วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคปอดอุดกั้นเรื่องรัง (COPD) P 5 . Diagnosis & Tests

Oct. 4, 2013

ในการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายของท่าน 
ถ้าท่านมีประวิติว่าสูบบุหรี่ และหายใจมีเสียงหายใจหวีดหวือ 
หรือท่านเพียงแต่มีอาการไอมีเสมหะ...แพทย์อาจต้องทำการ
ตรวจต่อไปว่า ท่านเป็นโรคปอดอุดกั้น (COPD) หรือไม่ ?
โดยการตรวจต่อไปนี้:

Spirometry

การตรวจดูว่าปอดทำงานดีหรือไม่ วิธีดีที่สุดคือการตรวจด้วยวิธี spirometry
เป็นการตรวจวัดดูปริมาณของอากาศที่อยู่ในปอดของท่าน 
และตรวจดูว่าปอดสามารถขับเอาอากาศออกจากปอดผ่านเครืองในอัตราส่วนเท่าใด

การตรวจด้วยวิธี spirometry จะช่วยให้ท่านได้ทราบว่า...
ท่านเป็นโรคปอดอุดกั้นหรือไม่ ? และบอกให้ทราบว่า
มันดำเนินไปมากน้อยแค่ใหน ซึ่งเป็นการตรวจอย่างง่าย ๆ
โดยพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทีผ่านการฝึกมาทางด้านนี้ จะให้
ท่านเป่าลม (หายใจออก) ผ่านท่อเข้าสูเครื่องตรวจ  ด้วยการเปาลมออก
ให้เร็วที่สุดเท่าที่ท่านสามารถกระทำได้

ผลที่ได้จากการตรวจ จะปรากฏในรูปของ FEV...
ซึ่งหมายถึง “ปริมาณของอากาศที่ท่านได้หายใจออกย่างแรง
ภายในสองวินาทีแรก”

ในคนที่มีปอดสมบูรณ์เป็นปกติ...
อากาศที่ถูกเป่าออกมาอย่างแรงในสองวินาทีแรกนั้น
จะมีค่าประมาณ 70%   แต่ถ้าเป็นโรค COPD ท่านหายใจออก
ได้น้อยกว่า 70 % ของปริมาณอากาศ ซึ่งมีอยู่ภายในปอดของ

การตรวจ spirometry ยังสามารถทำการตรวจวัดปริมาณของอากาศ
ซึ่งท่านสามารถเป่าออกอย่างแรง และรวดเร็วภายหลังจากท่านหายใจ
เอาอากาศเข้าเต็มปอด เราเรียกว่า fored vital capacity หรือ FVC
ในคนที่เป็นโรค COPD จะได้ค่าของ FVC ต่ำเมื่อเปรียบกับคนปกติ
ซึ่งมีอายุ, เพศ, และขนาดเท่าเท่ากัน

นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ยังจะทำการตรวจต่อไปอีก
 ด้วยการให้ท่านสูดหายเอายาขยายหลอดลม (bronchodilator) เข้าปอด
หลังจากนั้น เขาจะทำการตรวจตามที่กล่าวมาซ้ำอีกครั้ง

ผลที่ได้จากการตรวจ (spirometry scores) ถ้าพบว่าภายหลังสูดยาเข้าปอดแล้ว
 อาการดีขึ้น ท่านเป็น อาจเป็นโรค Asthma  โดยเฉพาะในคนสูงอายุ 
ทั้งโรค Asthma และ COPD จะมีอาการที่คล้ายๆ กัน
ซึ่งยากต่อการที่บอกว่า คนสูงอายุนั้นเป็นโรคชนิดใหน ?

นอกจากการใช้ stethoscope ฟังเสียลมหายใจเข้าออกปอดวามีเสียงหวีดหวือหรือไม่
ยังมีการตรวจอย่างอื่น เป็นต้นว่า :

 เอกซเรย์ปอด
 CT scan
 ตรวจเลือดวันระดับออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์
 ตรวจการทำงานของปอดว่า มีการหายใจลำบากหรือไม่ในขณะ
ให้ออกกำลังกาย
 ตรวจเพาะเชื้อจากเสมหะ...
 ในบางสถารณการณ์อาจตรวจเลือดหาพันธุกรรมสัมพันธืกับการ
เกิดโรค  COPD



<< PREV            NEXT >>โรคปอดอุดกั้นเรื่องรัง (COPD) P 6 : Care &
Treatment

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น