (lispro หรือ Aspart) สำหรับอาหารเมื้อเช้า 3 units]
มื้อเที่ยง 7 units และมื่อเย็น 14 units

ในคนไข้รายนี้ เขารู้สึกว่า อินซูลินที่ใช้ในตอนเย็นให้มากไป ดังนั้นจึง
ตัดสินใจใช้เพียง 10 units ในตอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่าน
ไป เขาจำเป็นต้องคำนวณค่าของอินซูลินที่ต้องใช้ให้ใกล้กับความจริงมากขึ้น 
และสิ่งที่เขาจะต้องกระทำ คือทำการตรวจดูระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
ให้บ่อยขึ้น พร้อมๆ กับปฏิบัติตามคำแนะนำของนักโภชนาการ
ในเรื่องการรับทานอาหาร เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น

<< PREV  


http://clinical.diabetesjournals.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น