วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Diabetes (T2DM) Treatment : Part 2: ท่านจะต้องใช้ “อินซูลิน” มากน้อยแค่ใหน ?

Nov. 2013

One Shot A Day Or More?

ถ้าท่านตื่นในตอนเช้าแล้วพบว่า น้ำตาลในเลือดมีระดับสูง...
ท่านมีแนวโน้มที่จะใช้อินซูลินชนิดฉีดอย่างน้อยวันละครั้ง
ร่วมกับยาเม็ดรับทาน โดยยาเม็ดรับทานสามารถลดความต้าน
ของร่างกายที่มีต่อฮอร์โมนอินซูลินได้

ส่วน long-acting insulin ซึ่งมักให้ในตอนเย็นก่อนนอน โดยมันจะ
ออกฤทธิ์เหมือนกับอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อนในระดับต่ำๆ

ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรับทานอาหาร
ทั้งๆ ที่ท่านได้รับยารักษา (medication) โดยท่านมีการระมัดระวังใน
เรื่องอาหารการกิน...ในกรณีเช่นนี้ ท่านอาจต้องเพิ่มยาฉีด
ชนิด rapid-action insulin  ก่อนอาหารทุกมื้อ เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่
ได้มาจากอาหารที่รับประทาน (bolus insulin)

แต่ตามความเห็นของ John Buse, M.D., director of the Diabetes
Care Center จากมมาวิทยาลัย North Carolina...

“ การให้ rapid acting insulin ในทุกครั้งที่รับทานอาหาร
 เขามีความเห็นว่า  การควบควบระดับน้ำตาลด้วยวิธีดังกล่าว ไม่สามารถ
ควบคุมระดับน้ำตาลในคนไข้ส่วนใหญ่ได้...นอกจากนั้น มันยังทำ
ให้คนไข้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าท่านจะรักษาแบบใด...
การให้ “อินซูลิน” Long-acting formulation ถือว่าเป็นวิธีดีที่สุดสำหรับ
เริ่มต้นการรักษาเบาหวาน

ตามความเห็นของ Dr. Buse เขานิยมให้ Long-acting insulin 10 units
แล้วให้ค่อย ๆ เพิ่มขนาดของยาจนกระทั้งเราสามารถลดระดับน้ำตาลลงสู่
ะดับปกติ

ตามความเห็นของ Robert Rizza, M.D. จาก Mayo Clinic, in Rochester,
Minn. เขากล่าวว่า...

“ในคนเป็นโรคเบาหวาน ถ้าตับอ่อนยังสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิได้
การให้ยาฉีด long acting insulin วันละหนึ่งครั้งน่าจะเพียงพอต่อการรักษา
แต่ในกรณีทีคนเป็นเบาหวานไม่มีฮอร์โมน “อินซูลิน” ในกระแสเลือดเลย
และไม่มี “อินซูลิน” ระหว่างอาหาร... ในการณีเช่นนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้อง
ได้รับยาฉีดทั้ง long acting และ short acting insulin

<< PREV     NEXT >> Taking Insulin With Meals

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น