ในปี 2001 การรักษาโรคเบาหวานได้พัฒนามาถึงขีดสูงสุดด้วยการมี
long acting insulin, prandial และ basal insulins
ซึ่งเราสามารถคำนวณหาค่า หรือปริมาณอินซูลินที่ต้องใช้ได้อย่างแม่นยำ
และสามารถกำหนดอินซูลินที่จะให้ในตอนแรกได้ง่ายขึ้น
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ลองพิจาณาจากตัวอย่างต่อไปนี้:
กรณีแรก: คนไข้เพศหญิงอายุ 55 มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมานาน 15 ปี
เธอมีน้ำหนักตัว 80 Kg.ได้รับการรักษาด้วย NPH 10 units ก่อนนอน
นานเป็นเวลา 3 ปี การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว สามารถลดระดับน้ำตาลลง
ได้ตามเป้าหมาย ระดับของ HgHA1c ลดจาก 9.2 ลวมายัง 6.8 %
เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏว่า bedtime insulin (NPH) เพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในตอนเย็นได้ทั้งๆ ที่มีการเพิ่ม NPH
จากเดิม 10 units เป็น 30 units/day (0.38 units/kg/day)
คนไข้ได้เริ่มใช้อินซูลิน pre-mixed 70/30 (NPH & regular insulin)
โดยให้ทั้งก่อนอาหารเช้า (breakfast) และก่อนอาหารเย็น (dinner)
ขนาดของยาได้เพิ่มเป็น 40 units ในตอนเช้า และ 30 units
ก่อนอาหารเย็น (0.88 units/kg/day) ซึ่งดำเนินมาด้วยดีติดต่อกันมา
เป็นเวลา 1 ปี โดยมีระดับของ HgBA1c มีค่าระหว่าง 6.9 – 7.4 %
มาระยะหลัง ปรากฏว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดก่อนรับทานอาหารเย็น
(predinner fasting blood glucose) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เธอต้องเพิ่มปริมาณ
อินซูลินจากเดิม ซึ่งยังผลให้เกิดระดับน้ำตาลลดต่ำลง (hypoglycemia)
ในตอนก่อนอาหารเที่ยง (pre-lunch) และตอนกลางคืน
เธอได้พยายามใช้ pre-mixed combination 75/25 neutral protamine-
ระดับน้ำตาลในช่วงก่อนอาหารเย็น (pre-dinner) ก็สูงขึ้นจากการใช้อินซูลิน
ชนิดผสมดังกล่าว (intermediate-acting insulin และ rapid acting insulin)
ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแผนการรักษา ด้วยการหยุดการใช้ pre-mixed insulin
และเปลี่ยนมาใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (lispro) ในแต่ละมื้อ (each meal) และ
ให้ NPH ก่อนนอน (bedtime): โดยใช้อินซูลิน lispro 15 – 20 units ในแต่
ละมื้อ (each meal) และให้ NPH 25 units ก่อนนอน ( 1 unitkg/day)\
ผลที่ได้ปรากฏว่า สามารถทำให้ระดับ HbA1c มีค่าคงที่อยู่ระหว่าง 6.5 – 7 %
โดยมีภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia) ในตอนกลางคืนเป็นบางครั้ง
ในปี 2001 เธอได้เปลี่ยนจาก NPH มาเป็น long-acting insulin- glargine
ก่อนนอนด้วยขนาด 25 units และหลังจากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว ปรากฏ
ว่า คนไข้ไม่เกิด nocturnal hypoglycemia เลย
ปัญหาที่พบบ่อยในคนสูงอายุเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง
ผู้ซึ่งขาดอินซูลินอย่างรุนแรง คือ ไม่มีการให้ฉีดอินซูลิน (prandial insulin)
เพื่อจัดการกับอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ
และ จัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหาร...
<< PREV NEXT >> Part 7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น