Nov. 15, 2013
1. การคำนวณหาค่าปริมาณอินซูลิน เพื่อจัดการกับคาร์โบฮัยเดรต
ในอาหารแต่ละมื้อ (Carbohydrate coverage at a meal)
ในการคำนวณหาค่่าที่เป็นปริมาณของอินซูลิน เพื่อใช้ในการ
จัดการกับอาหารที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต มีสูตรให้นำมามช้ดังต่อไปนี้:
อินซูลินออกฤทธฺ์เร็ว (rapid-acting insulin) 1 unit สามารจัดการกับอาหาร
ที่เป็นคาร์โบฮัยเดรตได้ 10 กรัม โดยประมาณ (ค่าตำ่สุด)
เพื่อให้เกิดความเข้าใจ :
สมมุติท่านกำลังจะรับประทานอาหารเที่ยง ซึ่งเป็นคาร์โบฮัยเดรต
จำนวน 60 กรัม
จากข้อมูลที่ได้ เราจะใช้อินซูลินออกฤทธิ์เร้ว เพื่อจัดการกับอาหาร
ที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต จำนวน 60 กรัม = 60/10 = 6 units
2. การคำนวฯหาประมาณอินซูลินออกฤทธิ์เร้วเพื่อจัดการกับระดับ
น้ำตาลที่สูงขึ้น (High blood sugar correction dose)
นอกจากท่านจะต้องจัดการกับคาร์โบฮัยเดรตแล้ว ท่าน จำเป็นต้องจัด
การกับน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดที่สูงขึ้น เพื่อให้ลดลงสู่ระดับเป้าหมาย
ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้:
ปริมาณของอินซูลินที่ใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลที่สูงขึ้น (high
Blood surgar correction dose) จะมีค่า = ความแตกต่างระหว่าง
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง กับค่าของระดับน้ำตาลที่เป้าหมาย (ปกติ)
หารด้วย correction factor
จาก Part 1: อินซูลิน 1 unit สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ 50 mg/dL
และ high blood sugar correction factor จะมีค่า 50
สมมุติ:
เป้าหมายของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดก่อนรับทานอาหาร (premeal)
= 120 mg/dL
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเที่ยง = 220 mg/dL
จากข้อมูลที่ได้ เราสามารถสูตรที่เสนอไว้คำนวณได้:
220 – 120 = 100 ÷ correction factor (50 = 2 units
ค่าที่ได้ (2) หมายถึงปริมาณของอินซูลินออกฤทธิ์เร็วจำนวน 2 units ที่ต้อง
ใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจาก 220 mg/dL ลงสู่ 120 mg/dL
เมื่อนำผลที่ได้จาก No 1 และ No 2 มารวมกัน จะเป็นค่าของ
ปริมาณอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งใช้จัดการกับอาหารที่เป็นคาร์โบฮัยเดรต
ในอาหารมื้อกลางวัน (Lunch) และอินซูลินออกฤทธิ์เร็วเพื่อจัดการกับ
ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นก่อนรับทานอาหารเที่ยง คือ 6 + 2 = 8
นั้นคือค่าของปริมาณอินซูลินที่ต้องใข้ในมื้อกลางวัน (lunch)
<< PREV NEXT >> Part 3 :Total Daily Insulin Requirement
(in units of insulin)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น