วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อเราต้องจัดการกับอินซูลิน (administration of Insulin): Part 5: Insulin Algorithm

Nov. 18, 2013
Continued...

Flexible Insulin Regimens

มีวิธีการให้อินซูลินแบบยืดหยุ่น (ผ่อนสั้นผ่อนยาว)...
ซึ่งสามารถใช้ได้กับคนไข้เบาหวานทั้งประเภทหนึ่ง และประเภทสอง
โดยการให้ intermediate – acting (basal) insulin ในเวลาก่อนนอน
มีบางรายให้หลายครั้งก็มี...

การให้อินซูลินขณะรับทานอาหาร (Prandial insulin) จะเป็นการให้
อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (rapid or short-acting insulin) โดยให้ไป
พร้อมกับการรับทานอาหารในแต่ละมือ (each meal)

ในการรักษาเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM)...จำป็นต้องใช้น้ำหนักตัว
ของคนไข้มาพิจาณาคำนวนหาค่าของปริมาณอินซูลิน
ซึ่งจำเป็นต้องใช้ควบคุมระดับน้ำตาลตลอดทั้งวัน (total amount ofinsulin)
โดยการใช้สูตร 0.4 -0-8 units/kg/day ส่วนสตรีอาจใช้ปริมาณน้อยกว่านี้

สำหรับคนเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM)...
มีบ่อยครั้งที่คนไข้ต้องได้อินซูลินมากกว่า 1.0 units/kg/day

ตามหลักการณ์ทั่วๆ ไป.... ประมาณ 50 % ของจำนวณอินซูลินที่
ต้องใช้ตลอดทั้งวัน จะเป็นอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในตอน
กลางคืน และในตอนกลางวันช่วงที่ไม่รับทานอาหาร
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า basal insulin ( ส่วนที่เหลือ 50 % โดยประมาณ
จะเป็นอินซูลินสำหรับจัดการกับระดับน้ำตาลที่ได้จากอาหาร)

จากการรักษาเบาหวานด้วยการใช้ NPH เป็นหลัก...
พบว่า เป็นการยากที่จะแยกระหว่าง basal ออกจาก prandial insulin
ทั้งนี้เพราะ NPH สามารถออกฤทธิ์ได้ทั้งสองอย่าง (basal &prandial)


Credit : www.diabeteskidsandteens.com.au

ยกตัวอย่าง...
ถ้าเราให้อินซูลิน NPH ในตอนเช้า มันออกฤทธ์เป็น basal insulin ใน
ช่วงหลังของตอนเช้า (late morning) ภายหลังจากอาหารตอนเช้าได้
ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว และทำหน้าที่เป็น prandial insulin สำหรับ
อาหารในตอนเที่ยง (lunch meal) และหลังจากนั้นก็จะเป็น basal
Insulin อีกครั้งเมื่ออาหารในช่วงเที่ยงได้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว

ผลเสียของการใช้อินซูลิน NPH ในตอนเช้าด้วยปริมาณสูง คือมันทำให้
เกิดภาวะ hypoglycemia ในช่วงสายๆ ของตอนเช้า ซึ่งอาจก่อให้เกิด
ปัญหาในเรื่องความยืดหยุ่นต่อการให้อินซูลินในตอนอาหารเที่ยงได้
ซึ่งมีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว สามารถกระทำได้ด้วยการให้อินซูลินออกฤทธิ์
เร็ว (rapid-acting Insulin) ซึ่งทำหน้าที่เป็น lunchtime insulin
(bolus)

<< PREV        NEXT >>   Part   6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น