วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) Part 7: Lifestyle & Management (3)

Nov. 21, 2013

เป็นที่ปรากฎว่า มีความเข้าใจผิดบางประการในคนที่เกิดภาวะหัวใจ
ล้มเหลว เป็นต้นว่า  ไม่กล้าออกกำลังกาย แต่ยังไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ ?

การออกกำลังกาย (Exercise):
ใครก็ตามที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว แม้ว่าท่านจะรู้สึกเหนี่อยพลี่ยง่าย
หรือหายใจหอบ ไม่ได้หมายความว่า เขาจะต้องยุติการออกกำลังกาย

ตามความเป็นจริงมีว่า...
ในคนที่เกิดภาวหัวใจล้มเหลว เขาจำเป็นต้องทำให้ตัวเองให้ “ฟิต”
อยู่เสมอ นั่นถพือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

แพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้วางโปรกแกรมการออกกำลังกาย ซึ่ง
ปลอดภีย และจะช่วยให้หัวใจของท่านแข็งแรงขึ้น และสามารถควบคุม
อัตราการเต้นของหัวใจได้ดีขึ้น

การออกกำลังกายสามารถทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวของท่าน ให้ลอด
พ้นจากที่เลวลง ซึ่งเขาสามารถบริหารร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของหัวใจภายใต้การดูแลของผู้ผ่านการฝึกอบรมมาทางด้านดังกล่าวได้

เลิกดื่ม...และงดการสูบบุหรี่...
(Quit Smoking and Drink Cautiously )

การสูบบุหรี่จะทำลายเส้นเลือดของท่าน...
ดังนั้น การที่ท่านอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว และยังคงสูบบุหรี...
ก็รีบเลิกให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้ หาไม่แล้วหัวใจของท่านมีปัญหาแน่

แอลกอฮอลเป็นพิษโดยตรงต่อหัวใจ
การดื่อมแอลกอฮลม่เป็นเวลานานจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ และนำไปสู่
ความดันโลหิตสูง, หัวใจล้มเหลว, และสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด
ถ้าท่านดื่ม...ท่านต้องหยุดดื่มเช่นกัน

หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs... และสมุนไพร
(Avoid Certain Non-prescription Drugs and Herbal Remedies)

ยาทั้งหลายที่ซื้อหาได้จากร้านขายยา สามารถทำให้มีน้ำคั่งในร่างกา
ได้ และสามารถทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวแย่ลงกว่าเดิม

เพื่อความปลอดภัยของท่านเอง... ท่านตวรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้:

o ยากลดกรดในกระเพาะอาหารที่มี “โซเดียม” เป็นตัวประกอบ
เช่น sodium bicarbonate
o แอสไพรินในขนาดสูง ๆ (High dose aspirin)
o ยากลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, naproxen
o ยาลดน้ำมูก (decongestants)
o โสม (Ginseng) อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
o แปะก้วย (Ginkgo biloba) อาจทำให้เกิดมีเลือดออกได้

<<  PREV

http://www.healthinaging.org/aging-and-health-a-to-z/topic:heart-failure/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น