วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จะออกกำลังกาย (exercise) ไปเพื่ออะไรกัน ? Part 25: Complications

Nov. 30, 2013

ที่กล่าวมา...จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ที่พึงเกิดจากการออก
กำลังกาย แต่ตามเป็นจริงแล้ว  การออกกำลังกายอาจนำไปสู่การ
ได้รับบาดเจ็บได้  ดังนั้นเราควรออกกำลังกายด้วยความระมัดระวัง...
ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำว่า
เราควรปฏิบัติในการออกกำลังกายอย่างไร และจะใช้อุปกรณ์การ
ออกกำลังกายอย่างไร ?


บาดเจ็บจากการออกกำลังการที่มีแรงกระแทกสูง
(Injuries from High-Impact Exercise)

การวิ่งแข่ง...หรือการออกกำลังการแอโรคบิค ซึ่งมีแรงกระแทกสูง 
(high-impact) จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของกระดูก 
และกล้ามเนื้อได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า...
บาดเจ็บของข้อเข่า, ข้อเท้า, สะโพก, หลัง, ไหล่ และข้อศอก

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดเจ็บดังกล่าว...
เราสามารถกระทำได้ดังนี้:

o   สรวมถุงเท้าหนาซักหน่อยหน่อยก่อนสรวมรองเท้า หรือ
กรณีที่ท่านไม่มีถุงเท้าหนา...ก็ให้สรวมถุงเท้าสองคู่ซ้อน...

o   ให้ทำการออกกำลังกายร่วมกันระหว่าง การยกน้ำหนัก และ
การออกกำลังกายด้วยการกระโดด ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อ
ของต้นขาแข็งแรง และเพิ่มการประสานการทำงานของกล้าม
เนื้อได้ดีขึ้น

o   ก่อนออกกำลังกาย...อย่าลืม warm up, cool down และการ
ยืดเส้น (stretching) เพราะการยืดเส้น (flexibility) เป็นกุญแจ
สำคัญต่อการป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดได้

o   ในการออกกำลังกายควรเลือกวันหยุดการออกกำลังกายเสียบ้าง
ที่ถูกต้องควรออกกำลังกายเพียง 5 วันต่อหนึ่งอาทิตย์ก็เพียง
พอแก่การ

การรักษาบาดเจ็บที่มี่ความรุนแรงต่ำ
(Treating Minor Injuries)



Credit : http://health.kernan.org/

บาดเจ็บที่ไม่รุนแรง ถึงรุนแรงปานกลาง จะตอบสนองต่อการรักษา
อย่างง่าย 4 ขั้นตอนต่อไปนี้: พักผ่อน (rest), ประคบน้ำแข็ง (ice),
ใช้ผ้ายืดรัดให้แน่นพอสมควร (compression), และยกให้สูง (RICE)
ซึ่งการรักษาด้วยกรรมวิธีดังกล่าว  สามารถรักษาบาดเจ็บที่เกิดจากการกีฬา
หรือปัญหาที่เกิดมานาน (chronic problems) ได้

การประคบด้วยน้ำแข็ง (ice) จะสามารถลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด, 
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในช่วงแรกๆ หลังจากได้รับบาดเจ็บสองสามชั่วโมง

สำหรับการใช้ผ้ายืดรัดบริเวณบาดเจ็บ (compression) ยังไม่สามารถบอก
ได้ว่าควรใช้นานเท่าใด

ผลจากการศึกษาได้ชี้แนะเอาไว้ว่า...
หลังจากได้รับบาดเจ็บ  การได้เคลื่อนไหวส่วนที่ได่รับบาดเจ็บได้เร็วที่สุด
จะมีประโยชน์ต่อคนไข้รายนั้น ๆ แม้ว่า คนไข้จะได้รับการรักษาด้วยการ
ใส่เฝือกก็ตาม

สำหรับความร้อน (heat),  อัลตร้าซาวด์, และนวด อาจช่วยทำให้
ส่วนทีีได้ีรับบาดเจ็บหายเร็วขึ้น แต่ควรนำมาใช้เมื่อบาดเจ็บได้ผ่านไปแล้ว
เป็นเวลาหนึ่งถึงสองวัน

Female Athlete Triad



Credit :http://sircsportresearch.blogspot.com/

สตรีวัยหนุ่มสาวที่เป็นนักกีฬา ซึ่งออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง
เพื่อทำให้ร่างกายมีรูปร่างเพรียวลม... จะมีความเสี่ยงต่อการเกิด
กลุ่ม
อาการที่เราเรียก female athlete triad ซึ่งเป็นกลุ่มอาการสามประการที่
เกิดในนักกิฬาหญิงสาว

กลุ่มอาการสามประการดังกล่าว ได้แก่ความผิดปกติในการรับทานอาหาร 
เป็นต้นว่า หลีกเลี่ยงจากกินอาหารบางอย่างที่คิดว่าไม่ดี เช่นพวกไขมัน
(eating disorders) จนกระทั้งเกิดมีความกลัวความอ้วน (anorexia
nervosa), ไม่มีประจำเดือน (amenorrhea), และเกิดกระดูกพรุน
(osteoporosis)

โดยความผิดปกติในการรับทานอาหารของนักกิฬาหญิงได้ประมาณ
 15 % ถึง 62 %

หากนักกิฬาหญิงที่ยังคงดำเนินการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงต่อไป 
ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมน estrogen ได้น้อยลง  
ซึ่งจะยังผลให้นักกิฬาหญิงเหล่านั้นเป็นหมัน (infertility) และกระดูก
บางลง(osteoporosis)  นอกจากนั้น เรายังได้พบอีกว่า...

เนื่องจากสตรีในวัยดังกล่าว เป็นช่วงที่กระดูกมีการสร้างมวลกระดูกได้สูง
สุด  เมื่อมีการขาดสารอาหารดังกล่าวจึงนำไปสู่ภาวะของกระดูกที่ไร้
ความแข็งแรงได้ในช่วงหลังของอายุขัยได้

การขาดน้ำ (Dehydration

ทุกครั้งที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก ควรดื่มน้ำให้มากเข้าไว้
อาการกระหายหิว (thirst) มักเป็นตัวชี้บ่งที่ไม่ค่อยดีนักสำหรับภาวะ
ขาดน้ำของคนสูงอายุที่ออกกำลังกาย  

ในขณะที่มีการออกกำลังกายอย่างหนักในอากาศร้อน...
ร่างกายจะสูญเสียน้ำได้ถึงสองลิตรต่อชั่วโมงโดยการผ่านทางเหงื่อ

คนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ควรปฏิบัติการณ์ด้วยข้อระมัดระวัง
ดังต่อไปนี้:

o   ก่อนออกกำลังกายควรดื่มน้ำ ประมาณ 200 – 250 ซีซี (หรือหนึ่ง
แก้ว) ก่อนออกกำลังกาย  และในระหว่างเล่นควรหยุดเป็นระยะ ๆ
เพื่อดื่มน้ำ

o   น้ำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ใช้ชดเฉยน้ำที่เสียไป
ส่วน glucose-sodium-potassium solutions มีชื่อเรียกว่า “sport  drinks” 
ซึ่งสามารถให้พลังงานได้ทั้นทีนั้น  แต่ไม่ได้ดีไปกว่าน้ำ
เพื่อใช้ในขณะออกกำลังกายในระยะยาว

o   เครื่องดื่มที่เป็นกาแฟ และ น้ำขวด (soft drink) สามารถให้พลังได้
อย่างฉับพลัน แต่มันสามารถทำให้ร่างกายเสียน้ำได้

ในการดื่มการแฟก่อนออกกำลังกาย  สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 
และทำให้การไหลเวียนของเลือดสู่แขนขาที่ไม่ออกแรงได้น้อยลง

o   ตรงกันข้ามกับความเชื่อถือกันมาก่อนว่า...
การดื่มน้ำในจำนวนมาก จะไม่ทำให้เกิดอาการ หดเกร็งของกล้ามเนื้อ 
(muscle cramps) นั้น แต่ความจริงมีว่า การดื่มน้ำได้มากเพียงพอ 
สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (cramps) 
ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นในขณะการออกกำลังกาย
  
อุณหภูมิกายสูงเกิน (Hyperthermia) 

อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน สามารถเป็นปัญหาของการออกกำลังกาย
ที่รุนแรงเกิน หรือออกกำลังกายในอากาศร้อน

การที่เกิดมีอุณหภูมิกายสูงมากเกินไป สามารถทำให้เกิดอาการถึง
ขั้นรุนแรงจนกระทั้งทำให้เสียชีวิตได้

การเกิดอาการเหนื่อยเพลียจากความร้อน (heat exhaustion)
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเกิดอุณหภูมิกายสูงเกิน โดยมีอาการ
ดังต่อไปนี้:

o   อาการวิงเวียน, คลื่นไส้, ปวดศีรษะ, เหนื่อยเพลีย, และหมดสมาธิ
o   อุณหภูมิกายสูงเกิน 103 F ซึ่งอาจมีอาการหนาวสั่น (chill)
และผิวหนังเย็นชื้น
o   Heat stroke เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการมีอุณหภูมิของกาย
    สูงเกิน โดยคนไข้จะเกิดมีอาการเหงื่อหยุดไหลทันที,
มีการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกตัว, เกิดอาการชัก, และลงท้ายด้วย
การหมดสติ (coma) อย่างรวดเร็ว

Heat stroke เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนด้วย
การประคบความเย็น (ice-water) หรือ ice-packs

Heat stroke เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการออกกำลังกายในสภาพ
อากาศที่มีอุณหภูมิสูงมาก  โดยอาจเกิดขึ้นในขณะที่บรรยายกาศได้
เย็นลงแล้ว


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น