วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานที่เรารู้จัก (Diabetes) Part 8: Taking an Active Role in Your Treatment

Nov. 14, 2013

เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน...
พยาบางที่ทำหน้าทีดูแลคนไข้เบาหวาน จะสอนท่านให้รู้ว่าจะรักษา และ
จัดการกับโรคเบาหวานของตนเองอย่างไร พร้อมกับทำงานร่วมกับท่าน
เพื่อวางโปรแกรมการรักษาตนเอง

ท่านสามารถตั้งคำถามกับแพทย์ หรือพยายาบาลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
จนกระทั้งท่านแน่ใจว่า ท่านทราบทุกเรื่องเกี่ยวกับการจัดการโรคเบาหวาน
ของท่าน ...

High and Low Blood Glucose

ในการดูแลตนเอง...
ทั้งๆ ที่ท่านได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่อาจมีปัญหาเกิดขึ้นกับท่านได้ 
ซึ่งท่านอาจเผชิญกับปัญหาบางอย่าง   และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงต่ออัน
ตรายที่จะเกิดขึ้น ท่านจะต้องเฝ้าระวังสิ่งต่อไปนี้:

Very High Blood Glucose.

ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงมาก  เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้ในคนสูงอายุ
โดยมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นใหเกิดภาวะเช่นนั้น
เป็นต้นว่า การอักเสบติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน, ได้รับยาบางอย่าง
ซึ่งท่านจะต้องสังเกตุอาการต่อไปนี้:

o เกิดอาการอ่อนแรง
o ไม่มี่พลัง
o หงุดหงิด, กระสับกระส่าย
o เกิดอาการสับสน

 Low Blood Glucose.

ปรากฏการณืฃ์น้ำตาลในเลือดลดต่ำมักจะเกิดขึ้นเมื่อคนทีเป็นโรคเบา
หวานใช้ยารักษามากเกินขนาด หรือไม่ก็เป็นเพราะไม่รับทานอาหาร
ตามเวลา( skip) นอกจากนั้น ยังปรากฏพบว่า การไม่สบาย
หรือเกิดมีการอักเสบติดเชื้อ ก็สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้เช่นกัน

เพื่อความปลอดภัยต่ภาวะน้ำตาลลดต่ำ ให้สังเกตุอาการต่อไปนี้:

 กระวนกระวายใจ (nervous)

 สั่นเทา (shaky)
 มีเหงือออกมาก (sweaty)

เนื่องจากอาการดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดความสับสนได้...
ดังนั้นเมื่อท่านมีอาการผิดปกติ (unusual symptoms) เกิดขึ้น ให้ตรวจ
ดูระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดทันที หากผิดปกติให้รายงานแพทย์อย่าง
รวดเร็ว....

ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ท่านสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลได้
อย่างรวดเร็วด้วยการรับทาน ทอฟฟี่ หรือชอคโคแลท, น้ำผึ้งสักหนึ่งช้อน,
หรือดื่มน้ำผลไม้สักหนึ่งแก้วทันที่...

ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงแนะนำให้คนเป็นโรคเบาหวานทุกรายพกพาของหวาน (ทอฟฟี่)
เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินน้ำตาลลดต่ำจะได้เอาออกมาเคี้ยวกิน หรืออมทันที

ถ้าปรากฏว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของท่านลดต่ำ (รุนแรง) บ่อยครั้ง
แพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องทำการเช็คแผนการรักษาโรคเบาหวานใหม่
และอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาถ้าจำเป็น และท่านอาจจำเป็นต้องไป
พบแพทย์บ่อยขึ้น หรืออาจต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง


<< PREV           NEXT >> Diabetes Part. 9: Understanding  Your Medications

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น