วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคปอดอุดกั้นเรื่องรัง (COPD) P6 : Care & Treatment

Oct. 4, 2013



เมื่อท่านเป็นโรคปอดอุดกั้น...
ท่านสามารถกระทำหลายสิ่ง่หลาอย่าง เพื่อบรรเทาอาการของท่าน,
ชะลอการดำเนินของโรค  ไม่ให้มันเลวลง, ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ,
และสามารถพึ่งพาตนเองได้..

จุดเริ่มต้นของการรักษา คือหยุดการสูบบุหรี่...

ถ้าท่านเป็นโรค COPD ท่านต้องหยุดสูบบหรี่ทันที เพราะนั่นคือวิธีทีดีที่สุด
สำหรับป้องกันไม่ให้ปอดของท่านถูกทำลายเพิ่มขึ้นอีก
หรืออย่างน้อย ก็ทำให้ปอดถูกทำลายได้ช้าลง

ผลจากการวิจัยพบว่า...
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (หยุดสูบบุหรี่) สามารถลดความเสี่ยงจาก
การเสียชีวิตจากโรค COPD ได้  โดยไม่มีความสัมพันธ์ความหนุ่ม หรือแก่
หรือความรุนแรงของโรคแต่ประการใด

ขั้นตอนต่อไป...ยาสามารถช่วยท่านได้:

เรามี่ยาหลายขนาน ที่สามารถบรรเทาอาการของท่านจากโรคปอดอุดกั้นได้
และทำให้ท่านหายใจสดวกดียิงขึ้น บางชนิดใช้ทางรับทาน
และบางชนิดใช้สูดเข้าปอด    ที่ท่านควรทราบมีดังต่อไปนี้:

Bronchodilatators :
เป็นยาขยายหลอดลม  โดยออกฤทธิ์คล้าย beta agonists
(เช่น albuterol, salbutamol, terbultaline, salmeterol}
formoterol)  และยากลุ่ม anticholinergic (เช่น ipratropium,
tiotropium)  :ซึ่งออกฤทธ์ด้วยการคลายกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ
ทางเดินลมหายใจ   ทำให้อากาสผ่านได้สดวกขึ้น
เป็นยาที่มีฤทธิ์สั้น และยาว โดยใช้ร่วมกัน

Steroids:
ยาที่ใช้คือยาในกลุ่ม corticosteroids (ได้แก่ prednisolone,
fluticasone,budesonide, mometasone, beclomethasone)
ออกฤทธิ์  โดยลดการอักเสบ ลดอาการบวมของผนังของทางเดินหายใจ
 ทำให้การหายใจสดวกยิ่งขึ้น โดยมีทั้งยาเม็ดรับทาน และยาพ่นสูดดม

การให้ออกซิเจน (Oxygen Therapy)

เมื่อท่านเป็นโรคปอดอุดกั้น...
และถ้าระดับออกซิเจนในกระแสเลือดของท่านลดต่ำ
ท่านมี่วิธีได้รับออกเซิเจนเพิ่มได้หลายทาง ซึ่งสามารถได้รับออกซิเจนเสริมที่บ้าน
หรือนำติดตัวในขณะที่ท่านออกนอกบ้าน เพื่อทำงานตามปกติ
หรือนำติดตัวไปออกกำลังกายตามปกติ

ผลจากการวิจัยพบว่า...
การหายใจเอาออกซิเจนเพิ่มเป็นเวลา 16 ชั่วโมง หรือมากกว่าต่อวัน
สามารถเพิ่มอายุขัย (survival time) ของท่านได้ถ้า...
ระดับออกซิเจนในเลือดของท่านมแนวโน้มที่จะต่ำอยู่แล้ว

การรับออกซิเจนเพิ่ม (extra oxygen) สามารถได้จาก oxygen tank
ซึ่งสามารถให้ออกซิเจนได้หลายชั่วโมง หรือได้จาก  Oxygen concentrator
ซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถนำติดตัวไปใหน ๆ ได้ แต่ใช้ได้ไม่นาน

<< PREV.         NEXT >> โรคปอดอุดกั้นเรื่องรัง (COPD) P. 7 :
Respiratory Rehabilitation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น