วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เมื่อเราจำเป็นต้องใช้อินซูลิน (administration of Insulin):Part 2: Insulin Algorithm

Nov. 18,2013
Continued...

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เป็น
“คาร์โบฮัยเดรต” กับ “อินซูลิน” ที่ต้องใช้เพื่อจัดการกับอาหาร (CHO)ดังกล่าว
นอกจากนั้น เขายังต้องเข้าใจในบทบาทของอาหารที่เขาต้องรับประทานด้วย 
โดยที่นักโภชนาการมีส่วนสำคัญต่อการช่วยเหลือคนไขเบาหวานได้มากทีเดียว

ในคนไข้ที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1DM)..
การฉีดอินซูลินออกฤทธ็เร็ว (rapid aciting insulin) โดยฉีดก่อนอาหาร
จะต้องเริ่มต้นด้วยการให้ขนาดต่ำ (1 units ต่อ CHO 15- 20 กรัม)
ต่อจากนั้น  จึงค่อยๆ เพิ่มขนาดอินซูลินทุก ๆ 3 วัน...

ในคนที่เป็นเบาหวานประเภทสอง (T2DM) อินซูลินที่ให้เพื่อจัดการกับมื้ออาหาร
(prandial insulin) อาจจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณให้สูงขึ้น เพราะสภาพของคนไข้มัก
อยู่ในสภาพต่อต้านทานต่ออินซูลิน(insulin resistance)   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี
การตรวจเช็คระดบน้ำตาลในกระแสเลือดด้วยตนเองบ่อย ๆ

ในระหว่างการรักษา...
ถ้าพบว่า ก่อนอาหาร (pre-meal) วัดระดับน้ำตาลได้ต่ำ(hypoglycemia)
ก็ไม่ต้องสนใจกับผลดังกล่าว ให้ฉีดอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (Aspart หรือ Lispro)
ได้ตามปกติ หลังจากฉีดยาแล้ว ให้รับประทานอาหารทันที เพื่อ
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยมักจะเข้าใจผิดในกรณีที่ ตรวจพบว่า ระดับของน้ำตาลใน
กระแสเลือดช่วงก่อนอาหารมีระดับต่ำ  เป็นเหตุให้งดเว้นการให้อินซูลินใน
ช่วงรับทานอาหาร   ผลที่ตามมาจะทำให้ระดับน้ำตาลหลังรับทานอาหาร
เพิ่มสูงขึ้น (ทั้งๆ ที่ก่อนรับทานอาหารตรวจระดับน้ำตาลลดต่ำก็ตาม)  ซึ่งอาจเพีม
เป็น 300 mg/dL   หรือบางทีอาจเพิ่มมากถึง 400 mg/dL
โดยตรวจพบได้ทั้งในขณะ และหลังรับทานอาหาร

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น  แม้ว่าผลการตรวจระดับ
น้ำตาลก่อนรับทานอาหาร (premeal) จะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็ตาม....
ให้ฉีดอินซูลินออกฤทธิ์เร็วตามปกติ  แล้วตามด้วยการรับทานอาหารทันที

<< Prev    Next >> Part 3 : Once-Daily Insulin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น